"ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (North Eastern Region)” ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ รวม 8 รัฐ (จากทั้งประเทศ 28 รัฐ) ได้แก่ อรุณาจัลประเทศ อัสสัม มณีปุระ เมฆาลัย มิโซรัม นาคาแลนด์ สิกขิมและตริปุระ มีพื้นที่รวม 262,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 8% ของพื้นที่ทั้งประเทศ และมีประชากรรวมกันกว่า 40 ล้านคน หรือเกือบ 4% ของประชากรทั้งประเทศ ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการก่อเหตุความไม่สงบโดยชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มในบริเวณนี้อยู่เนือง ๆ ทำให้ไม่สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์มาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
รัฐบาลอินเดียได้พยายามแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาสันติภาพกับชนกลุ่มน้อยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เหตุรุนแรงบรรเทาลง พร้อมกันนี้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและยังเป็นส่วนหนึ่งตามนโยบาย “มองตะวันออก (Look East)” โดยได้จัดตั้งกระทรวงการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Ministry of Development of North Eastern Region) ขึ้นเมื่อปี 2544 เพื่อดูแลการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่บริเวณนี้โดยเฉพาะ และได้ชักจูงให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนด้วยการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนอย่างเต็มที่
ปัจจัยเกื้อหนุนด้านการลงทุน
- ทำเลที่ตั้งเหมาะสม พื้นที่ภาคอีสานของอินเดียมีพรมแดนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศโดยพื้นที่ตอนเหนือติดกับจีนและภูฏาน พื้นที่ทางตะวันตกติดกับบังกลาเทศ พื้นที่ทางตะวันออกติดกับพม่า นอกจากนี้ยังใกล้กับ Kolkata Port ในรัฐเบงกอลตะวันตก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญของอินเดีย จึงเอื้อต่อการกระจายสินค้าต่อไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่อยู่โดยรอบเหล่านี้
- ทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิด พื้นที่ภาคอีสานของอินเดียมีแม่น้ำพรหมบุตรซึ่งเป็นแม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไหลผ่าน ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ โดยมีป่าไม้มากถึง 26% ของพื้นที่ป่าไม้ในอินเดีย และยังสามารถเพาะปลูกพืชผลได้นานาชนิด นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรแร่ธาตุ โดยเฉพาะถ่านหิน หินปูนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีกด้วย
- สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน เมื่อเดือนมีนาคม 2550 รัฐบาลอินเดียได้ประกาศแผนส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคอีสานของอินเดียฉบับใหม่ ซึ่งมีการให้สิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจแก่นักลงทุนมากมายในทุกด้าน เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีสรรพสามิต อุดหนุนเงินลงทุน 30% ของมูลค่าการลงทุนในโรงงานและเครื่องจักร อุดหนุนดอกเบี้ยเงินกู้ 3% สำหรับเงินกู้ส่วนที่เป็นทุนหมุนเวียน อุดหนุนค่าขนส่งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป 90% ของต้นทุนการขนส่งระหว่างสถานประกอบการและท่าเรือ/สถานีรถไฟ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังให้สิทธิประโยชน์บางประการแก่ธุรกิจบริการบางประเภท เช่น โรงแรมระดับ 3 ดาวขึ้นไป ธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ ธุรกิจพลังงาน เป็นต้น ทั้งนี้ แผนส่งเสริมการลงทุนฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 10 ปีนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550/51 (เริ่มต้นวันที่ 1 เมษายน 2550) เป็นต้นไป
ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ
- การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน รัฐบาลอินเดียอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในภาคอีสานให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นถนน ท่าเรือ เขื่อน ฯลฯ โดยได้จัดสรรงบประมาณกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อใช้ในการดำเนินการดังกล่าว
- เกษตรแปรรูป ประชากรในภาคอีสานกว่า 60% มีรายได้มาจากภาคเกษตรกรรม โดยมีการทำปศุสัตว์ประมง และเพาะปลูกพืชหลายชนิด อาทิ ข้าว ชา ไม้ไผ่ ยางพารา อ้อย ปอกระเจา ผลไม้เมืองร้อน และไม้ดอก ฯลฯ จึงเหมาะต่อการเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปที่ผู้ประกอบการไทยมีความชำนาญ
- ธุรกิจพลังงาน พื้นที่ภาคอีสานเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของอินเดีย โดยเฉพาะในรัฐอัสสัมที่มีปริมาณน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองกว่า 1.3 พันล้านตัน และ 156 พันล้านลูกบาศก์เมตรตามลำดับ นอกจากนี้ ยังอุดมด้วยถ่านหิน รวมทั้งมีศักยภาพในการเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำอีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2549--
-พห-
รัฐบาลอินเดียได้พยายามแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาสันติภาพกับชนกลุ่มน้อยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เหตุรุนแรงบรรเทาลง พร้อมกันนี้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและยังเป็นส่วนหนึ่งตามนโยบาย “มองตะวันออก (Look East)” โดยได้จัดตั้งกระทรวงการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Ministry of Development of North Eastern Region) ขึ้นเมื่อปี 2544 เพื่อดูแลการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่บริเวณนี้โดยเฉพาะ และได้ชักจูงให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนด้วยการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนอย่างเต็มที่
ปัจจัยเกื้อหนุนด้านการลงทุน
- ทำเลที่ตั้งเหมาะสม พื้นที่ภาคอีสานของอินเดียมีพรมแดนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศโดยพื้นที่ตอนเหนือติดกับจีนและภูฏาน พื้นที่ทางตะวันตกติดกับบังกลาเทศ พื้นที่ทางตะวันออกติดกับพม่า นอกจากนี้ยังใกล้กับ Kolkata Port ในรัฐเบงกอลตะวันตก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญของอินเดีย จึงเอื้อต่อการกระจายสินค้าต่อไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่อยู่โดยรอบเหล่านี้
- ทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิด พื้นที่ภาคอีสานของอินเดียมีแม่น้ำพรหมบุตรซึ่งเป็นแม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไหลผ่าน ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ โดยมีป่าไม้มากถึง 26% ของพื้นที่ป่าไม้ในอินเดีย และยังสามารถเพาะปลูกพืชผลได้นานาชนิด นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรแร่ธาตุ โดยเฉพาะถ่านหิน หินปูนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีกด้วย
- สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน เมื่อเดือนมีนาคม 2550 รัฐบาลอินเดียได้ประกาศแผนส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคอีสานของอินเดียฉบับใหม่ ซึ่งมีการให้สิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจแก่นักลงทุนมากมายในทุกด้าน เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีสรรพสามิต อุดหนุนเงินลงทุน 30% ของมูลค่าการลงทุนในโรงงานและเครื่องจักร อุดหนุนดอกเบี้ยเงินกู้ 3% สำหรับเงินกู้ส่วนที่เป็นทุนหมุนเวียน อุดหนุนค่าขนส่งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป 90% ของต้นทุนการขนส่งระหว่างสถานประกอบการและท่าเรือ/สถานีรถไฟ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังให้สิทธิประโยชน์บางประการแก่ธุรกิจบริการบางประเภท เช่น โรงแรมระดับ 3 ดาวขึ้นไป ธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ ธุรกิจพลังงาน เป็นต้น ทั้งนี้ แผนส่งเสริมการลงทุนฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 10 ปีนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550/51 (เริ่มต้นวันที่ 1 เมษายน 2550) เป็นต้นไป
ธุรกิจไทยที่มีศักยภาพ
- การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน รัฐบาลอินเดียอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในภาคอีสานให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นถนน ท่าเรือ เขื่อน ฯลฯ โดยได้จัดสรรงบประมาณกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อใช้ในการดำเนินการดังกล่าว
- เกษตรแปรรูป ประชากรในภาคอีสานกว่า 60% มีรายได้มาจากภาคเกษตรกรรม โดยมีการทำปศุสัตว์ประมง และเพาะปลูกพืชหลายชนิด อาทิ ข้าว ชา ไม้ไผ่ ยางพารา อ้อย ปอกระเจา ผลไม้เมืองร้อน และไม้ดอก ฯลฯ จึงเหมาะต่อการเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปที่ผู้ประกอบการไทยมีความชำนาญ
- ธุรกิจพลังงาน พื้นที่ภาคอีสานเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของอินเดีย โดยเฉพาะในรัฐอัสสัมที่มีปริมาณน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำรองกว่า 1.3 พันล้านตัน และ 156 พันล้านลูกบาศก์เมตรตามลำดับ นอกจากนี้ ยังอุดมด้วยถ่านหิน รวมทั้งมีศักยภาพในการเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำอีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2549--
-พห-