บังกลาเทศตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ มีพื้นที่ติดกับอินเดีย พม่า และอ่าวเบงกอล มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นด้วยจำนวนเกือบ 160 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 7 ของโลก แม้ว่าองค์การสหประชาชาติ (The United Nations : UN) จะจัดให้บังกลาเทศอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries : LDCs) โดยชาวบังกลาเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีต่ำเพียง 430 ดอลลาร์สหรัฐ แต่บังกลาเทศกลับเป็นประเทศที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2550 มีเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศไหลเข้าบังกลาเทศสูงถึง 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจากปี 2546 เนื่องจากนักลงทุนเล็งเห็นโอกาสและศักยภาพหลายด้านของบังกลาเทศ สำหรับไทย เป็นที่น่าเสียดายว่ายังมีการลงทุนในบังกลาเทศค่อนข้างน้อย ทั้ง ๆ ที่มีธุรกิจหลายประเภทที่ไทยมีศักยภาพที่จะเข้าไปลงทุน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจออกแบบและรับเหมาก่อสร้าง เครื่องหนัง การสำรวจและขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ รวมถึงธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
ปัจจัยเกื้อหนุนการลงทุนในธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
- เป็นแหล่งวัตถุดิบและแรงงานสำคัญ บังกลาเทศมีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ และยังมีสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์และปลูกพืช ทำให้ในแต่ละปีบังกลาเทศสามารถเพาะเลี้ยงกุ้ง และผลิตพืชผลทางการเกษตรได้จำนวนมากและหลากหลายชนิด อาทิ ข้าว ชา มันฝรั่ง ปอกระเจา อ้อย กล้วย และผลไม้เมืองร้อนอื่น ๆ ฯลฯ จึงเอื้อต่อการเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับการทำธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตรของนักธุรกิจไทย นอกจากนี้ บังกลาเทศยังมีประชากรในวัยแรงงานสูงถึงราว 60 ล้านคน ซึ่งราว 2 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด อยู่ในภาคเกษตรกรรมประกอบกับแรงงานโดยทั่วไปมีวินัย ฝึกฝนง่าย และยังสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ ขณะที่มีต้นทุนค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำราว 50 — 100 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน
- บังกลาเทศยังขาดเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย บังกลาเทศยังขาดเทคโนโลยีในการผลิตและการถนอมอาหารอยู่มาก ประกอบกับปัญหาด้านการคมนาคมขนส่งที่ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก ทำให้ผักและผลไม้ที่ผลิตได้ได้รับความเสียหายก่อนถึงมือผู้บริโภคสูงถึงราว 30% - 40% ขณะที่ไทยมีความชำนาญในการแปรรูปผักและผลไม้ รวมทั้งเชี่ยวชาญในธุรกิจอาหารแช่แข็ง และห้องเย็น จึงเป็นโอกาสดีของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุน
ในบังกลาเทศ
- รัฐบาลบังกลาเทศเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา รัฐบาลบังกลาเทศได้ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมเกษตรเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยได้ให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนหลายด้าน เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วง 4 — 6 ปีแรก ของการดำเนินการ (ขึ้นกับที่ตั้งของสถานประกอบการ) การจัดตั้งกองทุน Equity Entrepreneurship Fund เพื่อร่วมลงทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นหรือนักลงทุนต่างชาติในสัดส่วนไม่เกิน 49% ของเงินลงทุนทั้งหมด ในธุรกิจเกษตรและอาหารแปรรูป เป็นต้น
- มีตลาดรองรับ ในส่วนของตลาดในประเทศนั้น ขณะนี้ชาวบังกลาเทศราว 10% - 15% ของประชากรทั้งหมด เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และเชื่อมั่นในสินค้าไทยว่ามีคุณภาพ ขณะที่ความต้องการบริโภคอาหารแปรรูปในประเทศยังสูงกว่าปริมาณที่ผลิตได้ นอกจากนี้ นักลงทุนไทยยังสามารถใช้บังกลาเทศเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีตลาดขนาดใหญ่ เช่น อินเดีย ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน ได้อีกทางหนึ่งด้วยทั้งนี้ นักลงทุนไทยที่สนใจเข้าไปลงทุนในบังกลาเทศควรเลือกสรรผู้ร่วมทุนท้องถิ่นที่เหมาะสม และคำนึงถึงทำเลที่ตั้งของสถานประกอบการให้อยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ รวมทั้งควรมีความรอบคอบในการเข้าครอบครองที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง นอกจากนี้ ควรศึกษาถึงสภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมของชาวบังกลาเทศให้ถี่ถ้วน เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถดำเนินธุรกิจในบังกลาเทศได้อย่างราบรื่น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2551--
-พห-
ปัจจัยเกื้อหนุนการลงทุนในธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
- เป็นแหล่งวัตถุดิบและแรงงานสำคัญ บังกลาเทศมีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ และยังมีสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์และปลูกพืช ทำให้ในแต่ละปีบังกลาเทศสามารถเพาะเลี้ยงกุ้ง และผลิตพืชผลทางการเกษตรได้จำนวนมากและหลากหลายชนิด อาทิ ข้าว ชา มันฝรั่ง ปอกระเจา อ้อย กล้วย และผลไม้เมืองร้อนอื่น ๆ ฯลฯ จึงเอื้อต่อการเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับการทำธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตรของนักธุรกิจไทย นอกจากนี้ บังกลาเทศยังมีประชากรในวัยแรงงานสูงถึงราว 60 ล้านคน ซึ่งราว 2 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด อยู่ในภาคเกษตรกรรมประกอบกับแรงงานโดยทั่วไปมีวินัย ฝึกฝนง่าย และยังสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ ขณะที่มีต้นทุนค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำราว 50 — 100 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน
- บังกลาเทศยังขาดเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย บังกลาเทศยังขาดเทคโนโลยีในการผลิตและการถนอมอาหารอยู่มาก ประกอบกับปัญหาด้านการคมนาคมขนส่งที่ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก ทำให้ผักและผลไม้ที่ผลิตได้ได้รับความเสียหายก่อนถึงมือผู้บริโภคสูงถึงราว 30% - 40% ขณะที่ไทยมีความชำนาญในการแปรรูปผักและผลไม้ รวมทั้งเชี่ยวชาญในธุรกิจอาหารแช่แข็ง และห้องเย็น จึงเป็นโอกาสดีของนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุน
ในบังกลาเทศ
- รัฐบาลบังกลาเทศเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา รัฐบาลบังกลาเทศได้ปรับเปลี่ยนนโยบายด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมเกษตรเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยได้ให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนหลายด้าน เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วง 4 — 6 ปีแรก ของการดำเนินการ (ขึ้นกับที่ตั้งของสถานประกอบการ) การจัดตั้งกองทุน Equity Entrepreneurship Fund เพื่อร่วมลงทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นหรือนักลงทุนต่างชาติในสัดส่วนไม่เกิน 49% ของเงินลงทุนทั้งหมด ในธุรกิจเกษตรและอาหารแปรรูป เป็นต้น
- มีตลาดรองรับ ในส่วนของตลาดในประเทศนั้น ขณะนี้ชาวบังกลาเทศราว 10% - 15% ของประชากรทั้งหมด เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง และเชื่อมั่นในสินค้าไทยว่ามีคุณภาพ ขณะที่ความต้องการบริโภคอาหารแปรรูปในประเทศยังสูงกว่าปริมาณที่ผลิตได้ นอกจากนี้ นักลงทุนไทยยังสามารถใช้บังกลาเทศเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีตลาดขนาดใหญ่ เช่น อินเดีย ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน ได้อีกทางหนึ่งด้วยทั้งนี้ นักลงทุนไทยที่สนใจเข้าไปลงทุนในบังกลาเทศควรเลือกสรรผู้ร่วมทุนท้องถิ่นที่เหมาะสม และคำนึงถึงทำเลที่ตั้งของสถานประกอบการให้อยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบ รวมทั้งควรมีความรอบคอบในการเข้าครอบครองที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง นอกจากนี้ ควรศึกษาถึงสภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมของชาวบังกลาเทศให้ถี่ถ้วน เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถดำเนินธุรกิจในบังกลาเทศได้อย่างราบรื่น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2551--
-พห-