ในรอบปีที่ผ่านมา จีนต้องเผชิญกับแรงกดดันจากหลายประเทศที่ปฏิเสธการนำเข้าสินค้าของจีน เนื่องจากเหตุผลด้านคุณภาพและความปลอดภัยเป็นสำคัญ นับตั้งแต่อาหารสัตว์เลี้ยง ยาสีฟัน ของเด็กเล่น เครื่องนุ่งห่มเครื่องเขียน ยางรถยนต์ ไปจนถึงสินค้าเกษตรและอาหารอีกหลายชนิด ยิ่งไปกว่านั้น กระแสข่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวที่แพร่สะพัดตามหน้าหนังสือพิมพ์และอินเตอร์เน็ตเกือบทุกวัน ทำให้ผู้บริโภคทั่วโลกเกิดความหวั่นวิตกและไม่มั่นใจในมาตรฐานของสินค้าจากแดนมังกรซึ่งเคยครองใจคนส่วนใหญ่ด้วยราคาจำหน่ายที่ถูกกว่าสินค้าจากประเทศอื่น
สินค้าจีนด้อยคุณภาพ...โอกาสของสินค้าไทย ?
แม้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวน่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าไทยไปประเทศต่าง ๆ ที่จีนเคยครองตลาดอยู่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าจีนกลับนำไปสู่การดำเนินมาตรการทางการค้าที่เข้มงวดขึ้นของคู่ค้าสำคัญของจีน โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาซึ่งเตรียมปรับปรุงระบบนำเข้าสินค้า โดยกำหนดให้มีการตรวจสอบย้อนกลับที่เชื่อมโยงตั้งแต่โรงงานผลิตจนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งพลอยทำให้
ผู้ประกอบการไทยมีต้นทุนดำเนินการสูงขึ้นตาม ขณะเดียวกันอาจส่งผลให้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานของจีนไหลทะลักกลับเข้ามาในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทย (ปัจจุบันพบว่า ผักผลไม้นำเข้าจากจีนบางส่วนมีสารก่อมะเร็ง และปนเปื้อนสารตะกั่ว/สารปรอทในระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค)
การกอบกู้วิกฤตศรัทธาสินค้า “Made in China”
รัฐบาลจีนมิได้นิ่งนอนใจกับปัญหาดังกล่าวและพยายามเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกที่มีต่อสินค้าจีนให้กลับคืนมา ด้วยการประกาศ “Special Battle” หรือโครงการรณรงค์ต่อต้านสินค้าด้อยคุณภาพ เพื่อกอบกู้ชื่อเสียงของสินค้าที่ผลิตในจีน ระยะเวลาดำเนินการ 4 เดือน (กันยายน-ธันวาคม 2550) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าจีนและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ครอบคลุมสินค้าเป้าหมาย 8 กลุ่ม อาทิ สินค้าเกษตรอาหารแปรรูป สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าส่งออกและสินค้านำเข้า เป็นต้น
ทั้งนี้ ภายใต้โครงการดังกล่าว รัฐบาลจีนกำหนดให้มีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสินค้าอย่างเข้มงวดในทุกขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค ครอบคลุมตั้งแต่ระดับฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชโรงงานผลิตสินค้า ไปจนถึงร้านขายของชำ (ช่องทางจำหน่ายสินค้าที่ยังได้รับความนิยมมากในจีน โดยเฉพาะในเขตชนบทที่ร้านค้าสมัยใหม่ยังเข้าไม่ถึง) ร้านอาหาร ฯลฯ หากพบสินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
สินค้านั้นจะถูกส่งคืนผู้ผลิตหรือนำไปทำลาย ขณะที่ผู้ผลิตอาจถูกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ พร้อมกันนี้ รัฐบาลจีน สินค้าจีนด้อยคุณภาพ...โอกาสของสินค้าไทย ? การกอบกู้วิกฤตศรัทธาสินค้า “Made in China” ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับดูแลและติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพและความปลอดภัย ของสินค้าจีน โดยมีมาดามอู๋อี๋ รองนายกรัฐมนตรีของจีน เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ
ผลของการต่อสู้เพื่อคุณภาพกับก้าวต่อไปของสินค้าจีน
หลังจากเริ่มดำเนินโครงการรณรงค์ต่อต้านสินค้าด้อยคุณภาพฯ ได้เพียง 1 เดือน รัฐบาลจีนได้ยึดใบอนุญาตประกอบธุรกิจของบริษัทผลิตสินค้าอาหารกว่า 560 แห่งทั่วประเทศ และข้อมูลล่าสุด (ในราวปลายเดือนตุลาคม2550) จากการตรวจสอบตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรในเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่กว่า 650 แห่งทั่วประเทศ พบว่าร้อยละ 94 ของผักที่จำหน่ายทั้งหมด และร้อยละ 95 ของสินค้าประมงที่จำหน่ายทั้งหมด มีปริมาณสารตกค้างต่ำกว่าระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ขณะที่สหภาพยุโรปได้ออกมาแสดงความชื่นชมว่า จีนเริ่มมีพัฒนาการในการผลิตของเล่นที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจีนประสบความสำเร็จในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถกอบกู้ชื่อเสียงของสินค้าจีนให้กลับมาผงาดบนเวทีการค้าโลกได้อย่างสวยงามอีกครั้ง เมื่อประกอบกับความพยายามของจีนในการพัฒนาการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองตลาดในประเทศและส่งออกไปทั่วโลก ทำให้คาดว่าสินค้าจีนจะสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดสินค้าหลายประเภทไว้ได้อย่างเหนียวแน่นต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2549--
-พห-
สินค้าจีนด้อยคุณภาพ...โอกาสของสินค้าไทย ?
แม้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวน่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าไทยไปประเทศต่าง ๆ ที่จีนเคยครองตลาดอยู่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าจีนกลับนำไปสู่การดำเนินมาตรการทางการค้าที่เข้มงวดขึ้นของคู่ค้าสำคัญของจีน โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาซึ่งเตรียมปรับปรุงระบบนำเข้าสินค้า โดยกำหนดให้มีการตรวจสอบย้อนกลับที่เชื่อมโยงตั้งแต่โรงงานผลิตจนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งพลอยทำให้
ผู้ประกอบการไทยมีต้นทุนดำเนินการสูงขึ้นตาม ขณะเดียวกันอาจส่งผลให้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานของจีนไหลทะลักกลับเข้ามาในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทย (ปัจจุบันพบว่า ผักผลไม้นำเข้าจากจีนบางส่วนมีสารก่อมะเร็ง และปนเปื้อนสารตะกั่ว/สารปรอทในระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค)
การกอบกู้วิกฤตศรัทธาสินค้า “Made in China”
รัฐบาลจีนมิได้นิ่งนอนใจกับปัญหาดังกล่าวและพยายามเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกที่มีต่อสินค้าจีนให้กลับคืนมา ด้วยการประกาศ “Special Battle” หรือโครงการรณรงค์ต่อต้านสินค้าด้อยคุณภาพ เพื่อกอบกู้ชื่อเสียงของสินค้าที่ผลิตในจีน ระยะเวลาดำเนินการ 4 เดือน (กันยายน-ธันวาคม 2550) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าจีนและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ครอบคลุมสินค้าเป้าหมาย 8 กลุ่ม อาทิ สินค้าเกษตรอาหารแปรรูป สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าส่งออกและสินค้านำเข้า เป็นต้น
ทั้งนี้ ภายใต้โครงการดังกล่าว รัฐบาลจีนกำหนดให้มีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสินค้าอย่างเข้มงวดในทุกขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค ครอบคลุมตั้งแต่ระดับฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชโรงงานผลิตสินค้า ไปจนถึงร้านขายของชำ (ช่องทางจำหน่ายสินค้าที่ยังได้รับความนิยมมากในจีน โดยเฉพาะในเขตชนบทที่ร้านค้าสมัยใหม่ยังเข้าไม่ถึง) ร้านอาหาร ฯลฯ หากพบสินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
สินค้านั้นจะถูกส่งคืนผู้ผลิตหรือนำไปทำลาย ขณะที่ผู้ผลิตอาจถูกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ พร้อมกันนี้ รัฐบาลจีน สินค้าจีนด้อยคุณภาพ...โอกาสของสินค้าไทย ? การกอบกู้วิกฤตศรัทธาสินค้า “Made in China” ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับดูแลและติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพและความปลอดภัย ของสินค้าจีน โดยมีมาดามอู๋อี๋ รองนายกรัฐมนตรีของจีน เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ
ผลของการต่อสู้เพื่อคุณภาพกับก้าวต่อไปของสินค้าจีน
หลังจากเริ่มดำเนินโครงการรณรงค์ต่อต้านสินค้าด้อยคุณภาพฯ ได้เพียง 1 เดือน รัฐบาลจีนได้ยึดใบอนุญาตประกอบธุรกิจของบริษัทผลิตสินค้าอาหารกว่า 560 แห่งทั่วประเทศ และข้อมูลล่าสุด (ในราวปลายเดือนตุลาคม2550) จากการตรวจสอบตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรในเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่กว่า 650 แห่งทั่วประเทศ พบว่าร้อยละ 94 ของผักที่จำหน่ายทั้งหมด และร้อยละ 95 ของสินค้าประมงที่จำหน่ายทั้งหมด มีปริมาณสารตกค้างต่ำกว่าระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ขณะที่สหภาพยุโรปได้ออกมาแสดงความชื่นชมว่า จีนเริ่มมีพัฒนาการในการผลิตของเล่นที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจีนประสบความสำเร็จในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถกอบกู้ชื่อเสียงของสินค้าจีนให้กลับมาผงาดบนเวทีการค้าโลกได้อย่างสวยงามอีกครั้ง เมื่อประกอบกับความพยายามของจีนในการพัฒนาการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองตลาดในประเทศและส่งออกไปทั่วโลก ทำให้คาดว่าสินค้าจีนจะสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดสินค้าหลายประเภทไว้ได้อย่างเหนียวแน่นต่อไป
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2549--
-พห-