สหภาพยุโรป (European Union : EU) เป็นตลาดผลไม้อบแห้งที่น่าสนใจแห่งหนึ่งด้วยปริมาณนำเข้าผลไม้อบแห้งสูงราว 762,000
ตัน คิดเป็นมูล ค่า 1,200 ล้านยูโรในปี 2549 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปีในช่วงปี 2545-2549 เมื่อประกอบกับแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ของอุตสาหก รรมอาหารที่มีผลไม้อบแห้งเป็นส่วนประกอบโดยเฉพาะอาหารเช้าที่มีส่วนผสมของธัญพืชผลิตภัณฑ์เบเกอรี และขนมขบเคี้ยวซึ่งมีมูลค่าตลาด
สูงถึง 45,9 00 ล้านยูโร เพื่อทดแทนอาหารมื้อหลักขณะที่การผลิตผลไม้อบแห้งใน EU ซึ่งปัจจุบันมีเพียงราว 270,000 ตันยังไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการจึงเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกผลไม้อบแห้งไป EU โดยเฉพาะมะม่วงอบแห้งมะละกออบแห้งและมะขามอบแห้งซึ่งเป็นผลไม้อบแห้งเขต
ร้อนที่เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมรับประทานมากขึ้นใน EU สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจของตลาดผลไม้อบแห้งใน EUมีดังนี้
* การบริโภคราวร้อยละ 80 ของปริมาณการบริโภคผลไม้อบแห้งทั้งหมดของ EU เป็นของกลุ่มผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่มีผลไม้อบ
แห้งเป็นส่วนประกอบโดยโรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในอังกฤษเยอรมนีฝรั่งเศส และอิตาลีขณะที่อีกร้อยละ 20 เป็นผู้บริโภคใน EU ซึ่งชื่นชอบผลไม้อบแห้ง
พร้อมรับประทาน อาทิ ลูกเกด และ ลูกพรุนอบแห้งซึ่งมีวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกและร้านจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพนอกจากนี้ผลไม้อบแห้งอินทรีย์ซึ่ง
ผลิตจากผลไม้ที่ปลูกด้วยดินที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีรวมทั้งมีกระบวนการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีก็เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มผู้บริโภค EU
* ส่วนแบ่งตลาดผลไม้อบแห้งที่ EU นำเข้าส่วนใหญ่ คือ ลูกเกดลูกพรุนและอินทผลัมอบแห้งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 49 ของมูลค่านำเข้า
ผลไม้อบแห้งทั้งหมด โดยในปี 2549 ตุรกี ครองส่วนแบ่งตลาดผลไม้อบแห้งใน EU สูงสุดด้วยสัดส่วนร้อยละ 30 รองมาคือ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ
10 ) ชิลี (ร้อยละ 6) ตูนีเซีย(ร้อยละ 5) และอิหร่าน(ร้อยละ 3) ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่าร้อยละ 1 อย่างไรก็ตามพบว่าไทยครองส่วน
แบ่งตลาดผลไม้อบแห้งเขตร้อน โดยเฉพาะมะขามอบแห้งสูงสุดถึงร้อยละ 57
* อัตราภาษีนำเข้า EU ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP) แก่
ผลไม้อบแห้งนำเข้าบางรายการจากไทย ทำให้ปัจจุบันไทยเสียภาษีนำเข้าในอัตรา ร้อยละ 0-12.5 อาทิ กล้วย อบแห้งมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ
12.5 มะละกออบแห้งร้อยละ 0 และมะขามอบแห้งร้อยละ 0
* ช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่นำเข้าผ่านผู้นำเข้าอาหารทั่วไปหรือผู้นำเข้าผลไม้อบแห้งโดยเฉพาะซึ่งเป็นผู้จำหน่ายโดยตรงให้กับ
โรงงานผลิตอาหารผู้บรรจุถุงค้าปลีก ร้านค้าปลีก และร้นจำหน่ายอาหารเพื่อสุข ภาพ สำหรับผู้นำเข้ารายสำคัญของ EU อาทิ Community Food s
(ผู้นำเข้าผลไม้อบและอาหารเกษตรอินทรีย์ของอังกฤษ) Torrig lia Vincenzo (ผู้นำเข้าผลไม้อบแห้งของอิตาลี) Catz International
BV(ผู้นำเข้าผลไม้อบแห้งของเนเธอร์แลนด์)Daras (ผู้นำเข้าอาหารรวมถึงผลไม้อบแห้งของฝรั่งเศส) และ Palm Nuts & More (ผู้นำเข้าผลไม้อบ
แห้งเพื่อจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารและห้างค้าปลีกในเยอรมนี) ทั้งนี้การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารใน EU อาทิ Food and Drink
Expo ซึ่งจะจัดขึ้นที่อังกฤษ ระหว่างวันที่ 6-9 เมษายน 2551 และ Internorga ซึ่งจะจัดขึ้นที่เยอรมนี ระหว่างวันที่ 7-12 มีนาคม 2551 เป็นอีก
ช่องทางหนึ่งที่ผู้ส่งออกผลไม้อบแห้งของไทยจะได้พบปะกับผู้นำเข้าของ EU อีกทั้งยังได้สำรวจตลาดศึกษาถึงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ และนวัตก
รรมใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับการผลิตสินค้าของตนให้เป็นที่น่าสนใจ และตรงต่อความต้องการของตลาด อันจะส่งผลให้ผลไม้อบแห้งของไทยสามารถ
ขยายตลาดใน EU ได้มากขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-พห-
ตัน คิดเป็นมูล ค่า 1,200 ล้านยูโรในปี 2549 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปีในช่วงปี 2545-2549 เมื่อประกอบกับแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ของอุตสาหก รรมอาหารที่มีผลไม้อบแห้งเป็นส่วนประกอบโดยเฉพาะอาหารเช้าที่มีส่วนผสมของธัญพืชผลิตภัณฑ์เบเกอรี และขนมขบเคี้ยวซึ่งมีมูลค่าตลาด
สูงถึง 45,9 00 ล้านยูโร เพื่อทดแทนอาหารมื้อหลักขณะที่การผลิตผลไม้อบแห้งใน EU ซึ่งปัจจุบันมีเพียงราว 270,000 ตันยังไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการจึงเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกผลไม้อบแห้งไป EU โดยเฉพาะมะม่วงอบแห้งมะละกออบแห้งและมะขามอบแห้งซึ่งเป็นผลไม้อบแห้งเขต
ร้อนที่เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมรับประทานมากขึ้นใน EU สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจของตลาดผลไม้อบแห้งใน EUมีดังนี้
* การบริโภคราวร้อยละ 80 ของปริมาณการบริโภคผลไม้อบแห้งทั้งหมดของ EU เป็นของกลุ่มผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่มีผลไม้อบ
แห้งเป็นส่วนประกอบโดยโรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในอังกฤษเยอรมนีฝรั่งเศส และอิตาลีขณะที่อีกร้อยละ 20 เป็นผู้บริโภคใน EU ซึ่งชื่นชอบผลไม้อบแห้ง
พร้อมรับประทาน อาทิ ลูกเกด และ ลูกพรุนอบแห้งซึ่งมีวางจำหน่ายในร้านค้าปลีกและร้านจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพนอกจากนี้ผลไม้อบแห้งอินทรีย์ซึ่ง
ผลิตจากผลไม้ที่ปลูกด้วยดินที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีรวมทั้งมีกระบวนการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีก็เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มผู้บริโภค EU
* ส่วนแบ่งตลาดผลไม้อบแห้งที่ EU นำเข้าส่วนใหญ่ คือ ลูกเกดลูกพรุนและอินทผลัมอบแห้งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 49 ของมูลค่านำเข้า
ผลไม้อบแห้งทั้งหมด โดยในปี 2549 ตุรกี ครองส่วนแบ่งตลาดผลไม้อบแห้งใน EU สูงสุดด้วยสัดส่วนร้อยละ 30 รองมาคือ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ
10 ) ชิลี (ร้อยละ 6) ตูนีเซีย(ร้อยละ 5) และอิหร่าน(ร้อยละ 3) ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดน้อยกว่าร้อยละ 1 อย่างไรก็ตามพบว่าไทยครองส่วน
แบ่งตลาดผลไม้อบแห้งเขตร้อน โดยเฉพาะมะขามอบแห้งสูงสุดถึงร้อยละ 57
* อัตราภาษีนำเข้า EU ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP) แก่
ผลไม้อบแห้งนำเข้าบางรายการจากไทย ทำให้ปัจจุบันไทยเสียภาษีนำเข้าในอัตรา ร้อยละ 0-12.5 อาทิ กล้วย อบแห้งมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ
12.5 มะละกออบแห้งร้อยละ 0 และมะขามอบแห้งร้อยละ 0
* ช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่นำเข้าผ่านผู้นำเข้าอาหารทั่วไปหรือผู้นำเข้าผลไม้อบแห้งโดยเฉพาะซึ่งเป็นผู้จำหน่ายโดยตรงให้กับ
โรงงานผลิตอาหารผู้บรรจุถุงค้าปลีก ร้านค้าปลีก และร้นจำหน่ายอาหารเพื่อสุข ภาพ สำหรับผู้นำเข้ารายสำคัญของ EU อาทิ Community Food s
(ผู้นำเข้าผลไม้อบและอาหารเกษตรอินทรีย์ของอังกฤษ) Torrig lia Vincenzo (ผู้นำเข้าผลไม้อบแห้งของอิตาลี) Catz International
BV(ผู้นำเข้าผลไม้อบแห้งของเนเธอร์แลนด์)Daras (ผู้นำเข้าอาหารรวมถึงผลไม้อบแห้งของฝรั่งเศส) และ Palm Nuts & More (ผู้นำเข้าผลไม้อบ
แห้งเพื่อจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารและห้างค้าปลีกในเยอรมนี) ทั้งนี้การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารใน EU อาทิ Food and Drink
Expo ซึ่งจะจัดขึ้นที่อังกฤษ ระหว่างวันที่ 6-9 เมษายน 2551 และ Internorga ซึ่งจะจัดขึ้นที่เยอรมนี ระหว่างวันที่ 7-12 มีนาคม 2551 เป็นอีก
ช่องทางหนึ่งที่ผู้ส่งออกผลไม้อบแห้งของไทยจะได้พบปะกับผู้นำเข้าของ EU อีกทั้งยังได้สำรวจตลาดศึกษาถึงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ และนวัตก
รรมใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับการผลิตสินค้าของตนให้เป็นที่น่าสนใจ และตรงต่อความต้องการของตลาด อันจะส่งผลให้ผลไม้อบแห้งของไทยสามารถ
ขยายตลาดใน EU ได้มากขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-พห-