เปิดประตูสู่ตลาดใหม่: 7 สิ่งมหัศจรรย์ในรัฐ 7 สาวน้อย

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday October 31, 2018 14:06 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

รู้หรือไม่?
  • Seven Sister States คือ ชื่อเรียกรัฐทั้ง 7 ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญหลังรัฐบาลอินเดียหันมาดำเนินนโยบายขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไปทางตะวันออก (Act East) ซึ่ง 7 รัฐนี้จะเป็นประตูสำคัญสู่ CLMVT
  • 7 รัฐนี้มีหลายสิ่งที่น่าสนใจและหลายคนยังไม่เคยทราบ เช่น ใช้เวลาขนส่งทางถนนจากไทยไม่เกิน 2 วัน มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากคนไทยอาศัยอยู่ถึง 2 ล้านคน และมีประชากรมากกว่าหลายประเทศในอาเซียน
  • รัฐอัสสัม เป็นหนึ่งในพื้นที่ศักยภาพในการลงทุนของผู้ประกอบการไทย ทั้งธุรกิจศูนย์กระจายสินค้าและเกษตรแปรรูป

อินเดีย (INDIA)

ที่ตั้ง : เอเชียใต้

เมืองสำคัญ : กรุงนิวเดลี (เมืองหลวง) กัลกัตตา (เมืองหลวงเก่า) เจนไน (เมืองยานยนต์) บังคาลอร์ (เมือง IT) มุมไบ (เมืองการเงิน)

พื้นที่ : 3,287,263 ตร.กม.

ประชากร : 1,316 ล้านคน (ปี 2560)

ภาษาราชการ : ภาษาฮินดี และภาษาอังกฤษ

สกุลเงิน : รูปีอินเดีย (INR) 1 USD = 72.10 INR (ณ ก.ย. 2561)

ระบอบการปกครอง : ระบอบรัฐสภาโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ปี 2560

  • GDP : 2,611,010 Mil.USD
  • มูลค่านำเข้ารวมของอินเดีย : 444,053 Mil.USD
  • มูลค่าส่งออกของไทยไปอินเดีย : 6,477 Mil.USD
  • สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปอินเดีย : เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ รถยนต์และส่วนประกอบ

สถานเอกอัครราชทูต : กรุงนิวเดลี

สถานกงสุลใหญ่ : กัลกัตตา มุมไบ และเจนไน

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ : กรุงนิวเดลี มุมไบ และเจนไน

Seven Sister States คืออะไร?

ที่มาของชื่อ Seven Sister States เกิดจากลักษณะภูมิประเทศที่ถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาทำให้เข้าถึงได้ยาก เปรียบเสมือน 7 สาวน้อยที่มีความบริสุทธิ์

ประกอบด้วย รัฐอรุณาจัลประเทศ อัสสัม เมฆาลัย มณีปุระ มิโซรัม นาคาแลนด์ และตริปุระ

ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

มีพื้นที่ราว 255,041 ตร.กม.

7 สิ่งมหัศจรรย์ ในรัฐ 7 สาวน้อย

1 ใกล้ไทยมาก ใช้เวลาขนส่งทางถนนเพียง 1-2 วัน

จากรัฐมณีปุระถึงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก บนเส้นทาง IMT Trilateral Highway มีระยะทาง 1,360 กิโลเมตรใช้เวลาขนส่งสินค้าไม่เกิน 2 วัน (ปัจจุบันเส้นทางอยู่ระหว่างก่อสร้าง จึงใช้เวลาขนส่ง 3-4 วัน)

2 พื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญ ติดกับ 4 ประเทศเพื่อนบ้าน

ทิศเหนือติดจีน (พรมแดนยาว 1,395 กม.) และภูฏาน (455 กม.) ทิศตะวันออกติดเมียนมา (1,640 กม.) และทิศตะวันตกติดบังกลาเทศ (1,596 กม.)

3 เป็นประตูสู่ CLMVT ภายใต้นโยบาย Act East ของอินเดีย

รัฐบาลอินเดียทุ่มงบประมาณราว 7,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน 7 รัฐนี้ เพื่อให้เป็นประตูเชื่อมโยงกับ CLMVT และอาเซียน โดยตั้งเป้าขยายการค้าระหว่างกันเป็น 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน

4 ดินแดนทองของเศรษฐกิจการเกษตร

แหล่งปลูกชา 55% ของประเทศ

แหล่งปลูกไผ่ 40% ของประเทศ

แหล่งปลูกยางพาราอันดับ 2 ของประเทศ

แหล่งเลี้ยงไหม 10% ของประเทศ

5 แหล่งพลังงานสำคัญ

สำรวจพบน้ำมันดิบเป็นแห่งแรกของประเทศ

มีปริมาณก๊าซธรรมชาติ (Onshore) 50% ของประเทศ

มีกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 15% ของประเทศ

6 ตลาดใหญ่กว่าหลายประเทศในอาเซียน

จำนวนประชากรใน 7 รัฐ

49 ล้านคน มาเลเซีย 32 ล้านคน กัมพูชา 16 ล้านคน สปป.ลาว 7 ล้านคน (ข้อมูลปี 2560)

7 ประชากรบางส่วนสืบเชื้อสายจากคนไทยและพูดภาษาไทยได้

กลุ่มชาติพันธุ์ไทที่มีเชื้อสายและวัฒนธรรมใกล้เคียงคนไทย เช่น ไทอาหม ไทคำตี่ ไทอ้ายตอน ไทกะเบาหรือฉานกะเบา ไทคำยัง ไทพ่าเก และไทตุรุง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐอรุณาจัลประเทศ อัสสัม และมณีปุระ จำนวนราว 2 ล้านคน

โอกาสของผู้ประกอบไทยในรัฐ 7 สาวน้อย

ธุรกิจศูนย์กระจายสินค้า

ปัจจัยสนับสนุน

ที่ตั้งเป็น Land Lock รายล้อมด้วยเทือกเขา ทำให้การขนส่งสินค้ามีต้นทุนสูง จึงจำเป็นต้องมีการสต็อกสินค้า

พื้นที่ศักยภาพ

รัฐอัสสัม เนื่องจากเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของ 7 รัฐ มีประชากรมากถึง 34 ล้านคน ราว 70% ของประชากรรวม 7 รัฐ

รัฐมณีปุระ เนื่องจากเป็นปลายทางของเส้นทาง IMT ที่สามารถขนส่งสินค้ามาจากไทยผ่านเมียนมาได้ ปัจจุบันสินค้าไทยที่นำเข้ามาใน 7 รัฐ ใช้เส้นทางนี้

โอกาสของสินค้าไทย

อาหารและเครื่องดื่ม

เครื่องแต่งกาย/เครื่องประดับ

เครื่องสังฆภัณฑ์ โดยเฉพาะการเจาะตลาดกลุ่มชาติพันธุ์ไท

ธุรกิจเกษตรแปรรูป

ปัจจัยสนับสนุน

ขาดเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร และมีของเสียจากการแปรรูปเป็นจำนวนมาก (ค่าเฉลี่ยของเสียทั้งประเทศราว 50%)

พื้นที่อุดมสมบูรณ์และประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม

โอกาสของธุรกิจไทย

การลงทุน : โรงงานแปรรูปทางการเกษตร ห้องเย็นและระบบเก็บเกี่ยว

การส่งออก : เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การเกษตร ปุ๋ยและผลิตภัณฑ์ดูแลพืช

พื้นที่ศักยภาพ

รัฐอัสสัม : ชา (กำลังการผลิต 653 ล้านกิโลกรัมต่อปี)

รัฐตริปุระ : ยางพารา (กำลังการผลิต 4.8 หมื่นตันต่อปี)

Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เดือนตุลาคม 2561


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ