ธรรมเนียมน่ารู้และข้อควรทราบในการติดต่อธุรกิจกับชาวเวียดนาม

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 14, 2013 13:29 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

เวียดนามเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างโดดเด่น โดยมีอัตราขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องมาหลายปี แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอยอีกทั้งเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรสูงถึง 90 ล้านคน มากเป็นอันดับ 3 ในอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ในด้านการค้า เวียดนามถือเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยโดยเป็นตลาดส่งออกอันดับ 9 ด้วยมูลค่าส่งออกกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 11 เดือนแรกปี 2555 ขณะเดียวกัน ในด้านการลงทุน เวียดนามก็เป็นตัวเลือกอันดับแรกๆ ของนักลงทุนทั้งจากไทยและประเทศอื่นๆ ที่ต้องการขยายการลงทุนมายังอาเซียน จากการที่เวียดนามมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเวียดนามได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า อาทิ GSP จากประเทศต่างๆ และ FTAs ที่เวียดนามทำกับหลายประเทศ จึงเป็นปจั จัยที่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้เป็นอย่างดี

สำหรับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการทำ การค้า หรือเข้าไปลงทุนในเวียดนามนอกเหนือจากการศึกษาตลาดและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังควรเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติของชาวเวียดนาม ตลอดจนการทำความเข้าใจถึงบุคลิกและอุปนิสัยของชาวเวียดนาม เพื่อให้การติดต่อธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ

ธรรมเนียมน่ารู้และข้อควรทราบในการติดต่อธุรกิจกับชาวเวียดนาม

-การแลกเปลี่ยนนามบัตร เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการทำธุรกิจในเวียดนามผู้ประกอบการควรพกนามบัตรจำนวนมากติดตัวไว้เสมอ เนื่องจากผู้ประกอบการชาวเวียดนามนิยมแลกเปลี่ยนนามบัตร การแลกนามบัตรควรใช้มือทัง้ 2 ข้างยื่นหรือรับนามบัตรจากคู่เจรจา และอาจค้อมศีรษะเล็กน้อยเพื่อเป็นการให้เกียรติ เมื่อรับนามบัตรมาแล้วควรอ่านนามบัตรอย่างใส่ใจ ไม่ควรเก็บนามบัตรทันที

การเลี้ยงน้ำชา ในการพบปะกันชาวเวียดนามมักต้อนรับด้วยการเลี้ยงน้ำชา และบางครัง้ อาจเสิร์ฟพร้อมของว่างเล็กๆ น้อยๆ ท่านไม่ควรปฏิเสธเพราะถือว่าไม่สุภาพอย่างน้อยควรดื่มชาหรือลองชิมของว่างดูสักเล็กน้อย

งานเลี้ยงรับประทานอาหาร โดยปกติชาวเวียดนามใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร พร้อมถือชามข้าวไว้ในมืออีกข้างหนึ่ง การรับประทานโดยวางชามข้าวไว้บนโต๊ะแสดงถึงความขี้เกียจ ทัง้ นี้ หากต้องส่งจานอาหารให้แก่กันควรใช้ทัง้ สองมือประคองจาน

การมอบของขวัญ ของขวัญที่มอบแก่ชาวเวียดนาม ควรเป็นของที่มีมูลค่าไม่สูงนักอาทิ ขนม ของหวาน ผลไม้ หรือของใช้ทัว่ ไปในชีวิตประจำวันอย่างเครื่องสำอาง โคมไฟและกรอบรูป เพื่อมิให้ถูกมองว่าเป็นการติดสินบน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจเลือกซื้อของฝากจากประเทศไทย หรือนำของที่ติดตราบริษัทของท่านไปมอบให้เป็นของขวัญ ทั้งนี้ ควรห่อของขวัญด้วยกระดาษสีสดใส และไม่ควรมอบของขวัญเป็นผ้าเช็ดหน้า ของที่มีสีดำ ดอกไม้สีเหลือง โดยเฉพาะดอกเบญจมาศ ซึ่งสื่อถึงงานศพหรือวัตถุมีคมจำพวกมีด กรรไกร ซึ่งสื่อถึงการตัดความสัมพันธ์ ทั้งนี้ หากได้รับเชิญไปที่บ้านของชาวเวียดนาม นอกจากของขวัญสำหรับเจ้าบ้านแล้ว หากเตรียมของขวัญสำหรับเด็กๆ หรือผู้ใหญ่ในบ้านด้วยจะช่วยสร้างความประทับใจมากขึ้น

ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจทำธุรกิจของชาวเวียดนาม ผู้ประกอบการที่สนใจค้าขายกับชาวเวียดนามจึงจำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อสร้างความสัมพันธ์หรือสร้างความไว้วางใจก่อนที่จะเจรจาการค้าหรือตกลงร่วมทำธุรกิจกัน โดยส่วนใหญ่การพบกันในครั้งแรกๆ มักเน้นไปที่การทำความรู้จักกันเป็นหลัก หลังจากทำความรู้จักกันแล้ว ผู้ประกอบการควรไปพบปะคู่ค้าชาวเวียดนามเพื่อติดต่อเจรจาการค้าหรือเสนอขายสินค้าด้วยตนเอง จากนั้นอาจไปเยี่ยมเยียนเป็นครั้งคราว รวมถึงโทรศัพท์ ส่งอีเมลถึงกันตามความเหมาะสมการเดินทางไปเจรจาธุรกิจเพียงครัง้ เดียวโดยไม่มีการติดต่อกันอย่างต่อเนื่องในภายหลังมักไม่ประสบผลสำเร็จในการเจรจาซื้อขาย ขณะเดียวกัน การพยายามติดต่อธุรกิจกับชาวเวียดนามทางโทรศัพท์หรืออีเมลตั้งแต่แรก โดยไม่มีการพบปะกันก็มักไม่ประสบผลสำเร็จเช่นกัน ทัง้ นี้ ผู้ประกอบการควรติดต่อนัดหมายวันเวลาที่จะเข้าพบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนวันนัดหมาย

ชาวเวียดนามคุ้นเคยกับความสัมพันธ์แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ดังนั้น แม้ชาวเวียดนามจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คู่เจรจาเสนอแต่จะไม่ปฏิเสธหรือแสดงความเห็นแย้งเนื่องจากเห็นว่าอาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเสียหน้า จึงใช้วิธีนิ่งเงียบแทน หรือในบางกรณีการตอบรับ (“Yes”) หรือพูดว่า “ไม่มีปญั หา” ก็อาจเป็นเพียงการตอบเพื่อถนอมน้ำใจอีกฝ่ายมากกว่า ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องพึงระลึกเสมอว่าการที่ชาวเวียดนามพยักหน้าหรือตอบรับในระหว่างการเจรจาอาจมิได้หมายความว่ายอมรับเสมอไป

การดำเนินธุรกิจของชาวเวียดนามมักยึดการตัดสินใจของเสียงส่วนใหญ่ในองค์กรเป็นหลัก หรืออาจกล่าวได้ว่า ไม่มีผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการตัดสินใจเพียงคนเดียว การทำข้อตกลงหรือดำเนินการในเรื่องสำคัญมักต้องอาศัยการตัดสินใจของคณะกรรมการ และหากคณะกรรมการหรือที่ประชุมมีความเห็นไม่ตรงกันแม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องพยายามหาข้อยุติที่ทุกฝ่ายพอใจ ทำให้การตัดสินใจบางเรื่องใช้เวลานาน และอาจมีการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยตกลงกับคู่เจรจาไว้ก่อนหน้า

ผู้ประกอบการเวียดนามที่มีความเชี่ยวชาญอาจทำธุรกิจหลายประเภทพร้อมกันเช่น บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการนำเข้าและกระจายสินค้าอาหาร อาจลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ด้วย จึงมีความเป็นไปได้ที่บริษัทนั้นจะให้ความสำคัญกับธุรกิจที่ทำกำไรหรือก่อให้เกิดรายได้สูงกว่า และลดหรือหยุดการทำธุรกิจที่มีกำไรน้อย ซึ่งนับเป็นความเสี่ยงหนึ่งของผู้ประกอบการไทยที่ดำเนินธุรกิจกับชาวเวียดนามที่ดำเนินธุรกิจหลายอย่างพร้อมๆ กัน

ผู้นำเข้าชาวเวียดนามมักปฏิบัติตามแบบพิธีการนำเข้าเดิมๆ ที่เคยปฏิบัติมาเป็นหลัก จึงอาจขาดการติดตามระเบียบการนำเข้าใหม่ๆ ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปญั หาการนำเข้าที่อาจจะเกิดขึ้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ ของเวียดนามด้วยเช่นกัน

แม้ชาวเวียดนามมีบุคลิกหรือลักษณะนิสัยบางอย่างต่างจากคนไทย แต่การเปิดใจที่จะเรียนรู้ ทำความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกัน จะช่วยให้การติดต่อธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งจะส่งผลต่อความสำเร็จของการติดต่อธุรกิจกับชาวเวียดนาม

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ