แท็ก
ลาว
สปป.ลาว เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการลงทุนปลูกปาล์มน้ำ มัน เนื่องจากมีที่ดินเปล่าที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ถึง 31.3 ล้านไร่ หรือราวร้อยละ 21 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ในจำ นวนนี้เป็นพื้นที่ซึ่งเหมาะกับการปลูกปาล์มน้ำมันกว่า 1.5 ล้านไร่ อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ใน 5 แขวงสำคัญ ได้แก่สะหวันนะเขต จำ ปาสัก สาละวัน เซกอง และอัตตะปือ เนื่องจากสภาพดินบริเวณดังกล่าวเป็นดินภูเขาไฟ มีอินทรีย์สารสูง ขณะที่หน้าดินยังถูกใช้ทำการเกษตรไม่มากนัก นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,715 มิลลิเมตร ทำให้เอื้อต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน ประกอบกับพืชสำ คัญที่ชาวลาวนิยมเพาะปลูก อาทิ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง และผักพื้นบ้าน ยังให้ผลผลิตไม่แน่นอน ยิ่งจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมันทดแทน
สถานการณ์ปัจจุบันของการลงทุนเพาะปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาวสปป.ลาว ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก อาทิ มาเลเซีย เยอรมนี ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ด้วยรูปแบบการร่วมลงทุน (Joint Venture) เป็นส่วนใหญ่ในสัดส่วนการถือหุ้นของนักธุรกิจต่างชาติขั้นต่ำร้อยละ 30 ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด ที่เหลืออีกร้อยละ 70 เป็นของนักธุรกิจชาวลาว ล่าสุดบริษัท IL Won Construction Co., Ltd. ของเกาหลีใต้ร่วมทุนกับนักธุรกิจชาวลาว จัดตั้งบริษัทร่วมทุน Industry Tree Plantation Export-Import Co., Ltd. เพื่อลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ทางภาคใต้ของ สปป.ลาว รวมถึงนักลงทุนไทย คือ บริษัท สี่ภาควนสยามทัวร์ จำกัด ร่วมทุนกับชาวลาวจัดตั้ง บริษัท สามเหลี่ยมทองคำปาล์มออยล์ จำกัด โดยตั้งเป้าขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 1 ล้านไร่ ภายในเวลา 5 ปี (ปี 2549-2553)
ปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญที่ทำให้การลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาว น่าสนใจ มีดังนี้
- นโยบายรัฐบาลเอื้อต่อการลงทุน สปป.ลาว มีหน่วยงานที่ดูแลด้านการส่งเสริมการลงทุน คือ Department of Domestic and Foreign Investment (DDFI) ทำหน้าที่พิจารณาโครงการที่นักลงทุนต่างชาติเสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล สปป.ลาว จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยการยกเว้นและลดหย่อนภาษีที่เรียกเก็บจากกำไรในช่วงเริ่มต้นของโครงการ นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติยังมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี หรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 2-4 ปี ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก ยกเว้นภาษีส่งออก ตลอดจนอนุญาตให้โอนผลกำไรที่ได้จากการลงทุนกลับประเทศ
- ค่าเช่าที่ดินยังอยู่ในระดับต่ำ แม้รัฐธรรมนูญของ สปป.ลาว กำหนดให้ที่ดินทั้งหมดใน สปป.ลาวเป็นกรรมสิทธิ์ของคนเชื้อชาติลาวเท่านั้น แต่นักลงทุนต่างชาติสามารถขอเช่าที่ดินเพื่อทำธุรกิจได้นานถึง 75 ปี โดยเสียค่าเช่าเพียงปีละ 2-9 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกเตอร์ (1 เฮกเตอร์ เท่ากับ 6.25 ไร่) และสามารถต่ออายุสัญญาได้เมื่อสัญญาเช่าเดิมครบกำหนด จึงเอื้อต่อการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากปาล์มน้ำมันจะเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 3 และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จนถึงปีที่ 25
- แรงงานในภาคเกษตรกรรมยังมีค่อนข้างมาก และมีอัตราค่าจ้างต่ำ สปป.ลาว มีประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานประมาณ 2.5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมถึง 2 ล้านคน ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยเพียงวันละ 34 บาท หรือราว 12,000 บาทต่อปี (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 282 กีบต่อ 1 บาท)อย่างไรก็ตาม การลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาว ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อาทิ เกษตรกรขาดความรู้ในการจัดการสวนปาล์มอย่างถูกวิธี นักลงทุนจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านต้นพันธุ์ปาล์ม และผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านการจัดการสวนปาล์มเป็นอย่างดี ประกอบกับโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึงเส้นทางคมนาคมที่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล อาจส่งผลให้การขนส่งระหว่างเมืองไม่สะดวกนักนักลงทุนจึงควรศึกษาและหาทางออกให้กับปัญหาเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงเมื่อเข้าไปลงทุน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2549--
-พห-
สถานการณ์ปัจจุบันของการลงทุนเพาะปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาวสปป.ลาว ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก อาทิ มาเลเซีย เยอรมนี ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ด้วยรูปแบบการร่วมลงทุน (Joint Venture) เป็นส่วนใหญ่ในสัดส่วนการถือหุ้นของนักธุรกิจต่างชาติขั้นต่ำร้อยละ 30 ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด ที่เหลืออีกร้อยละ 70 เป็นของนักธุรกิจชาวลาว ล่าสุดบริษัท IL Won Construction Co., Ltd. ของเกาหลีใต้ร่วมทุนกับนักธุรกิจชาวลาว จัดตั้งบริษัทร่วมทุน Industry Tree Plantation Export-Import Co., Ltd. เพื่อลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ทางภาคใต้ของ สปป.ลาว รวมถึงนักลงทุนไทย คือ บริษัท สี่ภาควนสยามทัวร์ จำกัด ร่วมทุนกับชาวลาวจัดตั้ง บริษัท สามเหลี่ยมทองคำปาล์มออยล์ จำกัด โดยตั้งเป้าขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 1 ล้านไร่ ภายในเวลา 5 ปี (ปี 2549-2553)
ปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญที่ทำให้การลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาว น่าสนใจ มีดังนี้
- นโยบายรัฐบาลเอื้อต่อการลงทุน สปป.ลาว มีหน่วยงานที่ดูแลด้านการส่งเสริมการลงทุน คือ Department of Domestic and Foreign Investment (DDFI) ทำหน้าที่พิจารณาโครงการที่นักลงทุนต่างชาติเสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล สปป.ลาว จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยการยกเว้นและลดหย่อนภาษีที่เรียกเก็บจากกำไรในช่วงเริ่มต้นของโครงการ นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติยังมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี หรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 2-4 ปี ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก ยกเว้นภาษีส่งออก ตลอดจนอนุญาตให้โอนผลกำไรที่ได้จากการลงทุนกลับประเทศ
- ค่าเช่าที่ดินยังอยู่ในระดับต่ำ แม้รัฐธรรมนูญของ สปป.ลาว กำหนดให้ที่ดินทั้งหมดใน สปป.ลาวเป็นกรรมสิทธิ์ของคนเชื้อชาติลาวเท่านั้น แต่นักลงทุนต่างชาติสามารถขอเช่าที่ดินเพื่อทำธุรกิจได้นานถึง 75 ปี โดยเสียค่าเช่าเพียงปีละ 2-9 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกเตอร์ (1 เฮกเตอร์ เท่ากับ 6.25 ไร่) และสามารถต่ออายุสัญญาได้เมื่อสัญญาเช่าเดิมครบกำหนด จึงเอื้อต่อการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากปาล์มน้ำมันจะเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 3 และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จนถึงปีที่ 25
- แรงงานในภาคเกษตรกรรมยังมีค่อนข้างมาก และมีอัตราค่าจ้างต่ำ สปป.ลาว มีประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานประมาณ 2.5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมถึง 2 ล้านคน ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยเพียงวันละ 34 บาท หรือราว 12,000 บาทต่อปี (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 282 กีบต่อ 1 บาท)อย่างไรก็ตาม การลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาว ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อาทิ เกษตรกรขาดความรู้ในการจัดการสวนปาล์มอย่างถูกวิธี นักลงทุนจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านต้นพันธุ์ปาล์ม และผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านการจัดการสวนปาล์มเป็นอย่างดี ประกอบกับโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึงเส้นทางคมนาคมที่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล อาจส่งผลให้การขนส่งระหว่างเมืองไม่สะดวกนักนักลงทุนจึงควรศึกษาและหาทางออกให้กับปัญหาเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงเมื่อเข้าไปลงทุน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2549--
-พห-