- ระบบการเงินการธนาคารของประเทศแอฟริกาใต้นับว่าพัฒนาที่สุดในทวีปแอฟริกา เมื่อผนวกกับความได้เปรียบด้านที่ตั้ง โดยเฉพาะการเป็น Logistics Hub สำคัญของภูมิภาค ตลอดจนความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน แอฟริกาใต้จึงเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าสนใจของผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปตั้งฐานการผลิตหรือ Trading Hub เพื่อกระจายสินค้าไปทั่วทวีปฯ (แอฟริกาใต้มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปฯ และเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทยในทวีปฯ มีสัดส่วนเกือบ 40%)
- ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้แอฟริกาใต้เป็นที่ตั้งสำนักงาน (Regional Head Office) เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงานและการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทลูกหรือโรงงานใน Supply Chain ภายในทวีปฯ
- ธนาคารกลางแอฟริกาใต้ดำเนินมาตรการกำกับและดูแลธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด แม้อาจเพิ่มระยะเวลาและขั้นตอนการทำธุรกรรม แต่อีกทางหนึ่งก็ช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจ ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยอาจขอคำปรึกษาเกี่ยวกับกฎระเบียบทางการเงินจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ธนาคารกลางแอฟริกาใต้ (www.resbank.co.za) ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในต่างประเทศ (globthailand.com) ธนาคารของไทยที่มีเครือข่ายกับธนาคารในแอฟริกาใต้ และสำนักกฎหมายต่างๆ
อันดับการพัฒนาของระบบการเงิน (Financial Development Index)
อันดับ 1 ของทวีปแอฟริกา
อันดับ 26 ของโลก
ที่มา : IMF (ปี 2559)
จำนวนธนาคาร = 34 แห่ง (ธนาคารท้องถิ่น 19 แห่ง สาขาธนาคารต่างชาติ 15 แห่ง)
สินเชื่อระบบธนาคารต่อ GDP = 147.5% (เฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่เอกชน)
NPLs ของระบบธนาคาร = 2.8% (อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น กานา 21.6% ไนจีเรีย 14.8% เคนยา 14%)
Capital Adequacy Ratio (CAR) = 16.2% (เกณฑ์ BIS ไม่ต่ำกว่า 8%)
ระบบธนาคารแข็งแกร่งและพัฒนาสูงสุดในทวีปแอฟริกา โดยธนาคารท้องถิ่นเป็นผู้ครองตลาด (เฉพาะธนาคารท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่สุด 5 แห่งมีสัดส่วนถึง 90% ของสินทรัพย์รวมของระบบธนาคาร) อีกทั้งธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งของแอฟริกาใต้ยังขยายสาขาครอบคลุมทั่วทวีปแอฟริกา อาทิ Standard Bank of South Africa และ Absa Bank
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 6.75%
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 7.12%
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 10.25%
หมายเหตุ : เป็นอัตราดอกเบี้ยสกุล ZAR
ที่มา : IMF (ส.ค. 2561)
เงินฝาก เงินกู้
โมซัมบิก 12.37% 21.75% อียิปต์ 12.00% 17.40% ไนจีเรีย 9.69% 16.01% เคนยา 8.28% 12.78% FX Market “ในอดีตค่อนข้างผันผวน ปัจจุบันมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังจากธนาคารกลางควบคุม/ดูแลใกล้ชิด รวมถึงด้วยระบบการเงินที่พัฒนามากที่สุด ทำให้มีเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลายกว่าหลายประเทศในทวีปแอฟริกา”
สกุลเงิน : South African Rand (ZAR)
ระบบอัตราแลกเปลี่ยน : ลอยตัวแบบจัดการ
อัตราแลกเปลี่ยน : 14.42 ZAR/USD (ณ 8 พ.ค. 2562)
มีตลาด Forward รองรับ
“ธนาคารกลางกำกับ/ดูแลธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด แม้เพิ่มขั้นตอนแต่ช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจ”
- การนำเงินทุน (Capital) จากต่างประเทศเข้า-ออกแอฟริกาใต้ ต้องขออนุญาตธนาคารกลาง (South African ReserveBank) ก่อนทุกครั้ง พร้อมกับแสดงที่มาและวัตถุประสงค์ รวมถึงหลักฐานเอกสารประกอบ โดยธนาคารกลางจะใช้เวลาพิจารณา ราว 1-3 สัปดาห์
- ธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศส่วนใหญ่ยังไม่เสรี อาทิ ธุรกรรมทางการเงินเพื่อการส่งออกและนำเข้า ต้องรายงานธนาคารกลางและทำผ่าน Authorized Dealer (ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาต)
- การกู้เงินจากต่างประเทศของบริษัทท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติในแอฟริกาใต้ รวมถึงการกู้เงินในประเทศของบริษัทต่างชาติ จำเป็นต้องขออนุญาตจากธนาคารกลางทุกครั้ง
Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด
ที่มา : South African Reserve Bank, IMF และรวบรวมโดยฝ่ายวิจัยธุรกิจ EXIM BANK
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เดือนพฤษภาคม 2562