EXIM BANK และ ADB ให้วงเงินกู้คนละ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐสนับสนุนโครงการพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้าของ (Cambodia) Power Transmission Lines Company Limited เริ่มต้นจากชายแดนไทยไปบันเตียเมียนเจย พระตะบอง และเสียมราฐ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวในกัมพูชา
ดร.อภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) นำ Gramercy Advisors/Arco Capital Management Family of Funds (Arco) และ Foreign Trade Bank (FTB) ของกัมพูชาเข้าร่วมสนับสนุนวงเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้าจากชายแดนไทยเข้ากัมพูชาเป็นเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยเงินกู้ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก EXIM BANK, 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก ADB, 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก Arco และอีก 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก FTB ให้แก่ (Cambodia) Power Transmission Lines Company Limited ของกัมพูชาสำหรับใช้ก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ (kV) วงจรคู่ จากชายแดนไทยที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วไปยังจังหวัดบันเตียเมียนเจย พระตะบอง และเสียมราฐของกัมพูชา ระยะทางรวม 221 กิโลเมตร รวมทั้งก่อสร้างสถานีลานไกไฟฟ้า (Industrial Estate Switching Station) ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา และสถานีไฟฟ้าย่อย 3 แห่งใน 3 จังหวัดของกัมพูชา
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า นับเป็นความสำเร็จของ EXIM BANK ในการผลักดันให้เกิดโครงการความร่วมมือกับ ADB เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และเป็นครั้งแรกที่ ADB ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการลงทุนของเอกชนในกัมพูชา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจของเอเชีย โดยโครงการนี้จะช่วยรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจโดยรวมของกัมพูชา ขณะที่ฝ่ายไทยจะได้ประโยชน์จากการเข้าไปรับเหมาก่อสร้างโครงการและขายไฟฟ้าให้แก่กัมพูชาผ่านระบบสายส่งดังกล่าว
ปัจจุบันกัมพูชามีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศประมาณ 247 เมกะวัตต์ ทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าและค่าไฟฟ้ามีราคาสูง เนื่องจากกัมพูชาใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า ธุรกิจและครัวเรือนทั่วไปจึงต้องมีเครื่องปั่นไฟฟ้าไว้ใช้งานเอง ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเสียมราฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครวัด 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140—6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-พห-
ดร.อภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) นำ Gramercy Advisors/Arco Capital Management Family of Funds (Arco) และ Foreign Trade Bank (FTB) ของกัมพูชาเข้าร่วมสนับสนุนวงเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้าจากชายแดนไทยเข้ากัมพูชาเป็นเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยเงินกู้ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก EXIM BANK, 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก ADB, 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก Arco และอีก 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐจาก FTB ให้แก่ (Cambodia) Power Transmission Lines Company Limited ของกัมพูชาสำหรับใช้ก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ (kV) วงจรคู่ จากชายแดนไทยที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วไปยังจังหวัดบันเตียเมียนเจย พระตะบอง และเสียมราฐของกัมพูชา ระยะทางรวม 221 กิโลเมตร รวมทั้งก่อสร้างสถานีลานไกไฟฟ้า (Industrial Estate Switching Station) ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา และสถานีไฟฟ้าย่อย 3 แห่งใน 3 จังหวัดของกัมพูชา
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า นับเป็นความสำเร็จของ EXIM BANK ในการผลักดันให้เกิดโครงการความร่วมมือกับ ADB เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และเป็นครั้งแรกที่ ADB ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการลงทุนของเอกชนในกัมพูชา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจของเอเชีย โดยโครงการนี้จะช่วยรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจโดยรวมของกัมพูชา ขณะที่ฝ่ายไทยจะได้ประโยชน์จากการเข้าไปรับเหมาก่อสร้างโครงการและขายไฟฟ้าให้แก่กัมพูชาผ่านระบบสายส่งดังกล่าว
ปัจจุบันกัมพูชามีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศประมาณ 247 เมกะวัตต์ ทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าและค่าไฟฟ้ามีราคาสูง เนื่องจากกัมพูชาใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า ธุรกิจและครัวเรือนทั่วไปจึงต้องมีเครื่องปั่นไฟฟ้าไว้ใช้งานเอง ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเสียมราฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครวัด 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140—6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-พห-