เปิดประตูสู่ตลาดใหม่: โครงการย้ายเมืองหลวงของแทนซาเนีย...แม่เหล็กดึงดูดการนำเข้าครั้งใหม่

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday September 28, 2018 16:28 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

รู้หรือไม่ ?
  • ในปี 2559 รัฐบาลแทนซาเนียประกาศให้กรุงโดโดมาเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่แทนเมืองดาร์ เอส ซาลาม
  • เมืองดาร์ เอส ซาลาม จะถูกยกระดับให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในฐานะ “ดูไบแห่งแอฟริกาตะวันออก”
  • การย้ายเมืองหลวงจะก่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนใหม่ในแทนซาเนียไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
แทนซาเนีย (Tanzania)

ทวีป : แอฟริกา (บริเวณตะวันออก)

เมืองสำคัญ : โดโดมา (เมืองหลวง) ดาร์ เอส ซาลาม (เมืองหลวงเก่า/เมืองท่าและเมืองเศรษฐกิจสำคัญ)

พื้นที่ : 947,300 ตร.กม.

ประชากร : 51 ล้านคน (ปี 2561)

ภาษาราชการ : อังกฤษ, สวาฮีลี

สกุลเงิน : ชิลลิงแทนซาเนีย (TZS) 1 USD = 2,287 TZS (ณ ส.ค. 2561)

ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ปี 2560

  • GDP : 51,725 Mil.USD
  • มูลค่านำเข้ารวมของแทนซาเนีย : 8,831 Mil.USD
  • มูลค่าส่งออกไทยไปแทนซาเนีย : 108 Mil.USD
  • สินค้าส่งออกสำคัญไทยไปแทนซาเนีย : ข้าว เหล็กและผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย เครื่องสำอาง
  • สถานเอกอัครราชทูต (สอท.) และสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของไทย (สคต.) : ไม่มี

(สอท. และ สคต. ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา เป็นผู้ดูแล)

ทำไมแทนซาเนียต้องย้ายเมืองหลวง?

ปี 2561

“สถาปนาเมืองหลวงใหม่”

ประธานาธิบดี Mwalimu Julius Kambarage Nyerere เป็นผู้ริเริ่มการย้ายเมืองหลวงจากเมืองดาร์ เอส ซาลามมายังกรุงโดโดมา ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ข้อ

“Strategic Location”

กรุงโดโดมาตั้งอยู่ใจกลางประเทศ ทำให้รัฐบาลสามารถดูแล ควบคุม และเข้าถึงเมืองต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง

“Government Center”

ปรับปรุงการบริหารจัดการให้ชัดเจนโดยแยกเมืองราชการและเมืองเศรษฐกิจออกจากกัน

“Environmental Solutions”

ลดปัญหาความหนาแน่นของประชากรและการจราจร รวมถึงปัญหามลภาวะในเมืองดาร์ เอส ซาลาม

ข้อสังเกต: "โครงการย้ายเมืองหลวงใช้เวลานานกว่า 40 ปี"

งบประมาณไม่เพียงพอ ค่าใช้จ่ายสำหรับการย้ายเมืองหลวงสูงถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ความไม่พร้อมของระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของกรุงโดโดมา

ปี 2559

“ประกาศย้ายเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ”

ประธานาธิบดี John Magufuli ของแทนซาเนียคนปัจจุบัน ประกาศสานต่อการย้ายเมืองหลวงอีกครั้ง หลังจากได้รับเงินสนับสนุนจากประเทศพันธมิตร เช่น จีน

ปี 2563

คาดว่ากระบวนการย้ายเมืองหลวงและหน่วยงานราชการต่างๆ มายังกรุงโดโดมาจะเสร็จสมบูรณ์

BUSINESS OPPORTUNITIES : กรุงโดโดมา “เมืองหลวงแห่งใหม่ของแทนซาเนีย”

การย้ายเมืองหลวงแห่งใหม่จะก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกมาก ผ่านโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ตลอดจนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภครอบเมือง และคาดว่าโครงการสร้างเมืองหลวงใหม่จะกระตุ้นให้ภาคการก่อสร้างเพิ่มสัดส่วนเป็น 30% ต่อ GDP จาก 24% ในปัจจุบัน

ตัวอย่างโครงการสำคัญในการพัฒนากรุงโดโดมา

ระบบสายส่งไฟฟ้าจากเมือง Chalinz-กรุงโดโดมา 400 kV ความยาว 350 กม. (62 Mil.USD)

ท่าอากาศยานนานาชาติ Msalato (1,500 Mil.USD)

ที่อยู่อาศัยของข้าราชการจำนวน 500 ยูนิต

ระบบน้ำประปาในกรุงโดโดมาและพื้นที่โดยรอบ (229 Mil.USD)

ถนนวงแหวนรอบเมือง (207 Mil.USD)

ที่มา : Tanzania National Development Plan 2016/17-2020/21, Centre for Aviation, Tanzania Procurement Journal และรวบรวมโดยฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM BANK

หน่วยงานสำคัญที่ย้ายที่ทำการไปกรุงโดโดมาแล้ว

รองประธานาธิบดี และข้าราชการบางส่วนกว่า 3,000 ราย

กระทรวงต่างๆ อาทิ กระทรวงเหมืองแร่ กระทรวงศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการคลังและวางแผน

ข้อสังเกต รัฐบาลอยู่ระหว่างการจัดสรรพื้นที่ในกรุงโดโดมารองรับการย้ายที่ทำการขององค์กรระหว่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ ในแทนซาเนีย

BUSINESS OPPORTUNITIES : เมืองดาร์ เอส ซาลาม “ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของแทนซาเนีย”

แทนซาเนียมีแผนยกระดับเมืองดาร์ เอส ซาลาม ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค รวมทั้งตั้งเป้าให้เป็นดูไบแห่งแอฟริกาตะวันออก โดยขับเคลื่อนผ่านโครงการ Dar es Salaam Metropolitan Development Project ปี 2558-2563 อาทิ เส้นทางคมนาคมขนส่ง ระบบการระบายน้ำ และระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลแทนซาเนียยังมีแผนพัฒนาสนามบินและขยายท่าเรือในเมืองดาร์ เอส ซาลาม เป็นต้น

ตัวอย่างโครงการสำคัญในการยกระดับเมืองดาร์ เอส ซาลาม สู่ดูไบแห่งแอฟริกาตะวันออก

การขยายท่าเรือดาร์ เอส ซาลาม (460 Mil.USD)

ระบบน้ำประปา (217 Mil.USD)

โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน (176 Mil.USD)

การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง (451 Mil.USD)

การขยายท่าอากาศยานนานาชาติ Julius Nyerere International Airport (300 Mil.USD)

ที่มา : Tanzania National Development Plan 2016/17-2020/21, World Bank, Reuters และรวบรวมโดยฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM BANK

ข้อสังเกต รัฐบาลแทนซาเนียเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ เพื่อยกระดับท่าเรือดาร์ เอส ซาลาม หลังจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเคนยา โมซัมบิกต่างแข่งขันกันเป็นศูนย์กลางแห่งแอฟริกาตะวันออก ล่าสุดเคนยาที่นอกจากพัฒนาท่าเรือมอมบาซาแล้ว ยังมีโครงการท่าเรือลามูภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ด้วย

ปริมาณขนส่งสินค้า

เคนยา : ท่าเรือมอมบาซา 22 ล้านตัน (ม.ค.-ก.ย. 2560)

แทนซาเนีย : ท่าเรือดาร์ เอส ซาลาม 14 ล้านตัน (ปี 2560)

โมซัมบิก : ท่าเรือมาปูโต 18 ล้านตัน (ปี 2560)

ปัจจุบัน แทนซาเนียนำเข้าสินค้าจากไทยยังไม่สูงนักเพียง 107 Mil.USD หรือราว 1.2% ของมูลค่านำเข้ารวม อย่างไรก็ตามโครงการย้ายเมืองหลวงจะกระตุ้นความต้องการนำเข้าสินค้าอีกมาก ซึ่งจะเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ส่งออกไทยในระยะถัดไป

ที่มา : IMF, UN, International Trade Centre

Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เดือนกันยายน 2561


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ