กรีซ เป็นตลาดส่งออกเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่น่าสนใจ ทั้งจากแนวโน้มความต้องการใช้
เครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากปัญหาคลื่นความร้อน (Heat Wave) ซึ่งมักเกิดในช่วง
เดือนมิถุนายน-กันยายนของทุกปี โดยอุณหภูมิเฉลี่ยอาจสูงถึง 43 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องเป็นเวลา
หลายสัปดาห์ ขณะเดียวกันกรีซยังมีความน่าสนใจจากศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า
ไปยังยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะโรมาเนีย โปแลนด์ และฮังการี เนื่องจากพื้นที่ตอนเหนือของกรีซติดกับ
ยุโรปตะวันออก ขณะที่พื้นที่ตอนกลางเรื่อยไปจนถึงตอนใต้ติดทะเล จึงเอื้อต่อการขนส่งสินค้าทางเรือ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขยายการส่งออกเครื่องปรับอากาศของไทยไปประเทศต่าง ๆ ใน EU ให้กว้างขวางขึ้น
นอกเหนือจาก สเปน อิตาลี และฝรั่งเศส ซึ่งเป็นตลาดส่งออกเครื่องปรับอากาศหลักอยู่เดิม ผู้ส่งออกไทยจึงควร
หันมาเร่งเจาะตลาดรองใน EU ซึ่งมีศักยภาพสูงในการขยายตัว เช่น กรีซ ซึ่งมีมูลค่านำเข้าเครื่องปรับอากาศ
และส่วนประกอบกว่า 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปี เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการส่งออกเครื่องปรับอากาศ
และส่วนประกอบ สำหรับรายละเอียดที่น่าสนใจของตลาดเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบในกรีซ มีดังนี้
ประเภทของเครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้ในกรีซ
เครื่องปรับอากาศขนาดกลาง คือ ขนาด 9,000-12,000 BTU นิยมติดตั้งตามจุดต่าง ๆ ในบ้าน
แทนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่เพียงเครื่องเดียว เนื่องจากบ้านของชาวกรีกมีขนาดเล็ก พื้นที่ใช้สอย
ไม่มากนัก
เครื่องปรับอากาศประเภทเครื่องทำความเย็นนอกอาคาร อาทิ พัดลมไอน้ำ กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นของผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยเฉพาะร้านอาหารพื้นเมือง (Tarverna) หรือร้านอาหารตามแหล่งท่องเที่ยวทั่วไปเนื่องจากชาวกรีกนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน นอกจากนี้ ยังชื่นชอบกับการนั่งดื่มชา กาแฟ หรือรับประทานอาหารร่วมกันในหมู่เครือญาติหรือเพื่อนฝูงบริเวณหน้าร้านอาหาร หรือริมทางเท้า จึงนิยมใช้เครื่องทำความเย็นนอกอาคาร
ทั้งนี้ การตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศของชาวกรีกมักให้ความสำคัญกับราคาเป็นอันดับแรก
เนื่องจากชาวกรีกมีรายได้ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิก EU อื่น ๆ (เฉลี่ยราว 23,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ต่อคนต่อปี) อีกทั้งเน้นประโยชน์ใช้สอยของเครื่องปรับอากาศมากกว่ารูปร่าง หรือความสวยงามจากภายนอก
คู่แข่ง จีนนับเป็นคู่แข่งสำคัญ เนื่องจากมีความได้เปรียบจากการผลิตเครื่องปรับอากาศจำนวนมาก
ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลงเพราะเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) อีกทั้งมีค่าจ้างแรงงาน
ราคาถูก ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศของจีนมีราคาถูกเมื่อเทียบกับไทย ทั้งนี้ ในปี 2549 กรีซนำเข้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบจากจีนมากที่สุด มีมูลค่า 74.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เครื่องปรับอากาศจีนครองส่วนแบ่ง
ตลาดกรีซสูงสุดร้อยละ 39) รองลงมาคือไทย (มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13) และเบลเยียม (ร้อยละ 9)
อัตราภาษีนำเข้า กรีซเรียกเก็บภาษีนำเข้าเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างหรือผนัง (HS : 841510)ในอัตราร้อยละ 2.2 ของมูลค่านำเข้า ขณะที่เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องประเภทอื่น ๆ
เรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 2.7
ทั้งนี้ เพื่อให้การส่งออกเครื่องปรับอากาศของไทยไป EU ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการกำหนด
มาตรฐานสินค้าไว้สูงขยายตัวได้ดี จำเป็นที่ผู้ส่งออกไทยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพ
ควบคู่กับการรักษามาตรฐานสินค้าเครื่องปรับอากาศ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ตลอดจนเร่งประชาสัมพันธ์สินค้าเครื่องปรับอากาศไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ด้วยการเข้าร่วมงาน
แสดงสินค้าสำคัญของกรีซ อาทิ Thessaloniki International Trade Fair เพื่อให้ทั้งผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้ใช้สินค้าได้มีโอกาสพบปะกันโดยตรง อันจะนำมาซึ่งโอกาสทางการค้าใหม่ ๆ แนวทางดังกล่าวคาดว่าจะช่วยให้
มูลค่าส่งออกเครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบของไทยไปกรีซขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากในช่วง 10 เดือนแรก
ของปี 2550 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 41
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-สส-
เครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากปัญหาคลื่นความร้อน (Heat Wave) ซึ่งมักเกิดในช่วง
เดือนมิถุนายน-กันยายนของทุกปี โดยอุณหภูมิเฉลี่ยอาจสูงถึง 43 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องเป็นเวลา
หลายสัปดาห์ ขณะเดียวกันกรีซยังมีความน่าสนใจจากศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า
ไปยังยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะโรมาเนีย โปแลนด์ และฮังการี เนื่องจากพื้นที่ตอนเหนือของกรีซติดกับ
ยุโรปตะวันออก ขณะที่พื้นที่ตอนกลางเรื่อยไปจนถึงตอนใต้ติดทะเล จึงเอื้อต่อการขนส่งสินค้าทางเรือ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขยายการส่งออกเครื่องปรับอากาศของไทยไปประเทศต่าง ๆ ใน EU ให้กว้างขวางขึ้น
นอกเหนือจาก สเปน อิตาลี และฝรั่งเศส ซึ่งเป็นตลาดส่งออกเครื่องปรับอากาศหลักอยู่เดิม ผู้ส่งออกไทยจึงควร
หันมาเร่งเจาะตลาดรองใน EU ซึ่งมีศักยภาพสูงในการขยายตัว เช่น กรีซ ซึ่งมีมูลค่านำเข้าเครื่องปรับอากาศ
และส่วนประกอบกว่า 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปี เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการส่งออกเครื่องปรับอากาศ
และส่วนประกอบ สำหรับรายละเอียดที่น่าสนใจของตลาดเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบในกรีซ มีดังนี้
ประเภทของเครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้ในกรีซ
เครื่องปรับอากาศขนาดกลาง คือ ขนาด 9,000-12,000 BTU นิยมติดตั้งตามจุดต่าง ๆ ในบ้าน
แทนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่เพียงเครื่องเดียว เนื่องจากบ้านของชาวกรีกมีขนาดเล็ก พื้นที่ใช้สอย
ไม่มากนัก
เครื่องปรับอากาศประเภทเครื่องทำความเย็นนอกอาคาร อาทิ พัดลมไอน้ำ กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นของผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยเฉพาะร้านอาหารพื้นเมือง (Tarverna) หรือร้านอาหารตามแหล่งท่องเที่ยวทั่วไปเนื่องจากชาวกรีกนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน นอกจากนี้ ยังชื่นชอบกับการนั่งดื่มชา กาแฟ หรือรับประทานอาหารร่วมกันในหมู่เครือญาติหรือเพื่อนฝูงบริเวณหน้าร้านอาหาร หรือริมทางเท้า จึงนิยมใช้เครื่องทำความเย็นนอกอาคาร
ทั้งนี้ การตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศของชาวกรีกมักให้ความสำคัญกับราคาเป็นอันดับแรก
เนื่องจากชาวกรีกมีรายได้ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิก EU อื่น ๆ (เฉลี่ยราว 23,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ต่อคนต่อปี) อีกทั้งเน้นประโยชน์ใช้สอยของเครื่องปรับอากาศมากกว่ารูปร่าง หรือความสวยงามจากภายนอก
คู่แข่ง จีนนับเป็นคู่แข่งสำคัญ เนื่องจากมีความได้เปรียบจากการผลิตเครื่องปรับอากาศจำนวนมาก
ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลงเพราะเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) อีกทั้งมีค่าจ้างแรงงาน
ราคาถูก ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศของจีนมีราคาถูกเมื่อเทียบกับไทย ทั้งนี้ ในปี 2549 กรีซนำเข้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบจากจีนมากที่สุด มีมูลค่า 74.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เครื่องปรับอากาศจีนครองส่วนแบ่ง
ตลาดกรีซสูงสุดร้อยละ 39) รองลงมาคือไทย (มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13) และเบลเยียม (ร้อยละ 9)
อัตราภาษีนำเข้า กรีซเรียกเก็บภาษีนำเข้าเครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างหรือผนัง (HS : 841510)ในอัตราร้อยละ 2.2 ของมูลค่านำเข้า ขณะที่เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องประเภทอื่น ๆ
เรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 2.7
ทั้งนี้ เพื่อให้การส่งออกเครื่องปรับอากาศของไทยไป EU ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการกำหนด
มาตรฐานสินค้าไว้สูงขยายตัวได้ดี จำเป็นที่ผู้ส่งออกไทยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพ
ควบคู่กับการรักษามาตรฐานสินค้าเครื่องปรับอากาศ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ตลอดจนเร่งประชาสัมพันธ์สินค้าเครื่องปรับอากาศไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ด้วยการเข้าร่วมงาน
แสดงสินค้าสำคัญของกรีซ อาทิ Thessaloniki International Trade Fair เพื่อให้ทั้งผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้ใช้สินค้าได้มีโอกาสพบปะกันโดยตรง อันจะนำมาซึ่งโอกาสทางการค้าใหม่ ๆ แนวทางดังกล่าวคาดว่าจะช่วยให้
มูลค่าส่งออกเครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบของไทยไปกรีซขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากในช่วง 10 เดือนแรก
ของปี 2550 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 41
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-สส-