ปัจจุบันธุรกิจโลจิสติกส์โดยเฉพาะการกระจายสินค้าในยุโรปเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยนอกจากฝรั่งเศสเยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบโลจิสติกส์ขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าที่สำคัญของยุโรปแล้ว เบลเยียมก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์จนก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และการขนถ่ายสินค้าที่มีศักยภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป โดยมีปัจจัย
เกื้อหนุนที่สำคัญ ดังนี้
- ความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ เบลเยียมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรปมีอาณาเขตติดกับฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก อีกทั้งมีทางออกสู่ทะเลทางตอนเหนือของประเทศ จึงสามารถติดต่อกับประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรปได้อย่างกว้างขวางโดยใช้การเดินเรือ ซึ่งครอบคลุมไปจนถึงกลุ่มสแกนดิเนเวียและยุโรปตะวันออก ด้วยจุดเด่นด้านภูมิศาสตร์ดังกล่าวทำให้เบลเยียมกลายเป็น
ศูนย์กลางด้านการค้าและการลงทุน และประตูสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกสู่ยุโรปนอกจากนี้ เบลเยียมยังสามารถเชื่อมโยงการขนถ่ายสินค้าสู่เมืองใหญ่หลายเมืองในยุโรปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัทโลจิสติกส์ข้ามชาติขนาดใหญ่หลายแห่งเลือกเบลเยียมเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการในทวีปยุโรป
- โครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายคมนาคมครบวงจร ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งมีความสะดวกและทันสมัย ที่สำคัญ ได้แก่
- ถนน กว่าร้อยละ 80 ของสินค้าในยุโรปขนส่งโดยใช้ถนนเป็นหลัก ขณะที่เบลเยียมมีจุดเด่นที่ระยะทางขนส่งทางถนนที่เชื่อมโยงกับเมืองสำคัญต่าง ๆ ในยุโรปค่อนข้างสั้น อาทิ ถนนที่เชื่อมต่อไปยังกรุงปารีส(ฝรั่งเศส) กรุงอัมสเตอร์ดัมและรอตเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์) และเมืองแฟรงก์เฟิร์ต (เยอรมนี) เป็นต้น
- ทางรถไฟ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการขนส่งสินค้าในยุโรป เบลเยียมมีบริการขนส่งสินค้าทางรถไฟเรียกว่า Eurail Cargo ซึ่งเป็นระบบที่มีความทันสมัย รวดเร็ว และตรงต่อเวลา
- ท่าเรือ เบลเยียมมีท่าเรือขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือ Antwerp ท่าเรือ Ghent ท่าเรือ Ostend และท่าเรือ Zeebrugge ทั้งนี้ ท่าเรือ Antwerp ถือเป็นท่าเรือขนาดใหญ่อันดับ 2 ของยุโรป และอันดับ 4 ของโลก มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าราว 250 ล้านตันต่อปี และมีจุดหมายปลายทางการเดินเรือกว่า 800 แห่งทั่วโลก จุดแข็งของท่าเรือ Antwerp คือ มีระบบการจัดการโลจิสติกส์แบบครบวงจร ซึ่งสามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าได้หลายประเภท
- ท่าอากาศยาน เบลเยียมมีท่าอากาศยานขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติ Brussels และท่าอากาศยาน Ostend ซึ่งให้บริการขนส่งทางอากาศทั้งผู้โดยสารและสินค้า
- เทคโนโลยีทันสมัยและแรงงานมีคุณภาพ เบลเยียมมีเทคโนโลยีด้านการขนส่งสินค้าที่ทันสมัยและแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีคุณภาพและความชำนาญสูง อีกทั้งรัฐบาลเบลเยียมให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในการพัฒนาคุณภาพแรงงานในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศ รวมถึงโลจิสติกส์
- อัตราค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ต่ำและสามารถเข้าถึงได้ง่าย เบลเยียมมีข้อได้เปรียบที่มีอัตราค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ค่อนข้างต่ำและสรรหาได้ง่ายเมื่อเทียบกับหลายประเทศในยุโรป ทำให้เบลเยียมเป็นประเทศที่น่าดึงดูดเป็นอันดับต้น ๆ ของยุโรปในการตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้า
จากความได้เปรียบในด้านต่าง ๆ ของเบลเยียม รวมทั้งการมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ส่งผลให้เบลเยียมสามารถพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ที่ประสบความสำเร็จอีกแห่งหนึ่งของยุโรปที่สามารถเชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆ ของยุโรปเข้าด้วยกัน และขยายเครือข่ายที่ครอบคลุมไปทั่วโลกรวมทั้งไทย ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยที่สนใจเจาะตลาดยุโรปควรใช้ประโยชน์จากระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพของเบลเยียม ซึ่งมีศักยภาพในการเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางการกระจายสินค้าไทยสู่ยุโรป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2549--
-พห-
เกื้อหนุนที่สำคัญ ดังนี้
- ความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ เบลเยียมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรปมีอาณาเขตติดกับฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก อีกทั้งมีทางออกสู่ทะเลทางตอนเหนือของประเทศ จึงสามารถติดต่อกับประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรปได้อย่างกว้างขวางโดยใช้การเดินเรือ ซึ่งครอบคลุมไปจนถึงกลุ่มสแกนดิเนเวียและยุโรปตะวันออก ด้วยจุดเด่นด้านภูมิศาสตร์ดังกล่าวทำให้เบลเยียมกลายเป็น
ศูนย์กลางด้านการค้าและการลงทุน และประตูสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกสู่ยุโรปนอกจากนี้ เบลเยียมยังสามารถเชื่อมโยงการขนถ่ายสินค้าสู่เมืองใหญ่หลายเมืองในยุโรปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัทโลจิสติกส์ข้ามชาติขนาดใหญ่หลายแห่งเลือกเบลเยียมเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการในทวีปยุโรป
- โครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายคมนาคมครบวงจร ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งมีความสะดวกและทันสมัย ที่สำคัญ ได้แก่
- ถนน กว่าร้อยละ 80 ของสินค้าในยุโรปขนส่งโดยใช้ถนนเป็นหลัก ขณะที่เบลเยียมมีจุดเด่นที่ระยะทางขนส่งทางถนนที่เชื่อมโยงกับเมืองสำคัญต่าง ๆ ในยุโรปค่อนข้างสั้น อาทิ ถนนที่เชื่อมต่อไปยังกรุงปารีส(ฝรั่งเศส) กรุงอัมสเตอร์ดัมและรอตเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์) และเมืองแฟรงก์เฟิร์ต (เยอรมนี) เป็นต้น
- ทางรถไฟ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการขนส่งสินค้าในยุโรป เบลเยียมมีบริการขนส่งสินค้าทางรถไฟเรียกว่า Eurail Cargo ซึ่งเป็นระบบที่มีความทันสมัย รวดเร็ว และตรงต่อเวลา
- ท่าเรือ เบลเยียมมีท่าเรือขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือ Antwerp ท่าเรือ Ghent ท่าเรือ Ostend และท่าเรือ Zeebrugge ทั้งนี้ ท่าเรือ Antwerp ถือเป็นท่าเรือขนาดใหญ่อันดับ 2 ของยุโรป และอันดับ 4 ของโลก มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าราว 250 ล้านตันต่อปี และมีจุดหมายปลายทางการเดินเรือกว่า 800 แห่งทั่วโลก จุดแข็งของท่าเรือ Antwerp คือ มีระบบการจัดการโลจิสติกส์แบบครบวงจร ซึ่งสามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าได้หลายประเภท
- ท่าอากาศยาน เบลเยียมมีท่าอากาศยานขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติ Brussels และท่าอากาศยาน Ostend ซึ่งให้บริการขนส่งทางอากาศทั้งผู้โดยสารและสินค้า
- เทคโนโลยีทันสมัยและแรงงานมีคุณภาพ เบลเยียมมีเทคโนโลยีด้านการขนส่งสินค้าที่ทันสมัยและแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีคุณภาพและความชำนาญสูง อีกทั้งรัฐบาลเบลเยียมให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในการพัฒนาคุณภาพแรงงานในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศ รวมถึงโลจิสติกส์
- อัตราค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ต่ำและสามารถเข้าถึงได้ง่าย เบลเยียมมีข้อได้เปรียบที่มีอัตราค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ค่อนข้างต่ำและสรรหาได้ง่ายเมื่อเทียบกับหลายประเทศในยุโรป ทำให้เบลเยียมเป็นประเทศที่น่าดึงดูดเป็นอันดับต้น ๆ ของยุโรปในการตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้า
จากความได้เปรียบในด้านต่าง ๆ ของเบลเยียม รวมทั้งการมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ส่งผลให้เบลเยียมสามารถพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ที่ประสบความสำเร็จอีกแห่งหนึ่งของยุโรปที่สามารถเชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆ ของยุโรปเข้าด้วยกัน และขยายเครือข่ายที่ครอบคลุมไปทั่วโลกรวมทั้งไทย ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยที่สนใจเจาะตลาดยุโรปควรใช้ประโยชน์จากระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพของเบลเยียม ซึ่งมีศักยภาพในการเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางการกระจายสินค้าไทยสู่ยุโรป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2549--
-พห-