แท็ก
ลาว
สปป.ลาว เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการลงทุนปลูกปาล์มน้ำ มัน เนื่องจากมีที่ดินเปล่าที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ถึง 31.3 ล้านไร่ หรือราวร้อยละ 21 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ในจำ นวนนี้เป็นพื้นที่ซึ่งเหมาะกับการปลูกปาล์มน้ำมันกว่า 1.5 ล้านไร่ อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ใน 5 แขวงสำคัญ ได้แก่ สะหวันนะเขต จำ ปาสัก สาละวัน เซกอง และอัตตะปือ เนื่องจากสภาพดินบริเวณดังกล่าว เป็นดินภูเขาไฟ มีอินทรีย์สารสูง ขณะที่หน้าดินยังถูกใช้ทำการเกษตรไม่มากนัก นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าว มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,715 มิลลิเมตร ทำให้เอื้อต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน ประกอบกับ พืชสำ คัญที่ชาวลาวนิยมเพาะปลูก อาทิ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง และผักพื้นบ้าน ยังให้ผลผลิต ไม่แน่นอน ยิ่งจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมันทดแทน
สถานการณ์ปัจจุบันของการลงทุนเพาะปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาว
สปป.ลาว ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก อาทิ มาเลเซีย เยอรมนี ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ด้วยรูปแบบการร่วมลงทุน (Joint Venture) เป็นส่วนใหญ่ ในสัดส่วนการถือหุ้นของนักธุรกิจต่างชาติขั้นต่ำร้อยละ 30 ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด ที่เหลืออีกร้อยละ 70 เป็นของนักธุรกิจชาวลาว ล่าสุดบริษัท IL Won Construction Co., Ltd. ของเกาหลีใต้ร่วมทุนกับนักธุรกิจ
ชาวลาว จัดตั้งบริษัทร่วมทุน Industry Tree Plantation Export-Import Co., Ltd. เพื่อลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ทางภาคใต้ของ สปป.ลาว รวมถึงนักลงทุนไทย คือ บริษัท สี่ภาควนสยามทัวร์ จำกัด ร่วมทุนกับชาวลาวจัดตั้ง บริษัท สามเหลี่ยมทองคำปาล์มออยล์ จำกัด โดยตั้งเป้าขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 1 ล้านไร่ ภายในเวลา 5 ปี (ปี 2549-2553)
ปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญที่ทำให้การลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาว น่าสนใจ มีดังนี้
- นโยบายรัฐบาลเอื้อต่อการลงทุน สปป.ลาว มีหน่วยงานที่ดูแลด้านการส่งเสริมการลงทุน คือ Department of Domestic and Foreign Investment (DDFI) ทำหน้าที่พิจารณาโครงการที่นักลงทุนต่างชาติ เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล สปป.ลาว จะได้รับสิทธิประโยชน์ ทางภาษี โดยการยกเว้นและลดหย่อนภาษีที่เรียกเก็บจากกำไรในช่วงเริ่มต้นของโครงการ นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติยังมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี หรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลเป็นเวลา 2-4 ปี ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก ยกเว้นภาษีส่งออก ตลอดจน อนุญาตให้โอนผลกำไรที่ได้จากการลงทุนกลับประเทศ
- ค่าเช่าที่ดินยังอยู่ในระดับต่ำ แม้รัฐธรรมนูญของ สปป.ลาว กำหนดให้ที่ดินทั้งหมดใน สปป.ลาวเป็น กรรมสิทธิ์ของคนเชื้อชาติลาวเท่านั้น แต่นักลงทุนต่างชาติสามารถขอเช่าที่ดินเพื่อทำธุรกิจได้นานถึง 75 ปี โดยเสียค่าเช่าเพียงปีละ 2-9 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกเตอร์ (1 เฮกเตอร์ เท่ากับ 6.25 ไร่) และสามารถต่ออายุสัญญาได้เมื่อสัญญาเช่าเดิมครบกำหนด จึงเอื้อต่อการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากปาล์มน้ำมันจะ
เริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 3 และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จนถึงปีที่ 25
- แรงงานในภาคเกษตรกรรมยังมีค่อนข้างมาก และมีอัตราค่าจ้างต่ำ สปป.ลาว มีประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานประมาณ 2.5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมถึง 2 ล้านคน ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยเพียงวันละ 34 บาท หรือราว 12,000 บาทต่อปี (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 282 กีบต่อ 1 บาท) อย่างไรก็ตาม การลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาว ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อาทิ เกษตรกร ขาดความรู้ในการจัดการสวนปาล์มอย่างถูกวิธี นักลงทุนจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านต้นพันธุ์ปาล์ม และ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านการจัดการสวนปาล์มเป็นอย่างดี ประกอบกับโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึงเส้นทางคมนาคมที่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล อาจส่งผลให้การขนส่งระหว่างเมืองไม่สะดวกนัก
นักลงทุนจึงควรศึกษาและหาทางออกให้กับปัญหาเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงเมื่อเข้าไปลงทุน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-พห-
สถานการณ์ปัจจุบันของการลงทุนเพาะปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาว
สปป.ลาว ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก อาทิ มาเลเซีย เยอรมนี ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ด้วยรูปแบบการร่วมลงทุน (Joint Venture) เป็นส่วนใหญ่ ในสัดส่วนการถือหุ้นของนักธุรกิจต่างชาติขั้นต่ำร้อยละ 30 ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด ที่เหลืออีกร้อยละ 70 เป็นของนักธุรกิจชาวลาว ล่าสุดบริษัท IL Won Construction Co., Ltd. ของเกาหลีใต้ร่วมทุนกับนักธุรกิจ
ชาวลาว จัดตั้งบริษัทร่วมทุน Industry Tree Plantation Export-Import Co., Ltd. เพื่อลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ทางภาคใต้ของ สปป.ลาว รวมถึงนักลงทุนไทย คือ บริษัท สี่ภาควนสยามทัวร์ จำกัด ร่วมทุนกับชาวลาวจัดตั้ง บริษัท สามเหลี่ยมทองคำปาล์มออยล์ จำกัด โดยตั้งเป้าขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ 1 ล้านไร่ ภายในเวลา 5 ปี (ปี 2549-2553)
ปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญที่ทำให้การลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาว น่าสนใจ มีดังนี้
- นโยบายรัฐบาลเอื้อต่อการลงทุน สปป.ลาว มีหน่วยงานที่ดูแลด้านการส่งเสริมการลงทุน คือ Department of Domestic and Foreign Investment (DDFI) ทำหน้าที่พิจารณาโครงการที่นักลงทุนต่างชาติ เสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล สปป.ลาว จะได้รับสิทธิประโยชน์ ทางภาษี โดยการยกเว้นและลดหย่อนภาษีที่เรียกเก็บจากกำไรในช่วงเริ่มต้นของโครงการ นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติยังมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี หรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลเป็นเวลา 2-4 ปี ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก ยกเว้นภาษีส่งออก ตลอดจน อนุญาตให้โอนผลกำไรที่ได้จากการลงทุนกลับประเทศ
- ค่าเช่าที่ดินยังอยู่ในระดับต่ำ แม้รัฐธรรมนูญของ สปป.ลาว กำหนดให้ที่ดินทั้งหมดใน สปป.ลาวเป็น กรรมสิทธิ์ของคนเชื้อชาติลาวเท่านั้น แต่นักลงทุนต่างชาติสามารถขอเช่าที่ดินเพื่อทำธุรกิจได้นานถึง 75 ปี โดยเสียค่าเช่าเพียงปีละ 2-9 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮกเตอร์ (1 เฮกเตอร์ เท่ากับ 6.25 ไร่) และสามารถต่ออายุสัญญาได้เมื่อสัญญาเช่าเดิมครบกำหนด จึงเอื้อต่อการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากปาล์มน้ำมันจะ
เริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 3 และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จนถึงปีที่ 25
- แรงงานในภาคเกษตรกรรมยังมีค่อนข้างมาก และมีอัตราค่าจ้างต่ำ สปป.ลาว มีประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานประมาณ 2.5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมถึง 2 ล้านคน ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยเพียงวันละ 34 บาท หรือราว 12,000 บาทต่อปี (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 282 กีบต่อ 1 บาท) อย่างไรก็ตาม การลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันใน สปป.ลาว ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อาทิ เกษตรกร ขาดความรู้ในการจัดการสวนปาล์มอย่างถูกวิธี นักลงทุนจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านต้นพันธุ์ปาล์ม และ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านการจัดการสวนปาล์มเป็นอย่างดี ประกอบกับโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึงเส้นทางคมนาคมที่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกล อาจส่งผลให้การขนส่งระหว่างเมืองไม่สะดวกนัก
นักลงทุนจึงควรศึกษาและหาทางออกให้กับปัญหาเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงเมื่อเข้าไปลงทุน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-พห-