บทความน่ารู้จาก Exim: ใส่ใจระบบภาษีสักนิดก่อนไปลงทุนใน สปป.ลาว

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 29, 2013 15:35 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

สปป.ลาว นับเป็นอีกประเทศหนึ่งในอาเซียนที่ประตูเปิดกว้างรอต้อนรับนักลงทุนจากทัว่ ทุกมุมโลกดังเห็นได้จากในช่วงที่ผ่านมารัฐบาล สปป.ลาว เร่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีความทันสมัยครบครันมากขึ้น เพื่อปูทางสู่ความเป็นสากล พร้อมกับสนับสนุนธุรกิจดาวเด่นที่ชูเอกลักษณ์ของประเทศ ทั้งในด้านความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นเหมืองแร่ พลังงานไฟฟ้า เกษตรและเกษตรแปรรูป หรือด้านทัศนียภาพ ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันงดงาม อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อตอบรับความต้องการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะเวียดนาม จีน ไทย เกาหลีใต้ ฝรัง่ เศส และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นนักลงทุนสำคัญลำดับต้นๆ ใน สปป.ลาว

การจะเข้าไปลงทุนใน สปป.ลาว นอกจากผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งความต้องการของตลาด กฎระเบียบด้านการลงทุน หรือธรรมเนียมในการติดต่อธุรกิจ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่นักลงทุนควรศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ คือ ระบบภาษี [กฎหมายภาษีของ สปป.ลาว ฉบับล่าสุด คือ Amended Tax Law (No. 05/NA, 20 December 2011) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตัง้ แต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 และปรับปรุงจาก Tax Law (No. 04/NA, 19 May 2005)] เนื่องจากภาษีถือเป็นต้นทุนสำคัญอีกประการหนึ่งที่นักลงทุนต้องแบกรับในการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ภาษีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน สปป.ลาว มีดังนี้

  • ภาษีกำไรหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล (Profit Tax) สปป.ลาว เรียกเก็บภาษีกำไรจากบริษัทต่างชาติและบริษัทท้องถิ่นในอัตราเท่ากันที่ร้อยละ 24 ของกำไรสุทธิก่อนหักภาษี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ทัง้ นี้ ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายยาสูบต้องเสียภาษีกำไรในอัตราร้อยละ 26 ขณะที่ธุรกิจอื่นๆ ที่โดยปกติเสียภาษีกำไรในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 24 สามารถเสียภาษีในอัตราเดิมได้ส่วนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว (Lao Securities Exchange : LSX) เสียภาษีกำไรลดลงร้อยละ 5 จากอัตราปกติเป็นระยะเวลา 4 ปี นับตั้ง แต่วันที่เข้าจดทะเบียนใน LSX
กำไรสุทธิก่อนหักภาษี (กีบ)                     อัตราภาษี (ร้อยละ)
ไม่เกิน 3,600,000                                0
3,600,001 - 8,000,000                          5
8,000,001 — 15,000,000                        10
15,000,001 — 25,000,000                       15
25,000,001 — 40,000,000                       20
40,000,001 ขึ้นไป                               24
ที่มา : Tax Department, Ministry of Finance (Lao PDR)

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล สปป.ลาว จะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีที่ระบุในกฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับปี 2552 โดยแบ่งตามระดับความสำคัญของกิจการและเขตพื้นที่การลงทุน ดังนี้

ระดับความสำคัญของกิจการ แบ่งเป็น

ระดับ 1 กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสูงสุด อาทิ โรงแรม 4 ดาว และสถาบันการศึกษา

ระดับ 2 กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนปานกลาง อาทิ ธุรกิจผลิตรถจักรยานยนต์

ระดับ 3 กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต่ำ อาทิ ธุรกิจผลิตเครื่องดื่ม และธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์

เขตพื้นที่การลงทุน แบ่งเป็น

เขตที่ 1 พื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร และขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐาน

เขตที่ 2 พื้นที่ที่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานจำกัด

เขตที่ 3 เขตเมืองใหญ่ และมีสาธารณูปโภคพื้นฐานพร้อม

ระดับความสำคัญของกิจการ     เขตที่ 1              เขตที่ 2             เขตที่ 3
ระดับ 1                   ยกเว้นภาษีกำไร 10 ปี   ยกเว้นภาษีกำไร 6 ปี   ยกเว้นภาษีกำไร 4 ปี
ระดับ 2                   ยกเว้นภาษีกำไร  6 ปี   ยกเว้นภาษีกำไร 4 ปี   ยกเว้นภาษีกำไร 2 ปี
ระดับ 3                   ยกเว้นภาษีกำไร  4 ปี   ยกเว้นภาษีกำไร 2 ปี   ยกเว้นภาษีกำไร 1 ปี
ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เวียงจันทน์

ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นหรือลดหย่อนอัตราภาษีกำไรของทุกโครงการจะเริ่ม ณ วันแรกที่กิจการเริ่มดำเนินการ ยกเว้น กิจการผลิตสินค้าใหม่ กิจการค้นคว้า และสร้างเทคโนโลยีใหม่ จะเริ่มตั้งแต่วันที่โครงการมีผลกำไร และเมื่อระยะเวลารับสิทธิประโยชน์สิ้นสุดลง นักลงทุนจะต้องเสียภาษีกำไรในอัตราปกติตามที่กฎหมายกำหนด

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) ชาวลาวต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 24 ของรายได้สุทธิก่อนหักภาษี ขณะที่ชาวต่างชาติที่ทำงานในสปป.ลาว เกินกว่า 180 วันในแต่ละปี และได้รับรายได้จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ 10 ยกเว้นกรณีที่ได้รับการยกเว้นตามความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน อย่างไรก็ตามในอนาคตชาวต่างชาติที่ทำงานใน สปป.ลาว น้อยกว่า 180 วันต้องเสียภาษีในอัตราดังกล่าวเช่นกัน ทั้งนี้รายละเอียดของอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของชาวลาว มีดังนี้
  • รายได้ในรูปของเงินเดือน ค่าจ้าง และโบนัส ดังนี้
รายได้สุทธิ (กีบ)                     อัตราภาษี (ร้อยละ)
ไม่เกิน 1,000,000 0
1,000,001 - 3,000,000                   5
3,000,001 - 6,000,000                  10
6,000,001 - 12,000,000                 12
12,000,001 - 24,000,000                15
24,000,001 - 40,000,000                20
40,000,001 ขึ้นไป                        24
ที่มา : Tax Department, Ministry of Finance (Lao PDR)
  • รายได้อื่นๆ อาทิ
ประเภทของรายได้                                         อัตราภาษี (ร้อยละ)
รายได้จากเงินปนั ผล รายได้จากการขายหุ้น (อาจได้รับยกเว้นหากมี         10
ความตกลงระหว่างรัฐบาล สปป.ลาว กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง)
รายได้จากอสังหาริมทรัพย์ เช่น ค่าเช่าบ้าน                            10
รายได้จากการขายสิทธิในการถือครองที่ดิน                              5
รายได้จากทรัพย์สินทางปญั ญาและสิทธิบัตร                              5
ที่มา : Tax Department, Ministry of Finance (Lao PDR)
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการขายสินค้าตั้งแต่การขายส่งจากโรงงานจนถึงผู้ค้าปลีกในอัตราเดียวที่ร้อยละ 10 โดยมีผลบังคับใช้แทนภาษีการค้า (Business Turnover Tax : BTT) ทัง้ นี้ กิจการที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 400 ล้านกีบอยู่ภายใต้ระบบภาษีดังกล่าว
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ การนำเข้าสินค้าทุกประเภทต้องเสียค่าธรรมเนียมการนำเข้า (Administrative Fee on Imports) ร้อยละ 5 ของมูลค่านำเข้าที่แจ้งต่อกรมศุลกากร ส่วนโครงการลงทุนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การลงทุนสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ต้องจ่ายค่าภาคหลวง (Royalty Fee) เป็นร้อยละของรายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
  • การปรับปรุงกฎหมายภาษีและกฎหมายส่งเสริมการลงทุนในช่วงที่ผ่านมาสอดรับกับนโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศของรัฐบาล สปป.ลาว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะบรรลุอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี และยังเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนา สปป.ลาว สู่การเป็นประเทศเป้าหมายหลักเพื่อการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม) อันจะนำไปสู่การหลุดพ้นจากประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries : LDCs) ในอนาคต

Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2556--


แท็ก อาเซียน   ลาว  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ