แท็ก
EXIM BANK
EXIM BANK โชว์กำไรสุทธิ 505 ล้านบาทในปี 2550 ผลสำเร็จของการปรับกลยุทธ์ภายใต้เงินกองทุนจำกัด EXIM BANK สามารถทำกำไรสุทธิ 505 ล้านบาทในปี 2550 ซึ่งเป็นผลสำเร็จของการปรับกลยุทธ์ ด้านโครงสร้างองค์กรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมทั้งการแก้ปัญหา NPLs ภายใต้ข้อจำกัดด้านเงินกองทุน ขนาดเล็กในการช่วยเหลือผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยให้แข่งขันได้ในตลาดโลก
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ ดร.อภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ได้ร่วมกันแถลงผลการดำเนินงานของ EXIM BANK ในปี 2550 ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมาว่า ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงและผันผวนอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2550 ประกอบกับข้อจำกัดด้านเงินกองทุนขนาดเล็กของ EXIM BANK ทำให้ EXIM BANK ไม่สามารถขยายการให้สินเชื่อได้มากเท่าที่ควรในปี 2550 อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของ EXIM BANK ในปีที่ผ่านมายังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ มียอดอนุมัติวงเงินสินเชื่อและวงเงินรับประกันการส่งออกเพื่อสนับสนุนแก่ผู้ส่งออก และนักธุรกิจไทยจำนวนทั้งสิ้น 21,728 ล้านบาท ปริมาณธุรกิจสะสมในปี 2550 มีจำนวน 294,850 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2550 มียอดคงค้างเงินให้สินเชื่อจำนวน 52,752 ล้านบาท หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loans: NPLs) ลดลงจาก 7,925 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 เหลือเพียง 2,925 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.5 ของเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ ส่งผลให้ในปี 2550 EXIM BANK มีผลกำไรสุทธิจำนวน 505 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 480 ล้านบาท
ปัจจุบัน EXIM BANK มีเงินกองทุนเพียง 7,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินกองทุนขนาดเล็กที่ทำให้ EXIM BANK ดำเนินบทบาทสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจส่งออกและการลงทุนของไทยในต่างประเทศได้อย่างจำกัด EXIM BANK จึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ในหลายด้านตลอดปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่การแก้ไขปัญหา NPLs โดยจัดตั้งฝ่ายวาณิชธนกิจดูแลการปรับโครงสร้างทางการเงินของลูกหนี้ NPLs รายใหญ่จนสามารถทำให้ NPLs กลับมาเป็นหนี้ปกติได้รวม 2,598 ล้านบาท รวมทั้งขาย NPLs จำนวน 8,200 ล้านบาทได้สำเร็จ ทำให้ NPLs ของ EXIM BANK ลดลงอย่างน่าพอใจจากร้อยละ 13.6 เหลือเพียงร้อยละ 5.5 ต่ำกว่าเป้าหมายซึ่งตั้งไว้ที่ร้อยละ 10
ขณะเดียวกัน EXIM BANK ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้แก่ บริการทางการเงินสำหรับธุรกิจบริการการส่งออก (Service Providers for Exports) บริการสินเชื่อ Exclusive P/N (Promissory Note) สำหรับลูกค้าที่มีผลประกอบการดีถึงดีมาก และบริการด้านวาณิชธนกิจ ครอบคลุมบริการด้านที่ปรึกษาทางการเงิน การร่วมลงทุนในกิจการทั้งในและต่างประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตแต่ขาดเงินทุน และการออกตราสารทุนเพื่อช่วยระดมทุนให้แก่ลูกค้า
ส่วนการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ของ EXIM BANK ตลอดปีที่ผ่านมาเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อ และส่วนกำกับการปฏิบัติงาน (Compliance Division) รวมทั้งปรับโครงสร้างการทำงานของฝ่ายธุรกิจธนาคารและฝ่ายงานด้านการตลาดทั้งหมด โดยควบรวมงานให้คำปรึกษาแนะนำ สินเชื่อ วงเงินค้ำประกัน และบริการประกันการส่งออกไว้ด้วยกันเพื่อความคล่องตัวในการให้บริการที่ครบวงจรแก่ผู้ประกอบการไทยแต่ละราย ทั้งนี้ ฝ่ายงานด้านการตลาดตามโครงสร้างใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2551
“การดำเนินธุรกิจด้วยเงินกองทุนขนาดเล็ก ในขณะที่ EXIM BANK ต้องมีบทบาทในเชิงรุกเพื่อช่วยให้นักธุรกิจไทยแข่งขันได้ในตลาดโลก ทำให้ EXIM BANK ต้องปรับตัวอย่างมากตลอดปีที่ผ่านมาเพื่อทำหน้าที่ต่อไปและดำรงความแข็งแกร่งทางการเงินขององค์กรให้ได้ในขณะเดียวกัน การเพิ่มทุนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและคาดหวังว่ารัฐบาลจะพิจารณาเพิ่มทุนให้แก่ EXIM BANK ในปีนี้” ประธานกรรมการ EXIM BANK กล่าว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ ดร.อภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ได้ร่วมกันแถลงผลการดำเนินงานของ EXIM BANK ในปี 2550 ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมาว่า ท่ามกลางสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงและผันผวนอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2550 ประกอบกับข้อจำกัดด้านเงินกองทุนขนาดเล็กของ EXIM BANK ทำให้ EXIM BANK ไม่สามารถขยายการให้สินเชื่อได้มากเท่าที่ควรในปี 2550 อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของ EXIM BANK ในปีที่ผ่านมายังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ มียอดอนุมัติวงเงินสินเชื่อและวงเงินรับประกันการส่งออกเพื่อสนับสนุนแก่ผู้ส่งออก และนักธุรกิจไทยจำนวนทั้งสิ้น 21,728 ล้านบาท ปริมาณธุรกิจสะสมในปี 2550 มีจำนวน 294,850 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2550 มียอดคงค้างเงินให้สินเชื่อจำนวน 52,752 ล้านบาท หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loans: NPLs) ลดลงจาก 7,925 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2549 เหลือเพียง 2,925 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.5 ของเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ ส่งผลให้ในปี 2550 EXIM BANK มีผลกำไรสุทธิจำนวน 505 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 480 ล้านบาท
ปัจจุบัน EXIM BANK มีเงินกองทุนเพียง 7,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินกองทุนขนาดเล็กที่ทำให้ EXIM BANK ดำเนินบทบาทสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจส่งออกและการลงทุนของไทยในต่างประเทศได้อย่างจำกัด EXIM BANK จึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ในหลายด้านตลอดปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่การแก้ไขปัญหา NPLs โดยจัดตั้งฝ่ายวาณิชธนกิจดูแลการปรับโครงสร้างทางการเงินของลูกหนี้ NPLs รายใหญ่จนสามารถทำให้ NPLs กลับมาเป็นหนี้ปกติได้รวม 2,598 ล้านบาท รวมทั้งขาย NPLs จำนวน 8,200 ล้านบาทได้สำเร็จ ทำให้ NPLs ของ EXIM BANK ลดลงอย่างน่าพอใจจากร้อยละ 13.6 เหลือเพียงร้อยละ 5.5 ต่ำกว่าเป้าหมายซึ่งตั้งไว้ที่ร้อยละ 10
ขณะเดียวกัน EXIM BANK ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้แก่ บริการทางการเงินสำหรับธุรกิจบริการการส่งออก (Service Providers for Exports) บริการสินเชื่อ Exclusive P/N (Promissory Note) สำหรับลูกค้าที่มีผลประกอบการดีถึงดีมาก และบริการด้านวาณิชธนกิจ ครอบคลุมบริการด้านที่ปรึกษาทางการเงิน การร่วมลงทุนในกิจการทั้งในและต่างประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตแต่ขาดเงินทุน และการออกตราสารทุนเพื่อช่วยระดมทุนให้แก่ลูกค้า
ส่วนการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ของ EXIM BANK ตลอดปีที่ผ่านมาเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อ และส่วนกำกับการปฏิบัติงาน (Compliance Division) รวมทั้งปรับโครงสร้างการทำงานของฝ่ายธุรกิจธนาคารและฝ่ายงานด้านการตลาดทั้งหมด โดยควบรวมงานให้คำปรึกษาแนะนำ สินเชื่อ วงเงินค้ำประกัน และบริการประกันการส่งออกไว้ด้วยกันเพื่อความคล่องตัวในการให้บริการที่ครบวงจรแก่ผู้ประกอบการไทยแต่ละราย ทั้งนี้ ฝ่ายงานด้านการตลาดตามโครงสร้างใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2551
“การดำเนินธุรกิจด้วยเงินกองทุนขนาดเล็ก ในขณะที่ EXIM BANK ต้องมีบทบาทในเชิงรุกเพื่อช่วยให้นักธุรกิจไทยแข่งขันได้ในตลาดโลก ทำให้ EXIM BANK ต้องปรับตัวอย่างมากตลอดปีที่ผ่านมาเพื่อทำหน้าที่ต่อไปและดำรงความแข็งแกร่งทางการเงินขององค์กรให้ได้ในขณะเดียวกัน การเพิ่มทุนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและคาดหวังว่ารัฐบาลจะพิจารณาเพิ่มทุนให้แก่ EXIM BANK ในปีนี้” ประธานกรรมการ EXIM BANK กล่าว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-