แท็ก
เศรษฐกิจจีน
แม้ว่าปัจจุบันจีนเป็นผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม) รายใหญ่อันดับ 1 ของโลก โดยในปี 2550 จีนสามารถผลิตสัตว์น้ำได้มากถึง 54.7 ล้านตัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของประชากรจีน ที่มีจำนวนกว่า 1,300 ล้านคน ประกอบกับเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวจีนเริ่มมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น จึงมีความต้องการบริโภคและนำเข้าสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอาหารทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามไปด้วย นับเป็น โอกาสของไทยในการขยายการส่งออกอาหารทะเลไปจีนได้อีกมาก
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดอาหารทะเลในจีน มีดังนี้
* ลักษณะตลาด ชาวจีนส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารทะเลประเภทปลาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะปลาทะเลมีชีวิต ซึ่งจะนำมานึ่งทั้งตัว (ไม่ตัดหัวและหาง) ทั้งนี้ ผู้บริโภคชาวจีนแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ผู้บริโภคในพื้นที่ แถบชายฝั่งทัเล อาทิ ฝูเจี้ยน เซี่ยงไฮ้ เจ้อเจียง เป็นต้น (เป็นพื้นที่ที่มีการใช้จ่ายเพื่อบริโภคสัตว์น้ำมากที่สุด ในประเทศในปี 2549 ตามลำดับ) ผู้บริโภคแถบนี้นิยมรับประทานอาหารทะเลที่มีคุณภาพและราคาสูง อาทิ ปลาแซลมอน ปลาเก๋า กุ้งล็อบสเตอร์ หอยนางรม ปลาค็อด ปลาหมึก และปู เนื่องจากประชากรมีกำลังซื้อสูง และให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพ จึงนิยมบริโภคอาหารทะเล โดยเฉพาะปลาทะเล ซึ่งจัดเป็นอาหารที่มีคุณค่า ทางโภชนาการสูงกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ผู้บริโภคในพื้นที่ชนบท (ราว 740 ล้านคน ในปี 2549) ส่วนใหญ่ อยู่บริเวณตอนในของประเทศ ซึ่งไม่มีพื้นที่ติดทะเล ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีรายได้ค่อนข้างต่ำ ขณะที่ราคาอาหารทะเล ค่อนข้างแพง เพราะมีต้นทุนค่าขนส่งและต้นทุนในการรักษาอาหารทะเลให้คงความสดด้วยรถห้องเย็นอยู่ในระดับสูง จึงนิยมบริโภคปลาน้ำจืดแทน อย่างไรก็ตาม มีหลายเมืองใหญ่ของพื้นที่ทางตอนในของประเทศ อาทิ เฉิงตู ฉงชิ่ง หนานหนิง เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคมีรายได้ปานกลางถึงสูง เป็นกลุ่มที่นิยมบริโภคอาหารทะเล
* แนวโน้มตลาดและโอกาสของสินค้าไทย กระทรวงเกษตรของจีนคาดว่าปริมาณการบริโภคสัตว์น้ำ รวมถึงอาหารทะเลของผู้บริโภคชาวจีนจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 9 กิโลกรัม/คน/ปี ในปี 2549 เป็นราว 12 กิโลกรัม/คน/ปี ในปี 2553 ตามรายได้ของชาวจีนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 11 ของจีน (ปี 2549-2553) ที่มุ่งพัฒนาและกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ชนบททางตอนในของประเทศ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจุบันชาวจีนยุคใหม่หันมาบริโภคอาหารทะเลปรุงสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จรูปมากขึ้น ทำให้ อาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูปได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากสะดวกและประหยัดเวลา ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบ การดำเนินชีวิตของชาวจีนที่เร่งรีบมากขึ้นและลักษณะครอบครัวที่มีขนาดเล็กลง อีกทั้งชาวจีนยุคใหม่ยังเปิดรับ วัฒนธรรมการบริโภคและอาหารของต่างชาติมากข้ำ จึงเป็นโอกาสดีของผู้ส่งออกอาหารทะเลแปรรูปของไทย ในการขยายตลาดสู่จีน โดยอาศัยความเชี่ยวชาญในการเป็นผู้ผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ อย่างกว้างขวางไปทั่วโลก รวมทั้งชื่อเสียงในการผลิตสินค้าที่หลากหลาย ทั้งด้านรสชาติ ขนาดบรรจุ และรูปแบบ บรรจุภัณฑ์
* ช่องทางการจำหน่าย อาหารทะเลที่จีนนำเข้าส่วนใหญ่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ (Hypermarket) เช่น คาร์ฟูร์ โลตัส วอลมาร์ท อิเซตัน เป็นต้น ผู้ประกอบการที่สนใจส่งออกอาหารทะเลไปจีน สามารถติดต่อผ่านสำนักงานจัดซื้อรวมของแต่ละห้าง อาทิ คาร์ฟูร์และโลตัส มีสำนักงานจัดซื้อรวมที่เซี่ยงไฮ้ วอลมาร์ทมีสำนักงานจัดซื้อรวมที่เมืองเซินเจิ้น ในมณฑลกวางตุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอาจติดต่อผ่านผู้นำเข้า ซึ่งจะจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก รวมถึงร้านอาหาร หรืออาจจำหน่ายต่อไปยังผู้ผลิตอาหารแปรรูป ในประเทศโดยตรง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-พห-
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดอาหารทะเลในจีน มีดังนี้
* ลักษณะตลาด ชาวจีนส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารทะเลประเภทปลาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะปลาทะเลมีชีวิต ซึ่งจะนำมานึ่งทั้งตัว (ไม่ตัดหัวและหาง) ทั้งนี้ ผู้บริโภคชาวจีนแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ผู้บริโภคในพื้นที่ แถบชายฝั่งทัเล อาทิ ฝูเจี้ยน เซี่ยงไฮ้ เจ้อเจียง เป็นต้น (เป็นพื้นที่ที่มีการใช้จ่ายเพื่อบริโภคสัตว์น้ำมากที่สุด ในประเทศในปี 2549 ตามลำดับ) ผู้บริโภคแถบนี้นิยมรับประทานอาหารทะเลที่มีคุณภาพและราคาสูง อาทิ ปลาแซลมอน ปลาเก๋า กุ้งล็อบสเตอร์ หอยนางรม ปลาค็อด ปลาหมึก และปู เนื่องจากประชากรมีกำลังซื้อสูง และให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพ จึงนิยมบริโภคอาหารทะเล โดยเฉพาะปลาทะเล ซึ่งจัดเป็นอาหารที่มีคุณค่า ทางโภชนาการสูงกว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ผู้บริโภคในพื้นที่ชนบท (ราว 740 ล้านคน ในปี 2549) ส่วนใหญ่ อยู่บริเวณตอนในของประเทศ ซึ่งไม่มีพื้นที่ติดทะเล ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีรายได้ค่อนข้างต่ำ ขณะที่ราคาอาหารทะเล ค่อนข้างแพง เพราะมีต้นทุนค่าขนส่งและต้นทุนในการรักษาอาหารทะเลให้คงความสดด้วยรถห้องเย็นอยู่ในระดับสูง จึงนิยมบริโภคปลาน้ำจืดแทน อย่างไรก็ตาม มีหลายเมืองใหญ่ของพื้นที่ทางตอนในของประเทศ อาทิ เฉิงตู ฉงชิ่ง หนานหนิง เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคมีรายได้ปานกลางถึงสูง เป็นกลุ่มที่นิยมบริโภคอาหารทะเล
* แนวโน้มตลาดและโอกาสของสินค้าไทย กระทรวงเกษตรของจีนคาดว่าปริมาณการบริโภคสัตว์น้ำ รวมถึงอาหารทะเลของผู้บริโภคชาวจีนจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก 9 กิโลกรัม/คน/ปี ในปี 2549 เป็นราว 12 กิโลกรัม/คน/ปี ในปี 2553 ตามรายได้ของชาวจีนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 11 ของจีน (ปี 2549-2553) ที่มุ่งพัฒนาและกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ชนบททางตอนในของประเทศ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจุบันชาวจีนยุคใหม่หันมาบริโภคอาหารทะเลปรุงสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จรูปมากขึ้น ทำให้ อาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูปได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากสะดวกและประหยัดเวลา ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบ การดำเนินชีวิตของชาวจีนที่เร่งรีบมากขึ้นและลักษณะครอบครัวที่มีขนาดเล็กลง อีกทั้งชาวจีนยุคใหม่ยังเปิดรับ วัฒนธรรมการบริโภคและอาหารของต่างชาติมากข้ำ จึงเป็นโอกาสดีของผู้ส่งออกอาหารทะเลแปรรูปของไทย ในการขยายตลาดสู่จีน โดยอาศัยความเชี่ยวชาญในการเป็นผู้ผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ อย่างกว้างขวางไปทั่วโลก รวมทั้งชื่อเสียงในการผลิตสินค้าที่หลากหลาย ทั้งด้านรสชาติ ขนาดบรรจุ และรูปแบบ บรรจุภัณฑ์
* ช่องทางการจำหน่าย อาหารทะเลที่จีนนำเข้าส่วนใหญ่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ (Hypermarket) เช่น คาร์ฟูร์ โลตัส วอลมาร์ท อิเซตัน เป็นต้น ผู้ประกอบการที่สนใจส่งออกอาหารทะเลไปจีน สามารถติดต่อผ่านสำนักงานจัดซื้อรวมของแต่ละห้าง อาทิ คาร์ฟูร์และโลตัส มีสำนักงานจัดซื้อรวมที่เซี่ยงไฮ้ วอลมาร์ทมีสำนักงานจัดซื้อรวมที่เมืองเซินเจิ้น ในมณฑลกวางตุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอาจติดต่อผ่านผู้นำเข้า ซึ่งจะจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก รวมถึงร้านอาหาร หรืออาจจำหน่ายต่อไปยังผู้ผลิตอาหารแปรรูป ในประเทศโดยตรง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2551--
-พห-