นับตั้งแต่ สปป.ลาว มีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศตั้งแต่ปี 2529 และประกาศใช้กฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศฉบับแรกในปี 2531 มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนทำธุรกิจใน สปป.ลาว เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเวียดนามและจีนขยายการลงทุนใน สปป.ลาว อย่างรวดเร็วจนครองอันดับ 1 และ 2 ของนักลงทุนรายใหญ่ใน สปป.ลาว ตามลำดับ จากเดิมที่ไทยเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่อันดับ 1 มาโดยตลอด โดยธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนมากที่สุด คือ พลังงานไฟฟ้า รองลงมา คือ เหมืองแร่ บริการ (อาทิ ท่องเที่ยว) เกษตรและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมและหัตถกรรม ตามลำดับ เนื่องจาก สปป.ลาว มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ อาทิ แหล่งน้ำสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า สินแร่ต่างๆ และพื้นดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ประกอบกับมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงามและประวัติศาสตร์อันยาวนาน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการลงทุนใน สปป.ลาว ยังมีอุปสรรคอยู่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะปัญหาด้านกฎระเบียบประเภทต่างๆ ซึ่งยังไม่มีความเป็นสากล รวมทั้งขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติโครงการลงทุนซึ่งใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น รัฐบาล สปป.ลาว จึงประกาศใช้กฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2552 แทนกฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับเดิมปี 2547 เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ประกอบการต่างชาติและผู้ประกอบการชาวลาว อีกทั้งยังเพิ่มรูปแบบการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อให้การลงทุนเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมากฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ยังมีผลในทางปฏิบัติไม่มากนัก ทางการ สปป.ลาว จึงออกประกาศให้มีการบังคับใช้กฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับดังกล่าวอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 เป็นต้นไป รวมทั้งมีการปรับปรุงกฎหมายภาษีฉบับปี 2548 ไปพร้อมกันด้วย ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่และกฎหมายภาษีมีดังนี้
สิทธิประโยชน์ด้านภาษีในกฎหมายส่งเสริมการลงทุนปี 2552
สิทธิประโยชน์ด้านภาษีที่ระบุในกฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับปี 2552 แบ่งตามระดับความสำคัญของกิจการและเขตพื้นที่การลงทุน ดังนี้
ระดับความสำคัญของกิจการ เขตที่ 1 เขตที่ 2 เขตที่ 3 ระดับ 1 ยกเว้นภาษีกำไร 10 ปี ยกเว้นภาษีกำไร 6 ปี ยกเว้นภาษีกำไร 4 ปี ระดับ 2 ยกเว้นภาษีกำไร 6 ปี ยกเว้นภาษีกำไร 4 ปี ยกเว้นภาษีกำไร 2 ปี ระดับ 3 ยกเว้นภาษีกำไร 4 ปี ยกเว้นภาษีกำไร 2 ปี ยกเว้นภาษีกำไร 1 ปี
หมายเหตุ : ระดับความสำคัญของกิจการ แบ่งเป็น
ระดับที่ 1 กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสูงสุด อาทิ โรงแรม 4 ดาว และสถาบันการศึกษา ระดับที่ 2 กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนปานกลาง อาทิ ธุรกิจผลิตรถจักรยานยนต์ ระดับที่ 3 กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต่ำ อาทิ ธุรกิจผลิตเครื่องดื่ม และธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
เขตพื้นที่การลงทุน แบ่งเป็น
เขตที่ 1 พื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร และขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐาน เขตที่ 2 พื้นที่ที่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานจำกัด เขตที่ 3 เขตเมืองใหญ่ และมีสาธารณูปโภคพื้นฐานพร้อม ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ DFDL MEKONG
เปรียบเทียบสาระสำคัญของกฎหมายส่งเสริมการลงทุนปี 2547 และปี 2552 หัวข้อรายละเอียดของกฎหมาย กฎหมายส่งเสริมการลงทุนปี 2547 กฎหมายส่งเสริมการลงทุนปี 2552 รายละเอียดของกฎหมาย มีการแบ่งแยกกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ไม่มีการแบ่งแยกกฎหมายส่งเสริม สำหรับนักลงทุนท้องถิ่นและนักลงทุนต่างชาติ การลงทุนสำหรับนักลงทุนท้องถิ่นและ ออกจากกันอย่างชัดเจน นักลงทุนต่างชาติ การร่วมลงทุน ในกรณีการร่วมลงทุนระหว่างนักลงทุนท้องถิ่น นักลงทุนต่างชาติต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนทั้งหมด และนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนต่างชาติต้องถือหุ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของทุนทั้งหมด ทุนจดทะเบียน ทุนจดทะเบียนของบริษัทต่างชาติต้อง - ทุนจดทะเบียนของบริษัทที่ลงทุนในกิจการสัมปทาน*ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของทุนทั้งหมด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของทุนทั้งหมด - ทุนจดทะเบียนของบริษัทที่ลงทุนในกิจการทั่วไปต้องไม่น้อยกว่า 1 พันล้านกีบ** ใบอนุญาตลงทุน แบ่งตามประเภทของนักลงทุน ดังนี้ แบ่งตามประเภทของธุรกิจ ดังนี้ - ใบอนุญาตลงทุนสำหรับนักลงทุนท้องถิ่น - ผู้ประกอบธุรกิจสัมปทานต้องได้รับใบอนุญาตประเภท Concession Registration Certificate (CRC) - ใบอนุญาตลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ออกโดยกระทรวงแผนการและการลงทุน (Ministry of Planning and Investment : MPI) (Foreign Investment License : FIL) ทั้งนี้ - ผู้ประกอบธุรกิจทั่วไปต้องได้รับใบอนุญาตประเภท Enterprise Registration Certificate (ERC) นักลงทุนทั้ง 2 ประเภทต้องได้รับใบอนุญาตอื่นๆ ออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Ministry of Industry and Commerce : MoIC) เหมือนกัน ดังนี้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประเภท ERC หรือ CRC สามารถประกอบธุรกิจได้ทันที - Enterprise Registration Certificate (ERC) - Tax Registration Certificate (TRC) - Operating License ระยะเวลาการลงทุน ระยะเวลาการลงทุน 50 ปี และสามารถ - ธุรกิจสัมปทานมีระยะเวลาการลงทุน 99 ปี และสามารถขอขยายระยะเวลาได้ ขอขยายระยะเวลาเพิ่มได้อีก 25 ปี - ธุรกิจทั่วไปมีระยะเวลาการลงทุนสูงสุดขึ้นอยู่กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หมายเหตุ : *ธุรกิจสัมปทานครอบคลุมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน สินแร่ ไฟฟ้า สายการบิน โทรคมนาคม ประกันภัย และสถาบันการเงิน **อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2554 อยู่ที่ระดับ 8,036 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ ที่มา : DFDL MEKONG
การปรับปรุงกฎหมายส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ สปป.ลาว ฉบับที่ 7 (ปี 2553-2558) ซึ่งตั้งเป้ามูลค่าการลงทุนใน สปป.ลาว ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศปีละกว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนา สปป.ลาว สู่การเป็นประเทศเป้าหมายหลักเพื่อการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม) อันจะนำไปสู่การหลุดพ้นจากประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries : LDCs) ในอนาคต
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2554--