Big Change ของการส่งออกไทยในปี 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday January 29, 2014 15:44 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

สวัสดีปีใหม่ผู้อ่านทุกท่าน ในปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อย่างมากมาย ไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงการค้าระหว่างประเทศ สำหรับปี 2557 จะเป็นอีกปีหนึ่งที่น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างต่อการส่งออกของไทย ผู้เขียนขอแบ่งประเด็นเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านตลาด และด้านสินค้า ในประเด็นด้านตลาดที่

สำคัญและควรจับตามอง ได้แก่ การเติบโตของตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม) ซึ่งขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 10 ปี จากสัดส่วนเพียง 3% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทยในปี 2545 ล่าสุดมีสัดส่วนถึง 8% ในปี 2556 ด้วยปจจัยเกื้อหนุนสำคัญจากการที่ประเทศเหล่านี้เปิดรับการค้าการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตามมาด้วยการเติบโตของภาคธุรกิจและกำลัง

ซื้อของคนในประเทศ รวมถึงรสนิยมที่ชื่นชอบสินค้าไทย ตลอดจนที่ตั้งที่อยู่ติดกันกับไทย ทำให้สินค้าไทยเป็นที่นิยมอย่างมากในตลาด CLMV ปี 2557 จึงอาจเป็นปีแรกที่การส่งออกไปตลาด CLMV มีสัดส่วนแซงหน้าตลาดยุโรปที่ยังเผชิญปญหาหนี้สาธารณะอยู่ และจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นในปี 2558 ซึ่งเป็นปีแรกที่ภาษีนำเข้าในกลุ่ม CLMV ลดเหลือ 0% ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นอกจากนี้ รูปแบบการค้ากับกลุ่ม CLMV ส่วนใหญ่เป็นการค้าหรือการส่งออกผ่านชายแดน จึงเอื้อให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างระบบขนส่งต่างๆ ตลอดจนธุรกิจขนส่งสินค้าบริเวณชายแดนด้วย

ประเด็นที่สองในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสินค้าส่งออก ผู้เขียนขอแยกประเด็นย่อยตามสินค้าส่งออกสำคัญ ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการผลิตอุปกรณ์อ่านและบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จากเดิมที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ใช้ Ha Disk Dive (HDD) แต่ปจจุบันหันมาใช้ Sli State Dive (SSD) มากขึ้น โดยเฉพาะในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา อาทิ Smat Phe Tablet และ Cmpute Ntebk โดยคาดว่าสัดส่วนการผลิต SSD ต่อ HDD จะเพิ่มขึ้นเป็น 14% ในปี 2557 และ 21% ในปี 2559 แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ SSD ก้าวขึ้นมาทดแทน HDD เร็วกว่าที่คาดไว้ และอาจกระทบต่อการผลิตและส่งออก HDD ที่ไทยเป็นผู้ส่งออกสำคัญของโลก
  • Ec-Ca ก้าวขึ้นมาเป็น Puct Champi ของการส่งออกยานยนต์ไทย ต่อจากรถปิกอัพขนาดบรรทุก 1 ตัน โดยนับจากปี 2553 ซึ่ง Ec-Ca เริ่มผลิตในไทยเป็นปีแรก จนถึงปจจุบันปริมาณผลิต Ec-Ca เพิ่มขึ้นสูงเกิน 100% ต่อปี ภายใต้แผนส่งเสริมการลงทุนผลิต Ec-Ca รุ่นที่ 1 และล่าสุดเปิดรับรุ่นที่ 2 สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2557 ซึ่งจะยิ่งทำให้ปริมาณผลิต Ec-Ca มากขึ้นไปอีก
  • การขยายฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ซึ่งมีต้นทุนแรงงานต่ำกว่าไทยและยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นตลาดนำเข้าเครื่องนุ่งห่มสำคัญของโลก ล่าสุดผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะรายใหญ่เกือบทั้งหมดเข้าไปตั้งโรงงานในต่างประเทศซึ่งรวมถึง CLMV แล้ว 26 ราย จำนวน 35 โรงงาน และคาดว่าจะเริ่มเดินการผลิตได้เต็มที่ในปี 2557 คิดเป็นมูลค่าส่งออกไม่ต่ำกว่า 9 พันล้านบาท หรือ 10% ของมูลค่าส่งออกเครื่องนุ่งห่มรวมของไทย และอาจกระทบต่อการส่งออกเครื่องนุ่งห่มรวมของไทย แต่ในขณะเดียวกันคาดว่าจะช่วยกระตุ้นยอดส่งออกวัตถุดิบสิ่งทอต้นน้ำที่เน้นใช้เครื่องจักร อาทิ ผ้าผืน ด้าย ซึ่งกลุ่มประเทศ CLMV ยังขาดแคลนและต้องนำเข้าจากไทยเป็นจำนวนมาก
  • ราคายางพาราอาจไม่อยู่ในระดับสูงเช่นที่เคยเป็น โดยเฉพาะในปี 2554 ที่ราคายางแผ่นดิบ ทำสถิติสูงสุดแตะระดับ 184 บาทต่อกิโลกรัม หลังจากนั้นราคาก็ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แรงกดดันจากปริมาณการผลิตที่สูงกว่าความต้องการใช้ แม้คาดว่าในปี 2557 ราคายางพาราน่าจะกลับมาสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวจากปีก่อน แต่จะไม่สูงขึ้นมากนัก ท่ามกลางผลผลิตจากพื้นที่เพาะปลูกใหม่ที่จะทยอยออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจากกลุ่ม CLMV สถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้มูลค่าส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นได้ไม่มากเช่นกัน ขณะเดียวกันการที่ภาครัฐส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศและการที่ นักลงทุนต่างชาติเข้ามาตั้งฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ยางโดยเฉพาะยางล้อรถยนต์ในประเทศไทย จะทำให้ผลผลิตยางพาราถูกใช้ในภาคอุตสาหกรรมในประเทศมากขึ้น

นอกจากนี้ ในปีหน้าอาจต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและต้นทุน ค่าระวางเรือที่กลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากอยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลาหลายปี ดังนั้น แม้การส่งออกในปี 2557 จะมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น แต่ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ส่งออกโดยตรงและผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทาน ไม่ควรประมาทและควรวางแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างรอบคอบและรัดกุมที่สุด

Disclaimer : คอลัมน์นี้เผยแพร่เพื่อให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจมหภาค เศรษฐกิจต่างประเทศ รวมถึงภาวะธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ