ภาวะการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาสดใส ในช่วงที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติ จำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชา ส่งผลให้ปจั จุบันกัมพูชากลายเป็นฐาน การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออกของบริษัทชัน้ นำ อาทิ ZARA, H&M, Puma, Adidas, Nike และ GAP เป็นต้น โดยมีโรงงานตัดเย็บรวมกว่า 300 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากไต้หวัน จีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ในปี 2555 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของกัมพูชา (Cambodian Investment Board : CIB) อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากเป็นอันดับ 1 รวม 82 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน165.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 49.5 ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการที่ CIB อนุมัติ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 จากปี 2554 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากจีน เนื่องจากกัมพูชายังสามารถรักษาความได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ค่าจ้างแรงงานในจีนทยอยปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รองลงมา คือ ไต้หวันและเกาหลีใต้ ตามลำดับ ขณะที่การลงทุนจากไทยยังมีไม่มากนัก โดยมีนักลงทุนไทย 2 รายที่ได้รับอนุมัติโครงการลงทุนจาก CIB
กัมพูชามีความได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ แม้ว่ารัฐบาลกัมพูชาได้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอและรองเท้าเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2556 มาอยู่ที่ระดับ 75 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยเหลือด้านสุขภาพอีก 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ทำให้ค่าจ้างแรงงานรวมอยู่ที่ 80 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2,400 บาท) ต่อเดือน แต่อัตราค่าจ้างดังกล่าวยังต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียรวมทั้งไทย โดยเทียบเท่ากับการจ้างแรงงานไทยเพียง 8 วันเท่านั้น (คำนวณจากอัตราค่าจ้างแรงงานขัน้ ต่ำของไทยที่ระดับ 300 บาทต่อวัน) ประกอบกับกัมพูชาเป็นแหล่งแรงงานที่ฝึกหัดง่ายและใช้ทักษะการทำงานที่ไม่ซับซ้อนนัก ขณะที่ไทยเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือ อย่างไรก็ตามผลิตภาพของแรงงานกัมพูชาค่อนข้างต่ำโดย The Garment Manufacturing Association of Cambodia(GMAC) รายงานว่าในชัว่า โมงการทำงานที่เท่ากัน แรงงานกัมพูชา 1 คน สามารถผลิตเสื้อได้จำนวนน้อยกว่าแรงงานเวียดนาม 2 เท่า และแรงงานจีนถึง 3 เท่า จึงเป็นปจั จัยที่ผู้ประกอบการไทยควรนำมาพิจารณาร่วมด้วย
- กัมพูชาได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการส่งออกจากประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสิทธิพิเศษ ทางภาษีศุลกากรเป็นการทัว่ ไป(Generalized System of Preferences : GSP) ในการส่งออกสินค้าหลายรายการรวมทั้งเครื่องนุ่งห่ม จากตลาดส่งออกสำคัญทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เนื่องจากกัมพูชาจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries : LDCs) ส่งผลให้เครื่องนุ่งห่มที่ส่งออกจากกัมพูชาได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าและไม่มีการกำหนดโควตานำเข้าจากประเทศดังกล่าว ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาลงทุนหรือย้ายฐานการผลิตไปยังกัมพูชาเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว
- รัฐบาลกัมพูชาให้การสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มอย่างจริงจังด้วยการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ อาทิ การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบและส่วนประกอบ และลดหย่อนภาษีสำหรับการนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก เป็นต้น โดยนักลงทุนต่างชาติสามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้จาก CIB นอกจากนี้ รัฐบาลกัมพูชายังอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ทั้งหมด (ไม่จำเป็นต้องร่วมทุนกับชาวกัมพูชาเหมือนบางอุตสาหกรรม เช่น การผลิตและแกะสลักไม้และหิน และกิจการด้านวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น)
นอกจากโอกาสด้านการลงทุนแล้ว ผู้ประกอบการไทยอาจมองหาลู่ทางในการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไปกัมพูชา โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบขัน้ กลางทั้งด้ายและผ้าผืนประเภทต่างๆ อาทิ ผ้าถัก ผ้าทอที่ทำจากฝ้าย และผ้าทอที่ทำจากใยสังเคราะห์ เป็นต้น เนื่องจากการผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในกัมพูชามีแนวโน้มเติบโตเร็วมากและการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) คาดการณ์ว่าในช่วงปี 2556-2560 มูลค่าส่งออกเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาจะขยายตัวเฉลี่ย 13% ต่อปี ซึ่งจะส่งผลให้กัมพูชามีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาก จึงนับเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการสิ่งทอไทยในการรุกตลาดเพื่อเติมเต็มความต้องการดังกล่าว
Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลทีห่ ลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อ การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการทีมี่บุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--