- ระบบการเงินพัฒนาเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก สะท้อนจากระบบธนาคารที่ค่อนข้างมั่นคง ค่าเงินมีเสถียรภาพ การทำธุรกรรมระหว่างประเทศมีข้อจำกัดน้อย และธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ขยายสาขาครอบคลุมทั่วภูมิภาคสอดรับกับนโยบายการเป็น Trading & Financial Hub ของภูมิภาค
- แม้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง แต่นับว่ายังต่ำสุดในภูมิภาค ทั้งนี้ เงินกู้สกุลเงินต่างประเทศมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสกุลเงินท้องถิ่นค่อนข้างมาก ประกอบกับมีข้อจำกัดน้อยในการกู้เงินจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสระดมทุนจากต่างประเทศได้
อันดับ 2 ของภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก
อันดับ 9 ของทวีปแอฟริกา
อันดับ 122 ของโลก
ที่มา : IMF (ปี 2559)
จำนวนธนาคาร = 43 แห่ง
สินเชื่อระบบธนาคารต่อ GDP = 29.2%
NPLs ของระบบธนาคาร = 14%
Capital Adequacy Ratio = 16.7%
ธนาคารขนาดใหญ่ของเคนยา เช่น KCB, Equity ขยายสาขาครอบคลุมประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เช่น แทนซาเนีย โมซัมบิก
ธนาคารพาณิชย์สามารถให้สินเชื่อสกุลเงินต่างประเทศได้ ปัจจุบันมีสัดส่วนราว 1 ใน 4 ของสินเชื่อทั้งระบบ
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 9.00%
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 7.41% (สกุลเงินต่างประเทศ 2.68%)
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 12.51% (สกุลเงินต่างประเทศ 7.92%)
ที่มา : IMF (ส.ค. 2561)
สกุลเงิน : Kenyan Shilling (KES)
ระบบอัตราแลกเปลี่ยน : Stabilized Arrangement
ธนาคารกลางกำหนดอัตราอ้างอิง (Indicative Rate) เพื่อเป็นแนวทางแก่ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทค้าเงิน และจะดูแลให้อยู่ภายในระดับที่กำหนดไว้
อัตราแลกเปลี่ยน : 100.55 KES/USD (ณ 22 มี.ค. 2562)
มีตลาด Forward รองรับ
Exchange Control “ค่อนข้างเสรี มีข้อจำกัดน้อยที่สุดในภูมิภาค”
ธุรกรรมระหว่างประเทศส่วนใหญ่มีการควบคุมไม่มากนัก ยกเว้นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในบางธุรกิจ เช่น เหมืองแร่ ประกันภัย ธุรกิจการบิน ที่จะกำหนดเงื่อนไขเป็นการเฉพาะ
การทำธุรกรรมระหว่างประเทศไม่เกิน 10,000 USD ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากธนาคารกลางแต่หากเกินต้องมีเอกสารชี้แจงวัตถุประสงค์
การโอนเงินกำไรออกนอกประเทศทำได้ทันทีหลังจากเสียภาษีที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว
ตัวอย่างธุรกรรมทางการเงินที่สามารถดำเนินการได้หรือมีข้อจำกัดน้อย
ธุรกรรมเพื่อการส่งออก/นำเข้า
สินเชื่อการค้า (Commercial Credit)
สินเชื่อสถาบันการเงิน (Financial Credit)
การค้ำประกันทางการเงิน (Guarantees)
การโอนเงินส่วนบุคคล (Personal Capital)
ที่มา : รวบรวมโดยฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM BANK จากข้อมูลของ Central Bank of Kenya และ IMF
Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เดือนเมษายน 2562