จับกระแสตอบรับของนานาประเทศต่อการปฏิรูปประเทศของพม่า

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 11, 2012 11:25 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

การเดินทางเยือนประเทศไทยของนางออง ซาน ซูจี เพื่อเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum on East Asia ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2555 ซึ่งเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกในรอบ 24 ปีของนางออง ซาน ซูจี ต่อเนื่องจนถึงการเดินทางเยือนหลายประเทศในยุโรปในช่วงเดือนมิถุนายน 2555 เป็นสัญญาณชัดเจนที่แสดงให้เห็นท่าทีของรัฐบาลพม่าที่เริ่มสร้างความสัมพันธ์กับนานาประเทศควบคู่ไปกับการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในฐานะที่เป็นแหล่งลงทุนแห่งใหม่ที่ทั่ว โลกกำลังจับตามอง สังเกตได้จากในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยเข้าไปลงทุนในพม่าขณะที่รัฐบาลของหลายประเทศได้ให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ แก่พม่าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวล่าสุดของนานาประเทศสะท้อนให้เห็นถึงกระแสตอบรับต่อการปฏิรูปประเทศของพม่าในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเริ่มมีทิศทางดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาทิ

-สหรัฐอเมริกา ผ่อนคลายการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่ามากขึ้นเป็นลำดับ อาทิ การยกเลิกข้อห้ามการทำธุรกรรมทางการเงินในพม่าขององค์กรพัฒนาเอกชนที่มีฐานอยู่ในสหรัฐฯ โดยเฉพาะในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมประชาธิปไตย และการช่วยเหลือชาวพม่าที่ไร้ที่อยู่อาศัย เป็นต้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 17พฤษภาคม 2555 สหรัฐฯ ประกาศผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการลงทุนของนักลงทุนสหรัฐฯ ในพม่า ทำให้นักลงทุนสหรัฐฯ หลายรายเตรียมเข้าไปลงทุนในพม่า อาทิ บริษัท Coca-Cola ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมรายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้ประกาศเตรียมกลับเข้าไปลงทุนในพม่าอีกครั้งซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปีโดยในช่วงแรกบริษัท Coca-Cola จะนำเข้าน้ำอัดลมจากประเทศเพื่อนบ้านมาจำหน่ายในพม่า และวางแผนลงทุนเพิ่มเติมในพม่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังฟื้นฟูความสัมพันธ์กับพม่ามากขึ้นเป็นลำดับดังเห็นได้จากการที่นาง Hillary Clinton เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกของสหรัฐฯที่เดินทางเยือนพม่าในรอบกว่า 50 ปี รวมทัง้ การแต่งตั้งนาย Derek Mitchell ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำพม่าเป็นคนแรกในรอบ 22 ปี อย่างไรก็ตาม ทางการสหรัฐฯ ประกาศว่าอาจกลับมาดำเนินมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่าอีก เพื่อต่อรองให้พม่าเดินหน้าปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

-สหภาพยุโรป (European Union : EU) ประกาศระงับมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่า (ยกเว้นมาตรการคว่ำบาตรด้านอาวุธ) ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2555-30 เมษายน 2556 นับเป็นการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศตะวันตกต่อพม่า และอาจพิจารณาขยายระยะเวลาระงับมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่าออกไปอีก หากการปฏิรูปประเทศของพม่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้น อีกทั้งเมื่อวันที่ 28เมษายน 2555 EU ได้เปิดสำนักงานตัวแทนในพม่าเพื่อใช้เป็นช่องทางสนับสนุนการพัฒนาประเทศของพม่า นอกจากนี้ นางออง ซาน ซูจี ได้เดินทางเยือนหลายประเทศในยุโรป ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ สหราชอาณาจักรและฝรัง่ เศส ระหว่างวันที่ 13-29 มิถุนายน 2555 นับเป็นการเดินทางเยือนยุโรปครั้งแรกของนางออง ซาน ซูจีตั้งแต่ปี 2531 สะท้อนให้เห็นท่าทีที่ผ่อนปรนมากขึ้นของรัฐบาลพม่าในการสร้างความสัมพันธ์กับนานาประเทศทั้งนี้ นักวิเคราะห์หลายรายมองว่าการระงับมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่านับเป็นความพยายามของ EU ที่จะบรรเทาผลกระทบจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปซึ่งยังรุนแรง รวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้ นยิ่งขึ้นกับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเริ่มมีบทบาทสำคัญในเวทีการค้าโลกมากขึ้นเป็นลำดับ

-ญี่ปุ่น ประกาศยกหนี้มูลค่า 303.5 พันล้านเยน หรือราว 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่พม่าภายหลังการเดินทางเยือนญี่ปุ่นของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ผู้นำพม่าคนแรกที่เดินทางเยือนญี่ปุ่นในรอบ 28 ปี โดยในเบื้องต้นญี่ปุ่นจะยกหนี้มูลค่า 127.4 พันล้านเยนให้แก่พม่า และจะยกหนี้ที่เหลืออีก 176.1 พันล้านเยนให้เมื่อกระบวนการปฏิรูปประเทศของพม่ามีความก้าวหน้ามากขึ้น รวมทัง้ จะมีการเจรจาเพื่อฟื้นฟูเงื่อนไขในการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ หลังจากญี่ปุ่นระงับการให้เงินกู้แก่พม่ามานานถึง 25 ปี อีกทัง้ ญี่ปุ่นยังมีส่วนช่วยพัฒนาภาคการเงินการธนาคารของพม่า โดยเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555ธนาคาร Sumitomo Mitsui Banking Corporation (SMBC) ของญี่ปุ่นได้ลงนามข้อตกลงกับธนาคาร Kanbawzaซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดของพม่า เพื่อให้คำแนะนำในด้านการดำเนินการต่างๆ รวมทั้งการช่วยฝึกอบรมพนักงานธนาคาร และเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ทางการพม่าได้ลงนามความตกลงกับกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ Daiwa Securities Group และตลาดหลักทรัพย์กรุงโตเกียว (Tokyo Stock Exchange) เพื่อจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ในพม่า คาดว่าจะเปิ ดดำเนินการได้ในปี 2558 นอกจากนี้ ญี่ปุ่นจะให้เงินช่วยเหลือมูลค่าถึง 1,600 ล้านเยน (ราว 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แก่พม่าเพื่อแก้ไขปญั หาขาดแคลนพลังงานในประเทศสำหรับข้อตกลงด้านการลงทุน ทางการญี่ปุ่นและพม่าได้มีการหารือร่วมกัน ซึ่งคาดว่าจะบรรลุข้อตกลงได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2555 รวมทัง้ จะมีการลงนามข้อตกลงเพื่อร่วมกันพัฒนาเขตเศรษฐกิจ Thilawa ในพม่าซึ่งคาดว่าจะทำให้บริษัทญี่ปุ่นหลายรายเข้าไปลงทุนในพม่ามากขึ้นในระยะถัดไป

-อินเดีย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2555 นาย Manmohan Singh นายกรัฐมนตรีของอินเดียเดินทางเยือนพม่าเพื่อเข้าพบประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และนางออง ซาน ซูจี นับเป็นการเดินทางเยือนพม่าครัง้ แรกของนายกรัฐมนตรีอินเดียในรอบ 25 ปี โดยทัง้ สองประเทศได้มีการลงนามในข้อตกลงด้านต่างๆ หลายฉบับ ทัง้ นี้นักวิเคราะห์หลายรายมองว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอินเดียพยายามกระชับความสัมพันธ์กับพม่าอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทัง้ เป็นการคานอิทธิพลของจีนซึ่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนาประเทศของพม่านอกจากนี้ พม่ายังถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อนโยบาย Look East Policy ของอินเดีย ที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงเส้นทางเศรษฐกิจระหว่างอินเดียกับอาเซียนและจีน ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2534 ทั้งนี้ ภายใต้นโยบาย Look East Policy ทางการอินเดียเตรียมก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร เพื่อเชื่อมระหว่างรัฐอัสสัมทางภาคตะวันออกของอินเดียกับพม่า โดยคาดว่าโครงการก่อสร้างถนนส่วนแรกซึ่งจะเชื่อมต่อถนนจากรัฐอัสสัมของอินเดีย ผ่านเมืองมัณฑะเลย์ของพม่า สิ้นสุดที่เมืองย่างกุ้ง จะแล้วเสร็จในปี 2559

-อื่นๆ ความก้าวหน้าในการปฏิรูปประเทศของพม่าส่งผลให้หลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลียสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร แคนาดา และนอร์เวย์ ทยอยยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่าแล้ว ขณะที่อีกหลายประเทศเร่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเริ่มให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่พม่าดังเห็นได้จากการที่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่าเข้าพบนายกรัฐมนตรี Lee Hsien Loong ของสิงคโปร์เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2555 เพื่อลงนามข้อตกลงรับความช่วยเหลือจากสิงคโปร์ในการฝึกอบรมบุคลากรของพม่า เพื่อปฏิรูปประเทศในด้านกฎหมาย การเงิน และการธนาคาร รวมทัง้ นาย Kim Sung-Hwan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีใต้ เดินทางเยือนพม่าเพื่อเข้าพบประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และนายวันนา หม่อง ลวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของพม่าเมื่อวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2555 นับเป็นการเดินทางเยือนพม่าครั้งแรกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 2528 ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดังกล่าวจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในพม่ามากขึ้น

สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่านั้นถือว่ามีความแน่นแฟ้นมายาวนาน ซึ่งรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าได้มีการเจรจาเพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันในหลายด้านมาอย่างต่อเนื่อง อาทิการเตรียมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในพม่า ซึ่งเน้นส่งเสริมการปฏิรูปและพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองในพม่าเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันระหว่างสองประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้นอกจากโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายซึ่งบริษัท Italian-Thai Development (ITD)เป็นผู้ได้รับสัมปทานโครงการนั้น ยังมีนิติบุคคลไทยอีกหลายรายที่เข้าไปหรือเตรียมเข้าไปลงทุนในพม่า อาทิ

-บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิ โตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท. สผ.) ปัจจุบันมีโครงการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมในพม่าจำนวน 4 โครงการ และเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 บริษัท ปตท. สผ.ร่วมกับบริษัท Win Precious Resources Pte. Ltd. (WPR) ได้ลงนามสัญญาแบ่งปนั ผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC) กับบริษัท Myanmar Oil and Gas Enterprise (MOGE) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของพม่า เพื่อเข้ารับสิทธิ์ในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในพม่าเพิ่มอีก 2 แปลง

-บริษัท บางจากปิ โตรเลียม จำกัด (มหาชน) มีแผนจะเข้าไปตั้งสถานีบริการน้ำมันในพม่า 1 แห่งภายในปี 2555 และตัง้ เป้าเพิ่มเป็น 5 แห่งภายในปี 2560

-ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุญาตให้เปิดสำนักงานตัวแทนในพม่า นอกจากนี้ ยังมีแผนจะจัดตั้งสาขาในพม่าเพื่อปล่อยกู้และรับฝากเงินเมื่อกฎหมายของพม่าอนุญาตให้ธนาคารต่างชาติเข้าไปเปิดสาขาได้

-บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการศึกษาช่องทางการขยายตลาดและการลงทุนสวนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บนพื้นที่ 1,600 ไร่ ในเมืองย่างกุ้งของพม่า ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณการลงทุนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท

-บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด เข้าไปเปิดตลาดในพม่าแล้ว 1 ปี เพื่อจำหน่ายเครื่องดื่ม โดยมีตัวแทนจำหน่ายประจำอยู่ตามแนวชายแดนพม่า 5 ราย

-บริษัท เนชัน่ มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท Eleven Media Group ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนด้านสื่อชัน้ นำของพม่า เพื่อเตรียมร่วมทุนผลิตหนังสือพิมพ์รายวันภาคภาษาอังกฤษและเว็บไซต์ข่าวในพม่า

-บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เตรียมขยายการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาล ซึ่งปจั จุบันกำลังอยู่ระหว่างการติดตามความชัดเจนด้านนโยบายการลงทุนของรัฐบาลพม่า

สำหรับความเคลื่อนไหวของพม่า ล่าสุดทางการพม่าเปิดเผยว่ารัฐสภาพม่าจะอนุมัติกฎหมายลงทุนฉบับใหม่เร็วๆ นี้ ซึ่งจะเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนให้แก่นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น อันจะมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสให้นักลงทุนไทยที่สนใจเข้าไปลงทุนในพม่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักลงทุนไทยจะมีความได้เปรียบในการเข้าไปลงทุนในพม่าจากปจั จัยที่พม่ามีความใกล้ชิดกับไทย โดยเฉพาะในด้านสังคม วัฒนธรรม และประเพณี แต่ในเบื้องต้นนักลงทุนอาจต้องเผชิญกับปญั หาความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โดยเฉพาะปัญ หาขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นปจั จัยเสี่ยงที่นักลงทุนควรระมัดระวัง ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลด้านการลงทุนในพม่าอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจเข้าไปลงทุนเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุน

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ