เปิดประตูสู่ตลาดใหม่: Geothermal ในเคนยา...ขุมทรัพย์พลังงานใหม่ที่รอการเปิดสวิตช์

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday June 27, 2019 14:39 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

HIGHLIGHTS
  • ความต้องการใช้ไฟฟ้าของเคนยาขยายตัวสูงถึงปีละ 7% จากการเติบโตของเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรม
  • เคนยามีความต้องการลงทุนด้านพลังงานเฉลี่ยปีละ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2562-2567)
  • รัฐบาลเคนยาเปิดกว้างให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในธุรกิจพลังงานได้ 100% โดยพื้นที่ลงทุนที่มีศักยภาพอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านทรัพยากร เชื่อมโยงระบบสายส่งหลัก และอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญ
เกร็ดความรู้ของพลังงานความร้อนใต้พิภพในเคนยา

เคนยาเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพใหญ่ที่สุดของโลก

เคนยาเป็นประเทศแรก ใน Sub-Saharan Africa ที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพได้

ปัจจุบันเคนยาผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพได้ราว 5% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพรวมของโลก

โครงการ Olkaria (กำลังการผลิต 569 MW) ในเคนยาเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ใหญ่อันดับ 4 ของโลก

เคนยามีความต้องการใช้ไฟฟ้าอีกมาก

“เคนยายังขาดแคลนไฟฟ้า อัตราการเข้าถึงไฟฟ้าเพียง 56%”

“รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนชัดเจน”

สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุน เช่น

  • นักลงทุนต่างชาติลงทุนได้สูงสุด 100%
  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปี
  • ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ในช่วงก่อสร้างโครงการ
โรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตอบโจทย์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในเคนยา
  • รัฐบาลมีแผนส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เป็น 61% ในปี 2580 จาก 31% ในปี 2560
  • สร้างได้เร็ว ต้นทุนต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Vision 2030 ที่ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกลง 30%
  • มีความพร้อมด้านทรัพยากรสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น แหล่งผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพใหญ่ติด 1 ใน 10 ของโลก ปัจจุบันใช้ไปเพียง 6% และมีพื้นที่ศักยภาพที่มีความเร็วลมสูงถึง 9.27 เมตรต่อวินาที
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพในเคนยา…โอกาสธุรกิจใหม่ของผู้ประกอบการไทย

พื้นที่ศักยภาพ พิจารณาจาก

  • Resource : พื้นที่ที่มีความพร้อมด้านทรัพยากรความร้อนใต้พิภพ
  • National Grid : อยู่ในพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งหลักของประเทศ
  • Industrial Area : อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง
ประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณา
  • ความสามารถของผู้รับซื้อไฟฟ้า

ควรพิจารณาความพร้อมและความสามารถทางการเงิน ทั้งผู้ซื้อขั้นต้นไปจนถึง End-buyer เพื่อดูศักยภาพว่าจะสามารถชำระค่าไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง

  • สัญญาซื้อ-ขายไฟฟ้า (PPA)

ควรเป็นสัญญาที่เป็นมาตรฐานสากลที่ระบุข้อกำหนดและเงื่อนไขสำคัญชัดเจน เช่น ราคารับซื้อไฟฟ้า ระยะเวลา ปริมาณรับซื้อไฟฟ้าเป็นต้น

  • หุ้นส่วนท้องถิ่น

แม้ผู้ประกอบการไทยสามารถลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าได้ 100% แต่การมีหุ้นส่วนท้องถิ่นจะช่วยสร้างโอกาสในการเข้าถึงข่าวสารโครงการใหม่ๆ รวมถึงเข้าใจกฎระเบียบท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี (หรืออาจปรึกษาสำนักกฎหมายในเคนยาที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจพลังงาน)

  • ที่ดิน

นักลงทุนต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ได้ 100% แต่มีข้อพึงระวัง เช่น

  • ต้องไม่ใช่พื้นที่ทางการเกษตรที่รัฐบาลสงวนให้เกษตรกรท้องถิ่น
  • ควรตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ถูกต้องและชัดเจน เนื่องจากบางกรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์มีหลายคน
  • โฉนดที่ถือครองเป็นโฉนดปลอมหรือไม่ใช่ฉบับคัดล่าสุด
  • โฉนดต้องมีระยะปักหมุดตรงตามพื้นที่จริง
หน่วยงานสำคัญด้านพลังงานของเคนยา
  • ผู้กำหนดนโยบาย/กำกับดูแล/ให้สัมปทาน : Ministry of Energy (MOE)
  • ผู้ผลิตไฟฟ้าหลัก : The Kenya Electricity Generating Company (KenGen), Geothermal Development Company (GDC)(หน่วยงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ)
  • ผู้กระจายไฟฟ้า : Kenya Power and Lighting Company (KPLC)
  • ผู้ดูแลระบบสายส่ง : Kenya Electricity Transmission Company Limited (KETRACO)

Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เดือนมิถุนายน 2562


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ