ข้อมูลที่น่าสนใจ (ปี 2553)
จำนวนประชากรชาวมาเลเซีย : 28.3 ล้านคน ประกอบด้วย
ชาวมาเลเซียดั้งเดิมราว 60% (นับถือศาสนาอิสลาม)
ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน 20% (นับถือศาสนาคริสต์หรือพุทธ)
ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย 7.1% (นับถือศาสนาฮินดู)
จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง : 17.6 ล้านคน
รายได้เฉลี่ยต่อหัว : 8,420 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอาหาร : 435 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี
มูลค่านำเข้าสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม : 8,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2552
ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในมาเลเซีย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ หน่วย : ล้านริงกิต ค่าใช้จ่าย มูลค่าใช้จ่าย สัดส่วน (ร้อยละ) 2553* 2558* 2553* 2558* ขนส่ง 66,059.10 83,679.40 21.8 23.2 ที่อยู่อาศัย 62,696.70 71,655.50 20.7 19.9 อาหารและเครื่องดื่ม 42,003.50 48,064.90 13.9 13.3 อื่นๆ 131,979.90 157,381.70 43.6 43.6 รวม 302,739.20 360,781.50 100 100
*หมายเหตุ : ตัวเลขคาดการณ์ ที่มา : National Statistical Offices, OECD, Eurostat, Euromonitor International รวบรวมโดยสถาบันอาหาร ทำไมตลาดอาหารในมาเลเซียจึงน่าสนใจ -เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวสูงต่อเนื่อง ด้วยอัตราราว 20% ต่อปีในช่วงปี 2550-2553 ยกเว้นในปี 2552 ที่วิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้เศรษฐกิจมาเลเซียชะลอการขยายตัวลงเหลือ 13.2% -ชาวมาเลเซียมีรายได้ค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ Economist Intelligence Unit ประเมินว่าในปี 2553 ชาวมาเลเซียมีรายได้ (GDP per head) สูงถึง 8,420 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี (รายได้ต่อหัวของไทยอยู่ที่ 4,720 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี) และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 14,560 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปีในปี 2558 -ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และพร้อมทดลองสินค้าค้าใหม่ๆ รวมถึงอาหารนำเข้าซึ่งมีราคาสูงกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ -ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของชาวมาเลเซียเป็นค่าใช้จ่ายสำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่มนับเป็นค่าใช้จ่ายสำคัญอันดับ 3 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของชาวมาเลเซีย ด้วยสัดส่วน 13.9% ของค่าใช้จ่ายรวมในปี 2553 รองจากค่าใช้จ่ายเพื่อการขนส่งและค่าใช้จ่ายที่พักอาศัย นอกจากนี้ คาดว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่มยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 42,003.5 ล้านริงกิตในปี 2553 เป็น 48,064.9 ล้านริงกิตในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้น 14.4% -มาเลเซียพึ่งพาสินค้านำเข้าหลายชนิด รวมถึงสินค้าอาหาร เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูงไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกพืชเกษตร ทั้งนี้ มาเลเซียนับเป็นประเทศนำเข้าสินค้าอาหารสุทธิ ด้วยมูลค่านำเข้าสินค้าอาหาร 8,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2552 เพิ่มขึ้นจาก 5,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ข้อมูลตลาดอาหารของชาวมาเลเซียที่น่าสนใจ - ชาวมาเลเซียนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยพื้นฐานแล้วชาวมาเลเซียไม่ชอบทำอาหารรับประทานเองเนื่องจากยุ่งยาก นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านร่วมกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และหากเป็นหนุ่มสาววัยทำงานและพักอาศัยในเขตเมืองมักจะรับประทานอาหารนอกบ้านบ่อยครั้งขึ้น ร้านอาหารที่ชาวมาเลเซียนิยม คือ ร้านแผงลอย รถเข็น ซึ่งตั้งอยู่ตามตรอกซอกซอย และริมถนน ส่วนร้านอาหารระดับหรู (Fine Dining Restaurant) และร้านอาหารนานาชาตินั้น มักตั้งอยู่ใน Klang Valley (เขตปริมณฑลซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญในมาเลเซีย) และเมืองอื่นๆ ที่มีประชากรที่มีกำลังซื้อสูงอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก - ชาวมาเลเซียรับประทานอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างมื้อเล็กๆ ตลอดทั้งวัน โดยมื้อเช้าจะเน้นอาหารเบาๆ อาทิ โจ๊ก ข้าวต้ม และโรตี ส่วนอาหารกลางวันและอาหารเย็นนิยมรับประทานข้าวเป็นหลักพร้อมกับข้าว 2-3 อย่างที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์และผัก ปรุงรสชาติตามความชอบของแต่ละครอบครัวซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างกันตามเชื้อชาติและศาสนา อาทิ ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนชอบรสจืดและทำอาหารจากการผัดเป็นหลัก ขณะที่ชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียชอบปรุงอาหารรสจัดจ้านด้วยเครื่องเทศ - ชาวมาเลเซียเปิดรับอาหารแปลกใหม่ได้ดี ทั้งแบบตะวันตก ตะวันออก และอาหารที่รวมสองแบบไว้ด้วยกัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากมาเลเซียประกอบด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งมาเลเซีย อินเดีย และจีน ทำให้มีการสร้างสรรค์เมนูอาหารใหม่ๆ ตลอดเวลา อาหารที่จำหน่ายในมาเลเซียจึงมีมากมายหลายรสชาติ ปัจจุบันอาหารจากชาติอื่นๆ อาทิ อาหารไทย อาหารเวียดนาม อาหารยุโรป อาหารตุรกี และอาหารญี่ปุ่น เป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคชาวมาเลเซีย - เนื้อไก่เป็นที่นิยมมากในมาเลเซีย และนับเป็นประเทศที่มีอัตราการบริโภคเนื้อไก่ต่อคนต่อปีมากที่สุดในโลก เนื่องจากมาเลเซียประกอบด้วยผู้คนหลากหลายศาสนาซึ่งมีข้อกำหนดในการรับประทานเนื้อสัตว์แตกต่างกัน ทั้งนี้ ชาวมาเลเซียมุสลิมไม่รับประทานเนื้อหมู ขณะที่ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน และชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู ไม่รับประทานเนื้อวัว ขณะที่เนื้อไก่สามารถรับประทานได้ทุกศาสนา - ชาวมาเลเซียส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้อสินค้าอาหารจากตลาดสด หรือร้านค้าปลีกรายย่อย เนื่องจากสินค้าสดใหม่ ราคาถูกกว่าที่วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต และมักตั้งอยู่ใกล้ย่านที่พักอาศัย และที่ทำงาน ขณะที่ผู้บริโภคในเมืองใหญ่ อาทิ Kuala Lumpur มีแนวโน้มหันไปเลือกซื้อสินค้าอาหารจากร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อาทิ Carrefour Tesco Cold Storage และ MaxValu และร้านค้าสะดวกซื้อ อาทิ 7-Eleven แทนตลาดสดและร้านค้าปลีกรายย่อย เนื่องจากมีสินค้าหลากหลายรวมอยู่ในที่เดียวกัน จึงสามารถซื้อสินค้าหลายอย่างได้ในครั้งเดียว รวมถึงสามารถแวะรับประทานอาหารจากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในบริเวณร้านค้าปลีกสมัยใหม่ได้ คาดการณ์ปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ของประเทศในแถบเอเชียปี 2554 ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ประเทศ ปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ (กิโลกรัมต่อคนต่อปี) มาเลเซีย 37.2 ไทย 12.8 ฟิลิปปินส์ 8.4 เวียดนาม 7.5 อินโดนีเซีย 3.8 ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ สินค้าอาหารที่มีศักยภาพดีในตลาดมาเลเซีย สินค้าอาหารที่มีศักยภาพดีในตลาดมาเลเซีย ได้แก่ อาหารพร้อมรับประทาน (Ready to eat) เนื่องจากปัจจุบันวิถีชีวิตของชาวมาเลเซียเร่งรีบขึ้น และมีเวลาในการเตรียมอาหารเองน้อยลง จึงต้องการสินค้าอาหารที่สะดวกสบายในการรับประทาน อาทิ บรรจุอยู่ในภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้ หรือบรรจุภัณฑ์ที่เปิดมารับประทานได้ทันที ส่งผลให้อาหารพร้อมรับประทานเป็นที่ต้องการมากขึ้น ปัจจุบันอาหารพร้อมรับประทานซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดในมาเลเซีย คือ อาหารพร้อมรับประทานบรรจุกระป๋อง (Canned/Preserved Ready Meals) ขณะที่อาหารพร้อมรับประทานแบบแช่เย็น (Chilled Ready Meals) นั้น ที่ผ่านมายังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ส่วนหนึ่งเนื่องจากร้านค้าปลีก อาทิ ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อในมาเลเซียส่วนใหญ่ยังไม่มีบริการอุ่นอาหารสำเร็จรูปแช่เย็นให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่สามารถซื้อมารับประทานได้ทันที สำหรับช่องทางจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทานที่สำคัญ คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 81.3% ของยอดจำหน่ายสินค้าอาหารพร้อมรับประทานทั้งหมดในมาเลเซียปี 2553 รองลงมา คือ ร้านค้าปลีกขนาดเล็กและร้านสะดวกซื้อ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 17.7% สินค้าอาหารไทยมีโอกาสอีกมากในตลาดมาเลเซีย เนื่องจากรายได้ของชาวมาเลเซียมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่สภาพภูมิประเทศของมาเลเซียไม่เอื้ออำนวยต่อการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชเกษตร เมื่อประกอบกับลักษณะเด่นของสินค้าอาหารไทยที่คล้ายกับอาหารพื้นเมืองของมาเลเซีย อีกทั้งสินค้าอาหารไทยได้ประโยชน์จากภาษีนำเข้าที่มาเลเซียเรียกเก็บจากไทยภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนส่วนใหญ่อยู่ในอัตรา 0% เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้ไทยมีโอกาสอีกมากในการขยายตลาดสินค้าอาหารไทยในมาเลเซีย ทั้งนี้ เพื่อขยายโอกาสส่งออกสินค้าอาหารในมาเลเซีย ผู้ส่งออกควรพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับแนวโน้มวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของชาวมาเลเซีย อาทิ อาหารพร้อมปรุง และอาหารพร้อมรับประทาน และที่สำคัญที่สุด คือ ควรให้ความสำคัญกับเครื่องหมายฮาลาล เนื่องจากชาวมาเลเซียกว่า 60% นับถือศาสนาอิสลามซึ่งอนุญาตให้บริโภคได้เฉพาะอาหารที่เป็นฮาลาลเท่านั้น และพบว่ากลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไปให้ความสำคัญมากกับเครื่องหมายฮาลาลบนผลิตภัณฑ์ สำหรับสินค้าอาหารฮาลาลของไทยที่มีศักยภาพในการส่งออก ได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกแช่แข็งและแปรรูป รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปอื่นๆ และเครื่องปรุงรส ทั้งนี้ มาตรฐานฮาลาลของมาเลเซียได้รับการยอมรับว่าเคร่งครัดกว่ามาตรฐานฮาลาลของประเทศมุสลิมอื่นๆ จึงพบว่าบ่อยครั้งมาเลเซียยังไม่ยอมรับเครื่องหมายฮาลาลของหลายประเทศรวมทั้งเครื่องหมายฮาลาลของไทย ผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยจึงควรขอการรับรองเครื่องหมายฮาลาลจากหน่วยงานของมาเลเซียประกอบกันไปด้วย --ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2554-- -พห-