เก็บตกจากต่างแดน: เข้าใจพฤติกรรมการบริโภคและการทำธุรกิจของชาวอินโดนีเซีย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 2, 2013 13:56 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

การเตรียมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community : AEC)ในปี 2558 ก่อให้เกิดกระแสที่ผู้ประกอบการไทยเตรียมลงทุนและเจาะตลาดอาเซียนมากขึ้น โดยอินโดนีเซียถือเป็นตลาดหนึ่งที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากมีจุดเด่นจากจำนวนประชากรราว 250 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก จึงถือเป็นโอกาสของการส่งออกไทย อีกทั้งยังสามารถเข้าลงทุนผลิตสินค้าเพื่อรองรับความต้องการใช้ภายในประเทศที่มีอยู่อย่างมหาศาล นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะแร่ธรรมชาติ ทำให้เป็นแหล่งลงทุนของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ด้วยเช่นกัน

พฤติกรรมผู้บริโภคชาวอินโดนีเซีย ... ส่วนหนึ่งคล้ายคลึงกับไทย

การที่จะเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียนั้นไม่ยากนัก เนื่องจากรูปแบบการดำเนินชีวิตของชาวอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งมีความคล้ายคลึงกับคนไทยค่อนข้างมาก ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการไทยในการเจาะตลาดอินโดนีเซีย โดยปัจจัยหลักที่กำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวอินโดนีเซีย ได้แก่

ปัญหาการจราจร : สภาพการจราจรที่ติดขัดในกรุงจาการ์ตาถือว่ารุนแรงติดอันดับ 10 เมืองที่มีปญั หาจราจรรุนแรงที่สุดของโลก ในปี 2555 จากการจัดอันดับของสำนักข่าว BBC ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียต้องการความรวดเร็วและความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อชดเชยเวลาที่เสียไปกับการเดินทาง ดังนั้น ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียจึงคาดหวังกับการบริการที่รวดเร็ว นิยมช่องทางจำหน่ายสินค้าที่เข้าถึงได้สะดวก เช่น ร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านรวมไปถึงต้องการสินค้าอาหารที่สามารถรับประทานได้รวดเร็ว อาทิ อาหารพร้อมปรุงหรือพร้อมรับประทาน สังเกตได้จากการที่อินโดนีเซียเป็นตลาดผู้บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใหญ่อันดับ 2 ของโลก

การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต : ผู้บริโภคชนชั้นกลางของอินโดนีเซียราวร้อยละ 22 สามารถเข้าถึงการใช้อินเตอร์เน็ต และใช้อินเตอร์เน็ตเฉลี่ยราว 1.5 ชัว่ โมงต่อวันโดยร้อยละ 94 ของผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว ติดต่อและสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ขณะที่ร้อยละ 89 มีบัญชี Facebook ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่แตกต่างจากตลาดผู้บริโภคของไทย อาทิ การค้นหาข้อมูลสินค้าบนสื่ออินเตอร์เน็ต ตลอดจนรับรู้ข้อมูลสินค้าต่างๆ จากสังคมออนไลน์ และใช้เป็นปจั จัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า การทำตลาดบนสื่ออินเตอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ จึงมีความสำคัญค่อนข้างมากในการทำการตลาดกับอินโดนีเซียในปจั จุบัน

ความคุ้มค่าของราคาสินค้า : ผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียจัดได้ว่าเป็นผู้บริโภคที่เก่งในการเลือกซื้อสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการศึกษารายละเอียดสินค้าและจดจำราคาสินค้าประเภทต่างๆ โดยความคุ้มค่าของสินค้ากับราคาที่ต้องจ่ายถือเป็นเกณฑ์สำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า พวกเขายินดีที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นหากสินค้ามีคุณภาพสูงกว่า และยินดีที่จะเดินทางไปซื้อสินค้าไกลขึ้นหากสถานที่จำหน่ายสินค้ามีโปรโมชัน่ ทำให้สินค้าราคาถูกลง

ความสำคัญของครอบครัว : ชาวอินโดนีเซียให้ความสำคัญกับกิจกรรมในครอบครัวค่อนข้างมาก การใช้เวลาไปห้างสรรพสินค้ากับครอบครัวเพื่อจับจ่ายใช้สอยและทำกิจกรรมบันเทิง เช่น ดูภาพยนตร์ รวมถึงการรับประทานอาหารนอกบ้านถือเป็นหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในวันหยุด ดังนั้น ช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านห้างสรรพสินค้าจึงทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

วัฒนธรรมการดำเนินธุรกิจ ... อิทธิพลจากประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ และศาสนา

ผู้ประกอบการที่ต้องการเจรจาธุรกิจหรือเข้าลงทุนในอินโดนีเซีย จำเป็นต้องเข้าใจวัฒนธรรมพื้นฐานเพราะมีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจของชาวอินโดนีเซีย ดังนี้

Dutch Legacy : อินโดนีเซียตกเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์ (หรือเนเธอร์แลนด์)ถึงราว 300 ปี ทำให้หลักความเสมอภาค (Egalitarian) เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นความเสมอภาคของบุคลากรภายในบริษัทหรือองค์กร รวมไปถึงความรู้สึกที่ว่าลูกค้าไม่ใช่ผู้ที่สำคัญสูงสุด ลูกค้าได้รับการเคารพแต่จะไม่ใช่ฝ่ายที่ถูกทุกครัง้ เสมอไป

Chinese Domination : นักธุรกิจชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนซึ่งมีบทบาทในแวดวงธุรกิจการค้าในอินโดนีเซีย มีลักษณะการตัดสินใจที่รวดเร็ว มีความอดทน และมักดำเนินธุรกิจแบบกิจการครอบครัว ลักษณะต่างๆ ดังกล่าวจึงสะท้อนอยู่ในวัฒนธรรมการดำเนินธุรกิจของอินโดนีเซีย

Islam : ประชากรกว่าร้อยละ 80 ของอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลาม ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากหลักศาสนา โดยจะให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลค่อนข้างมาก หรือที่เรียกว่า “Silaturahmi” ซึ่งแปลว่าไมตรีจิต ดังนั้น นักลงทุนที่ต้องการทำธุรกิจกับชาวอินโดนีเซียต้องเริ่มจากการสานสัมพันธ์ระหว่างกัน ก่อนการเริ่มเจรจาธุรกิจ

มีข้อน่าสังเกตว่าการรุกตลาดอินโดนีเซียยังมีอุปสรรคบางประการที่ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมความพร้อมก่อนเข้าไปทำธุรกิจ อาทิ ภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงในภาคธุรกิจทั้งจากผู้ประกอบการท้องถิ่น และนักลงทุนต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์มาเลเซีย จีน และญี่ปุ่น ซึ่งล้วนเข้าไปทำธุรกิจในอินโดนีเซียมาก่อนแล้วระยะหนึ่งนอกจากนี้ ระบบราชการของอินโดนีเซียค่อนข้างล่าช้า และการบังคับใช้กฎหมายยังไม่มีลประสิทธิภาพมากนัก ประกอบกับกฎระเบียบด้านการลงทุนปรับเปลี่ยนบ่อย ตลอดจนมีการนำมาตรการที่มิใช่ภาษีมาใช้กับสินค้านำเข้าค่อนข้างมากในปจั จุบัน ทำให้การเข้าถึงตลาดอินโดนีเซียอาจไม่ราบรื่นเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณที่ดีจากรัฐบาลอินโดนีเซียในความพยายามแก้ปัญหาที่มีอยู่ อาทิ ปัญหาระบบราชการที่ล่าช้า และการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีแนวโน้มที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในอินโดนีเซียจะเอื้อต่อการค้าและการลงทุนมากขึ้นในอนาคต

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ