ข้อมูลที่น่าสนใจ
จำนวนผู้บริโภค : 243 ล้านคน
ปริมาณการบริโภคน้ำตาลทราย : 19 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
ปริมาณนำเข้าน้ำตาลทราย : เฉลี่ย 2.1 ล้านตันต่อปีในช่วงปีการผลิต 2548/49-2552/53
ทำไมตลาดน้ำตาลทรายในอินโดนีเซียจึงน่าสนใจ
1. อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้บริโภคน้ำตาลทรายรายใหญ่อันดับ 3 ของเอเชีย รองจากอินเดียและจีน และเป็นผู้นำเข้าน้ำตาลทรายราย ใหญ่อันดับ 1 ของเอเชีย ด้วยปริมาณนำเข้าน้ำตาลทรายเฉลี่ยสูงราว 2.1 ล้านตันต่อปีในช่วงปีการผลิต 2548/49-2552/53
2. การบริโภคน้ำตาลทรายของอินโดนีเซียอยู่ในระดับไม่สูงนัก เฉลี่ยราว 19 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ขณะที่ไทยอยู่ที่ 31 กิโลกรัมต่อคนต่อ ปี อินโดนีเซียจึงมีแนวโน้มที่จะบริโภคน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต
3. การผลิตน้ำตาลทรายในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค ด้วยปริมาณผลิตเฉลี่ยเพียงปีละ 2.7 ล้านตันในช่วง 5 ปีที่ผ่าน มา ขณะที่การบริโภคเฉลี่ยสูงถึงปีละ 4.8 ล้านตันส่งผลให้อินโดนีเซียต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำตาลทราย เมื่อประกอบกับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยของ อินโดนีเซียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราค่อนข้างต่ำ เนื่องจากจำนวนประชากรในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการก่อสร้างบ้านเรือนและถนนแทน ที่พื้นที่เพาะปลูกอ้อย โดยเฉพาะในเกาะชวา ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยสำคัญของอินโดนีเซีย และให้ผลผลิตอ้อยในสัดส่วนสูงราวร้อยละ 60 ของผลผลิตอ้อย ทั้งประเทศ ทำให้คาดว่าอินโดนีเซียจะไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายให้ทันกับความต้องการบริโภคได้ และยังคงต้องนำเข้าน้ำตาลทรายต่อ ไป แม้อินโดนีเซียตั้งเป้าจะพึ่งพาน้ำตาลทรายที่ผลิตได้เองให้ได้ภายในปี 2557
4. ความต้องการบริโภคน้ำตาลทรายของอินโดนีเซียมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ เติบโตจากทั้งการจำหน่ายในประเทศและการเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก รวมทั้งจำนวนประชากรในอินโดนีเซียที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ Business Monitor International คาดว่าอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอุตสาหกรรมอาหารประเภท Confectionery (อาทิ ลูกอม ช็อกโกแลต และเบเก อรี) ของอินโดนีเซียในปี 2553-2558 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4 และร้อยละ 3.6 ต่อปี ตามลำดับ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคน้ำตาลทรายของ อินโดนีเซียมีแนวโน้มสูงถึง 5.4 ล้านตันในปีการผลิต 2553/54 ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 5.7 ล้านตันในปีการผลิต 2554/55
โครงสร้างตลาดน้ำตาลทรายในอินโดนีเซีย: ตลาดครัวเรือนนำภาคอุตสาหกรรม
1. ร้อยละ 58 ของปริมาณการบริโภคน้ำตาลทรายทั้งหมดของอินโดนีเซียเป็นการใช้บริโภคในครัวเรือน ขณะที่อีกร้อยละ 42 เป็นการใช้ ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
2. ผู้ใช้หลักของน้ำตาลทรายแต่ละประเภท
- น้ำตาลทรายดิบ (Raw Sugar) ผู้ใช้หลัก คือ โรงงานแปรรูปน้ำตาลทราย ซึ่งนำเข้าน้ำตาลทรายดิบไปละลายและแปรรูป
- น้ำตาลทรายขาว (White Sugar) ผู้ใช้หลัก คือ ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลทรายขาวผลิตจากอ้อยที่ปลูกในประเทศ
- น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (Refined Sugar) ผู้ใช้หลัก คือ โรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานผลิตอาหารและ
เครื่องดื่ม
กฎระเบียบการนำเข้าน้ำตาลทราย : ค่อนข้างเข้มงวด และอัตราภาษีสูง
มาตรการที่มิใช่ภาษี
รัฐบาลอินโดนีเซียจัดให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม เนื่องจากมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหาร และมีผลต่อการเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศ จึงกำหนดปริมาณนำเข้าน้ำตาลทรายแต่ละประเภทในทุก ๆ ปีการผลิต ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตและความต้องการบริโภคน้ำตาล ทรายในประเทศ ทั้งนี้ การนำเข้าน้ำตาลทรายแต่ละประเภทต้องทำผ่านผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น สำหรับปริมาณนำเข้าน้ำตาลทรายและผู้นำเข้าที่ ได้รับอนุญาตในปีการผลิต 2553/54 มีรายละเอียดดังนี้
ปริมาณนำเข้าน้ำตาลทรายและตัวอย่างผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาต ปีการผลิต 2553/54
ประเภทน้ำตาลทราย ปริมาณนำเข้า ตัวอย่างผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาต น้ำตาลทรายดิบ(ค่าสี>1,200 ICUMSA) 2,400,000 ตัน - ผู้นำเข้าที่เป็นผู้ผลิตซึ่งต้องใช้น้ำตาลทรายดิบเป็นวัตถุดิบในการผลิต
ต่อ (Sugar Producer Importer : Sugar IP) อาทิ โรงงาน
แปรรูปน้ำตาลทรายในอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 8 โรงงาน น้ำตาลทรายขาว(ค่าสีอยู่ระหว่าง 70-1,200 ICUMSA) 450,000 ตัน* - ผู้นำเข้าน้ำตาลทรายที่จดทะเบียน (Sugar Register Import :
Sugar IT) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 6 บริษัท ได้แก่
1. PT. Perkebunan Nusantara IX
2. PT. Perkebunan Nusantara X
3. PT. Perkebunan Nusantara XI
4. PT. Rajawali Nusantara Indonesia
5. PT. Perusahaan Perdagangan Indonesia
6. BULOG น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์(ค่าสี