ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการคลังราว 9% ต่อ GDP และหนี้สาธารณะมากถึง 230% ต่อ GDP ถือเป็นระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความพยายามที่จะหลุดพ้นจากยุค Lost Decade และการฟื้นฟูประเทศจากภัยพิบัติสินามิที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางการคลังที่เร่งตัวขึ้นจากนโยบายข้างต้น ทำให้หลายฝายเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับฐานะทางการคลังของญี่ปุนในระยะยาว ซึ่งจะมีผลต่ออันดับเครดิตและต้นทุนการกู้ยืม ของญี่ปุนในอนาคต อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในปจจัยสำคัญที่นักลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนหรือทำธุรกิจกับประเทศใด ประเทศหนึ่ง ข้อกังวลดังกล่าว ทำให้รัฐบาลญี่ปุนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการคลังควบคู่กับการแก้ปญหาเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ มากขึ้น เห็นได้จากการประกาศจะขึ้นภาษีการขาย (Sales tax) จาก 5% เป็น 8% ในเดือนเมษายน 2557 และจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 10% ในเดือนตุลาคม 2558 ปัจจัยนี้จะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 60% ของ GDP ชะลอตัวลงและอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีทีท่าดีขึ้นต้องสะดุดลงอย่างที่เคยเกิดขึ้นในเดือนเมษายนปี 2540 ซึ่งญี่ปุ่นมีมาตรการเพิ่มภาษีการบริโภคเป็นครั้งแรกจาก 3% เป็น 5% ซึ่งส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสดังกล่าวหดตัวถึง 13% และทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่น 2 ปีหลังจากนั้นหดตัว 2.0% และ 0.2% ตามลำดับ
นอกจากนี้ การที่ญี่ปุ่นได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2563 ทำให้ญี่ปุ่นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ในการสร้างสนามกีฬาและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งหากขาดการบริหารจัดการที่ดีในการใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างภายหลังเสร็จสิ้นการแข่งขัน อาจเป็นชนวนที่จะนำไปสู่วิกฤตหนี้สาธารณะเช่นที่เคยเกิดกับกรีซมาแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น การที่ญี่ปุนก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ด้วยสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกถึงราว 24% ของประชากรทั้งประเทศในปัจจุบัน ทำให้ในอนาคตญี่ปุ่นจะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการในการดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นมากและจะเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงทางการคลังของญี่ปุ่นเร่งตัวขึ้น
อย่างไรก็ตาม คาดว่าปัญหาทางการคลังของญี่ปุ่นในระยะ 1-2 ปีข้างหน้าจะไม่ถึงกับกดดันให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ส่งสัญญาณ ฟื้นตัวต้องประสบกับภาวะ Hard Landing เนื่องจากหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นหนี้ในประเทศ ประกอบกับรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะออกนโยบายผ่อนคลายทางเศรษฐกิจอื่นๆ มาชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการขึ้นภาษีการขาย อาทิ การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อกระตุ้นการลงทุน อีกทั้งการที่รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่นยืนยันจะใช้มาตรการ QE จนกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะบรรลุเป้าหมายที่ 2% ประเด็นดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของญี่ปุนยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป ซึ่งจะหนุนให้อุปสงค์ในประเทศไม่หดตัวรุนแรงนัก แม้ความเสี่ยงทางการคลังของญี่ปุนในระยะสั้นจะยังไม่รุนแรงถึงขั้นเกิดเป็นวิกฤตเหมือนเช่นในยุโรป และรัฐบาลญี่ปุน ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องตัดลดรายจ่ายภาครัฐอย่างเช่นในสหรัฐฯ แต่ปัจจัยดังกล่าวถือเป็นเรื่องสำคัญที่ ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นอกเหนือจากทิศทางค่าเงินเยนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น เพื่อที่จะได้วางแผนการค้าการลงทุนและเตรียมเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างทันท่วงที
Disclaimer : คอลัมน์นี้เผยแพร่เพื่อให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจมหภาค เศรษฐกิจต่างประเทศ รวมถึงภาวะธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--