ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 นับเป็นอีกความหวังหนึ่งที่จะช่วยพยุงภาคส่งออกไทยในยามที่ปัจจัยบั่นทอนต่าง ๆ รุมเร้าเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักรวมถึงการแข่งขันในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ
ในบรรดาสินค้าส่งออกของไทยไปญี่ปุ่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มนับเป็นสินค้าสำคัญที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากความตกลง JTEPA เนื่องจากญี่ปุ่นจะต้องลดอัตราภาษีนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มให้ไทยเหลือร้อยละ 0 ทันทีที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้อย่างไรก็ตาม พร้อม ๆ กับโอกาสที่ดีขึ้นในการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปญี่ปุ่น การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยยังต้องเผชิญกับกฎระเบียบการนำเข้าที่เคร่งครัดของญี่ปุ่น ที่สำคัญได้แก่
- กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin : ROO) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยที่ส่งออกไปญี่ปุ่นจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลง JTEPA ต่อเมื่อมีแหล่งกำเนิดสินค้าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อาทิ ต้องผ่านกระบวนการผลิตภายในประเทศอย่างน้อย 2 ขั้นตอน (two-process rule)เช่น ในการผลิตผ้าผืน หากผู้ผลิตนำเข้าด้ายจากประเทศที่สาม จะต้องผ่านกระบวนการฟอกย้อมและทอผ้าในประเทศไทย เป็นต้น สำหรับการผลิตเครื่องนุ่งห่ม ผู้ผลิตสามารถนำเข้าวัตถุดิบผ้าผืนจากญี่ปุ่นหรือประเทศสมาชิกอาเซียนได้ (two-process rule with ASEAN cumulation) แต่ต้องผ่านกระบวนการตัดเย็บในประเทศไทยเท่านั้น
- กฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารพิษตกค้างในสินค้า (Law for the Control of Household Products Containing Harmful Substances) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่จะจำหน่ายในญี่ปุ่นต้องมีสารเคมี ตกค้างที่ระบุไว้ 9 ชนิดไม่เกินปริมาณที่กำหนด สารเคมีดังกล่าว ได้แก่ DTTB, Bis (2,3-dibromopropyl) Phosphate, Formaldehyde, Dieldrin, Organic Mercury Compound, Tributyl-tin Compound, Triphenyl-tin Compound, APO และ TDBPP
- กฎหมายว่าด้วยการปิดฉลากสินค้า (Household Goods Quality Labelling Law) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่จะจำหน่ายในญี่ปุ่นต้องปิดฉลากสินค้าซึ่งระบุข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียด อาทิ ชื่อผู้ผลิตส่วนประกอบ ปัจจัยที่อาจทำให้สินค้าเกิดการหดตัว รวมถึงวิธีการดูแลรักษาพร้อมภาพสัญลักษณ์กำกับจำนวน6 รายการ ได้แก่ การทำความสะอาด การใช้น้ำยาฟอกขาว การรีดและอุณหภูมิที่ควรใช้ การซักแห้ง การอบผ้า และอุณหภูมิที่ควรใช้ และการบิดผ้า
- การห้ามนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีส่วนประกอบของพืชและสัตว์หายากบางชนิดซึ่งได้รับการคุ้มครองจาก CITES (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Flora and Fauna) หรือในบางกรณีสามารถนำเข้าได้ แต่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นก่อนแม้ว่าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยจะได้รับประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรจากความตกลง JTEPA แต่ผู้ประกอบการไทยก็ไม่ควรละเลยการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้สอดคล้องกับกฎระเบียบการนำเข้าและมาตรการต่าง ๆ ของญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ได้รับประโยชน์จากความตกลงดังกล่าวอย่างเต็มที่แล้วยังเป็นการพัฒนาคุณภาพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-พห-
ในบรรดาสินค้าส่งออกของไทยไปญี่ปุ่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มนับเป็นสินค้าสำคัญที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากความตกลง JTEPA เนื่องจากญี่ปุ่นจะต้องลดอัตราภาษีนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มให้ไทยเหลือร้อยละ 0 ทันทีที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้อย่างไรก็ตาม พร้อม ๆ กับโอกาสที่ดีขึ้นในการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปญี่ปุ่น การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยยังต้องเผชิญกับกฎระเบียบการนำเข้าที่เคร่งครัดของญี่ปุ่น ที่สำคัญได้แก่
- กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin : ROO) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยที่ส่งออกไปญี่ปุ่นจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลง JTEPA ต่อเมื่อมีแหล่งกำเนิดสินค้าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อาทิ ต้องผ่านกระบวนการผลิตภายในประเทศอย่างน้อย 2 ขั้นตอน (two-process rule)เช่น ในการผลิตผ้าผืน หากผู้ผลิตนำเข้าด้ายจากประเทศที่สาม จะต้องผ่านกระบวนการฟอกย้อมและทอผ้าในประเทศไทย เป็นต้น สำหรับการผลิตเครื่องนุ่งห่ม ผู้ผลิตสามารถนำเข้าวัตถุดิบผ้าผืนจากญี่ปุ่นหรือประเทศสมาชิกอาเซียนได้ (two-process rule with ASEAN cumulation) แต่ต้องผ่านกระบวนการตัดเย็บในประเทศไทยเท่านั้น
- กฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารพิษตกค้างในสินค้า (Law for the Control of Household Products Containing Harmful Substances) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่จะจำหน่ายในญี่ปุ่นต้องมีสารเคมี ตกค้างที่ระบุไว้ 9 ชนิดไม่เกินปริมาณที่กำหนด สารเคมีดังกล่าว ได้แก่ DTTB, Bis (2,3-dibromopropyl) Phosphate, Formaldehyde, Dieldrin, Organic Mercury Compound, Tributyl-tin Compound, Triphenyl-tin Compound, APO และ TDBPP
- กฎหมายว่าด้วยการปิดฉลากสินค้า (Household Goods Quality Labelling Law) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่จะจำหน่ายในญี่ปุ่นต้องปิดฉลากสินค้าซึ่งระบุข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียด อาทิ ชื่อผู้ผลิตส่วนประกอบ ปัจจัยที่อาจทำให้สินค้าเกิดการหดตัว รวมถึงวิธีการดูแลรักษาพร้อมภาพสัญลักษณ์กำกับจำนวน6 รายการ ได้แก่ การทำความสะอาด การใช้น้ำยาฟอกขาว การรีดและอุณหภูมิที่ควรใช้ การซักแห้ง การอบผ้า และอุณหภูมิที่ควรใช้ และการบิดผ้า
- การห้ามนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีส่วนประกอบของพืชและสัตว์หายากบางชนิดซึ่งได้รับการคุ้มครองจาก CITES (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Flora and Fauna) หรือในบางกรณีสามารถนำเข้าได้ แต่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นก่อนแม้ว่าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยจะได้รับประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรจากความตกลง JTEPA แต่ผู้ประกอบการไทยก็ไม่ควรละเลยการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้สอดคล้องกับกฎระเบียบการนำเข้าและมาตรการต่าง ๆ ของญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ได้รับประโยชน์จากความตกลงดังกล่าวอย่างเต็มที่แล้วยังเป็นการพัฒนาคุณภาพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-พห-