ตลาดบรูไน...มีอะไรน่าสนใจสำหรับสินค้าไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 11, 2013 14:59 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

แม้ว่าบรูไนเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในอาเซียนเพียง 414,400 คน และมีพื้นที่เล็กเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ แต่บรูไนจัดเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีศักยภาพสูงด้านการค้าและเป็นตลาดที่สินค้าไทยมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ดังเห็นได้จากมูลค่าส่งออกของไทยไปบรูไนในปี 2555 ที่ขยายตัวกว่าร้อยละ 40 เทียบกับมูลค่าส่งออกของไทยโดยรวมที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 6 จากผลพวงของตลาดหลัก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรป ที่อยู่ในภาวะซบเซาจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก ทั้งนี้บรูไนเป็นตลาดการค้าที่น่าสนใจจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
  • ประชากรมีกำลังซื้อสูง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF)ประมาณการรายได้ต่อหัวของบรูไนปี 2555 สูงถึง 38,801 ดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ และสูงกว่ารายได้ต่อหัวของไทยเกือบ 6 เท่า ชาวบรูไนจึงนิยมสินค้าแบรนด์เนมและสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง รวมถึงสินค้าแฟชั่น และทันสมัยแบบตะวันตก นอกจากนี้ ชาวบรูไนยังให้ความสำคัญมากกับคุณภาพสินค้า และประโยชน์ใช้สอยซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
  • มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ บรูไนมีรายได้หลักจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าที่ทั่ว โลกจำเป็นต้องใช้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจที่มิใช่น้ำมัน อาทิ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุตสาหกรรมอาหาร ยาและเภสัชกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งเร่งดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุนด้วยการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ตั้งแต่ปี 2545 เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและเสริมสร้างความมั่น คงทางเศรษฐกิจแก่บรูไนในระยะยาว
  • การก้าวสู่ AEC ในปี 2558 ผู้ส่งออกสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community : AEC) ซึ่งจะช่วยลดภาระต้นทุนและอุปสรรคทางการค้าให้แก่ผู้ส่งออกไทยในการส่งสินค้าไปยังบรูไน ทั้ง นี้ ปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่ของบรูไนอยู่ในระดับต่ำ คือ ร้อยละ 0-5ขณะที่ AEC จะช่วยให้อัตราภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมดลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2558 ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว(Sensitive List) 2 รายการ คือ ชา และกาแฟ ซึ่งจะเก็บภาษีนำเข้าไม่เกินร้อยละ 5

สำหรับสินค้าไทยที่มีโอกาสขยายตลาดในบรูไน ได้แก่

  • อาหารและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอาหารแปรรูปและอาหารพร้อมรับประทาน อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผักกระป๋ องและแปรรูป และไอศกรีม เป็นต้น เนื่องจากการผลิตของบรูไนยังไม่เพียงพอ ทำให้บรูไนต้องพึ่งพาการนำ เข้าสินค้าอาหารจำนวนมากจากต่างประเทศ ประกอบกับพฤติกรรมและรสนิยมการบริโภคของชาวบรูไนที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือปัจจุบันชาวบรูไนมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบและต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น ขณะที่สินค้าอาหารของไทยมีความได้เปรียบด้านคุณภาพและมาตรฐานการผลิตที่ได้รับการยอมรับจากชาวบรูไน ทั้งนี้สินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในบรูไนควรได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์ฮาลาลจาก Ministry of Religious Affairs ของบรูไนเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในตลาดซึ่งประชากรเกือบร้อยละ 70 เป็นชาวมุสลิม รวมถึงควรแสดงเครื่องหมายฮาลาลให้เห็นชัดเจนบนฉลากสินค้า
  • สินค้าอุปโภค อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปบรูไน ขณะที่ความต้องการสินค้าดังกล่าวขยายตัวต่อเนื่องตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นของชาวบรูไน นอกจากนี้ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง และเคหะสิ่งทอ ก็มีแนวโน้มเติบโตตามจำนวนที่อยู่อาศัยในบรูไนที่เพิ่มขึ้น
  • วัสดุก่อสร้าง อาทิ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สายไฟและสายเคเบิล ปูนซีเมนต์ และแร่ยิปซั่มเนื่องจากรัฐบาลบรูไนมีโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานหลายโครงการ รวมถึงโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเมืองนอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่สนใจขยายตลาดไปบรูไนควรศึกษากฎระเบียบการนำเข้าสินค้า รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคของชาวบรูไน เพื่อให้การส่งออกไปบรูไนเป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องจากบรูไนมีการดำเนินมาตรการที่มิใช่ภาษี อาทิ การควบคุมการนำเข้าสินค้าบางประเภท เช่น ข้าว และน้ำตาลทราย เป็นต้น ขณะที่อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว ผู้นำเข้าจะต้องขออนุญาตก่อนนำเข้าและต้องได้รับการรับรองเครื่องหมายฮาลาล ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎระเบียบและอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของบรูไนได้ที่เว็บไซต์ของกรมศุลกากรบรูไน (Royal Customs & Excise Department) คือ http://www.mof.gov.bn/English/RCE/Pages/default.aspx

Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ทีป่ รากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อ วัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการทีมี่บุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ