ถนนสู่ AEC: ตลาดอาหารฮาลาลในอินโดนีเซีย...โอกาสรออยู่ข้างหน้า

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday January 30, 2014 15:11 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในเอเชียที่เศรษฐกิจยังขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากตลาดภายในประเทศมีขนาดใหญ่ ด้วยจำนวนประชากรราว 240 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 ของโลก ทำให้อินโดนีเซียเป็นตลาดการค้าที่น่าสนใจ โดยเฉพาะสินค้าอาหารฮาลาล เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ขณะที่สินค้าอาหารของไทยได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล อีกทัง้ ไทยและอินโดนีเซียยังมีข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียนทำให้อินโดนีเซียเป็นตลาดอาหารฮาลาลที่ผู้ส่งออกไทยไม่ควรมองข้าม

ปัจจัยสนับสนุนการขยายตลาดอาหารฮาลาลในอินโดนีเซีย
  • ตลาดอาหารฮาลาลมีขนาดใหญ่ อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก โดยประชากรอินโดนีเซียราว 200 ล้านคน หรือราวร้อยละ 85 ของประชากรทั้งหมด นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 10 ของประชากรมุสลิมโลก ทำให้มีความต้องการบริโภคอาหารฮาลาลจำนวนมาก ขณะที่ผู้ประกอบการในอินโดนีเซียยังผลิตอาหารฮาลาลได้ไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศ ส่งผลให้อินโดนีเซียต้องนำเข้าอาหารฮาลาลจากต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนสูงถึงเกือบร้อยละ 90 ของการนำเข้าอาหารทั้งหมดของอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ในปี 2555 อินโดนีเซียนำเข้าสินค้าอาหารเป็นมูลค่า 15,828 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวร้อยละ 10 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมดของอินโดนีเซีย
  • กำลังซื้อสูงขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย EIU คาดว่ารายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของชาวอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นจาก 3,540 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2555 เป็น 5,590 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2560 ตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเฉลี่ยราวร้อยละ 6 ต่อปีในช่วงปี 2553-2560 ซึ่งรายได้ที่เพิ่มจะทำให้การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นตาม
  • ชาวอินโดนีเซียมีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าอาหารของไทย เนื่องจากมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับเมื่อเทียบกับสินค้าอาหารของประเทศคู่แข่ง อาทิ เวียดนาม และจีน ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ชาวอินโดนีเซียยังนิยมอาหารรสชาติค่อนข้างจัดและใช้เครื่องเทศหลายชนิดซึ่งคล้ายกับอาหารไทย ทำให้อาหารไทยสามารถทำตลาดได้ไม่ยากนัก
  • ได้รับสิทธิประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Ecmic Cmmuity : AEC) ซึ่งจะช่วยลดภาระต้นทุนและอุปสรรคทางการค้าให้แก่ผู้ส่งออกไทยในการส่งสินค้าไปอินโดนีเซีย ปจจุบันอัตราภาษีนำเข้าสินค้าของอินโดนีเซียอยู่ในระดับต่ำ คือ ร้อยละ 0-5 ขณะที่ AEC จะช่วยให้อัตราภาษีนำเข้าทั้งหมดลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2558 ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวสูง (Hihly Sesitive List) 2 รายการ คือ ข้าว ซึ่งจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 25 ลดลงจากเดิมที่ร้อยละ 30 และน้ำตาลทราย ซึ่งจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5-10 ลดลงจากเดิมที่ร้อยละ 30-40
สินค้าอาหารฮาลาลไทยที่มีศักยภาพในการเจาะตลาดอินโดนีเซีย

การที่อินโดนีเซียผลิตสินค้าอาหารฮาลาลได้ไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ขณะที่สินค้าอาหารของไทยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคชาวอินโดนีเซีย จึงเป็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยที่จะเข้าไปขยายตลาดในอินโดนีเซีย โดยสินค้าอาหารของไทยที่มีศักยภาพในการส่งออก มีดังนี้

  • ข้าว น้ำตาล ผักและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง โดยเฉพาะผลไม้ไทยเป็นที่นิยมและได้รับ การยอมรับว่ามีคุณภาพและรสชาติดีมากในตลาดอินโดนีเซีย ดังเห็นได้จากการที่ชาวอินโดนีเซียนิยมเติมคำว่า ฐBakkฑ เพื่อใช้เรียกผลไม้ที่มีคุณภาพดี เช่น ทุเรียนจะเรียกว่า ฐDuia Bakkฑ หรือ มะม่วงจะเรียกว่า ฐMaa Bakkฑ เป็นต้น เช่นเดียวกับทุเรียนและมะม่วงที่นำเข้าจากไทยเพื่อบ่งบอกว่าผลไม้ดังกล่าวมีคุณภาพในระดับเดียวกับผลไม้ที่นำเข้าจากไทย ทั้งนี้ สินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าอาหารฮาลาลตามธรรมชาติ (Natual Halal) ที่ฮาลาลในตัวสินค้าเอง เนื่องจากเป็นสินค้าอาหารที่ไม่มีส่วนผสมของสัตว์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนา จึงไม่จำเป็นต้องติดตราสัญลักษณ์ฮาลาล
  • อาหารพร้อมปรุงและพร้อมรับประทานทั้งแบบแช่แข็ง แปรรูป และบรรจุกระป๋อง อาทิ อาหารทะเลแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไอศกรีม ขนมขบเคี้ยว ผลไม้กระปองและแปรรูปเช่น น้ำผลไม้ ทุเรียนกวน และทุเรียนอบกรอบ เป็นต้น รวมทั้งอาหารพร้อมรับประทานแบบตะวันตก เช่น ขนมปัง พาสตา และสปาเกตตี ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากการที่ชาวอินโดนีเซียเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ขณะที่ปัจจุบันวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียเร่งรีบขึ้นและมีชั่วโมงทำงานต่อวันยาวนานขึ้น ประกอบกับสตรีชาวอินโดนีเซียออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้นทำให้มีเวลาเตรียมอาหารน้อยลง จึงหันมาเลือกซื้ออาหารพร้อมปรุงและอาหารพร้อมรับประทานมากขึ้น ทดแทนการซื้ออาหารสดมาปรุงรับประทานเองที่บ้าน ส่งผลให้อาหารพร้อมปรุงและพร้อมรับประทานเป็นที่ต้องการมากขึ้น
  • อาหารฮาลาลอินทรีย์ (Oaic Halal F) นับเป็นตลาดที่น่าสนใจ เนื่องจากมีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามกระแสการรักสุขภาพ โดยเน้นการเจาะตลาดชาวมุสลิมที่มีรายได้สูงและปานกลางค่อนข้างสูง ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของอินโดนีเซีย
ข้อควรรู้...ก่อนรุกตลาดอาหารฮาลาลอินโดนีเซีย
  • กฎระเบียบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าอาหารฮาลาล การนำเข้าอาหารฮาลาลต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของหน่วยงานอาหารและยาของอินโดนีเซีย (Natial Aecy f Du a F Ctl) หรือ Baa Peawas Obat a Makaa (BPOM) ในภาษาอินโดนีเซีย ที่กำหนดให้สินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่นำเข้าต้องขึ้นทะเบียนอาหารและยา (ML Reistati) เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งผู้ส่งออกสามารถยื่นขอจดเลขทะเบียน ML กับ BPOM และต้องระบุเลขทะเบียนอย่างชัดเจนบนฉลากสินค้าที่จะจำหน่ายในประเทศ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกควรแต่งตั้งให้ผู้นำเข้าหรือผู้แทนจำหน่ายสินค้าในอินโดนีเซีย เป็นตัวแทนยื่นเรื่องจดทะเบียนสินค้ากับ BPOM เนื่องจากการขอ ML Reistati มีกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลานานอย่างน้อย 6 เดือน นอกจากนี้ สินค้าอาหารฮาลาลที่จะวางจำหน่ายในอินโดนีเซียต้องได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์ฮาลาลจากสภาอิสลามแห่งชาติอินโดนีเซีย (Majelis Ulama Iesia : MUI) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับรองฮาลาลของอินโดนีเซีย
  • ชาวมุสลิมในอินโดนีเซียให้ความสำคัญกับตราสัญลักษณ์ฮาลาลเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้มั่นใจว่าอาหารนั้นไม่มีส่วนผสมหรือสิ่งต้องห้ามที่ขัดต่อหลักศาสนา (Haam Mateial) ผู้ส่งออกไทยจึงควรติดตราสัญลักษณ์ฮาลาลให้เห็นอย่างชัดเจนบนผลิตภัณฑ์อาหาร นอกจากนี้ สินค้าอาหารต้องติดฉลากระบุรายละเอียดต่างๆ ตามที่กำหนด เช่น ตราสินค้า ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต ประเทศผู้ผลิต และส่วนผสมของวัตถุดิบ วันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุ นอกจากนี้ หากมีส่วนประกอบที่ได้จากการตัดแต่งพันธุกรรม (Geetically Mifie Oaisms : GMOs) ต้องระบุไว้บนฉลากด้วย
  • ชาวอินโดนีเซียนิยมจับจ่ายสินค้าอาหารในซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภควัยทำงาน (อายุระหว่าง 15-64 ปี) ซึ่งมีจำนวนเกือบร้อยละ 70 ของประชากรอินโดนีเซียทั้งหมด ทำให้ช่องทางดังกล่าวเป็นช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าอาหารที่สำคัญมากขึ้น ทั้งนี้ การนำสินค้าวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ตในอินโดนีเซีย ผู้ส่งออกไทยควรติดต่อผ่านผู้นำเข้าหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้าในอินโดนีเซีย เนื่องจากซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ไม่นิยมนำเข้าโดยตรงจากผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกในต่างประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงการแบกรับภาระต้นทุนและปญหาที่เกิดจากการนำเข้าเองโดยตรง

แม้ว่าตลาดอาหารฮาลาลในอินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีศักยภาพ แต่ยังมีอุปสรรคที่ผู้ส่งออกพึงระวังและควรให้ความสนใจ โดยเฉพาะการดำเนินมาตรการตรวจสอบสินค้านำเข้าอย่างเข้มงวดของทางการอินโดนีเซีย ทั้งมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และการใช้มาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้าบางรายการ เช่น น้ำตาลทราย เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยที่สนใจเข้าไปเจาะตลาดอาหารฮาลาลในอินโดนีเซียควรศึกษาข้อมูลตลาด และกฎระเบียบด้านการนำเข้ารายสินค้า ซึ่งในเบื้องต้นสามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศของไทย (http://www.ft.mc..th/) นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรเดินทางไปสำรวจตลาดในเมืองเศรษฐกิจสำคัญ เช่น กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย รวมทั้งหาโอกาสเข้าร่วมงาน Iesia Halal Exp (INDHEX) งานแสดงสินค้าฮาลาลระดับนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตา เป็นประจำทุกปี เพื่อทราบถึงลักษณะและศักยภาพของตลาดเพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการสร้างสายสัมพันธ์ทางธุรกิจและการจับคู่ทางการค้าได้อีกทางหนึ่งด้วย

Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการทีมี่บุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2557--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ