- ปี 2563 New Frontiers หลายประเทศ โดยเฉพาะ CLMV มีความเคลื่อนไหวสำคัญที่อาจเป็นจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อการค้าการลงทุนของไทย เช่น การทบทวนสิทธิ์ EBA ของกัมพูชา การเลือกตั้งทั่วไปของเมียนมา และการเริ่มใช้ FTA ของ EU-เวียดนาม
- ขณะที่อีกหลายประเทศ เช่น อินเดีย เคนยา เร่งดำเนินนโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจึงเป็นโอกาสเข้าไปลงทุนของผู้ประกอบการไทย รวมถึงการส่งออกกลุ่มชิ้นส่วนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับนโยบายดังกล่าว
ประเด็นการค้าการลงทุนที่ควรติดตาม ในปี 2563
การตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี EU ทบทวนการให้สิทธิ์ EBA* แก่กัมพูชา โดยคาดว่าจะประกาศผลในเดือน ก.พ. 2563
- EBA คือ สิทธิพิเศษทางการค้าสูงสุดที่ EU ยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าและยกเลิกการกำหนดโควตาสินค้านำเข้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด
การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็น 190 USD/เดือน จากเดิม 182 USD(มีผล 1 ม.ค. 2563)
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย
+ สินค้าที่แข่งกับกัมพูชาในตลาด EU เช่น เกษตรแปรรูป อาหารเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า
+ สินค้าอุปโภคบริโภคจากกำลังซื้อ(ค่าจ้าง) ที่เพิ่มขึ้น เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า
- สินค้ากลุ่มวัตถุดิบที่กัมพูชานำเข้าเพื่อผลิตและส่งออกไป EU เช่น ผ้าผืน
- โรงงานสิ่งทอของไทยในกัมพูชาสูญเสียความได้เปรียบจากการส่งออกไป EU และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
ปัญหาหนี้และภาคการคลังเปราะบาง
- หนี้ต่างประเทศ : 90% ต่อ GDP
- ทุนสำรองต่อมูลค่านำเข้า (Import Cover) : 1.3 เดือน (ข้อมูล IMF ปี 2562)
โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว (BRI)(BRI = Belt Road Initiative)อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2564
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย
- กำลังซื้อของชาวลาวอาจชะลอตัวในบางช่วงเวลา รวมถึงภาครัฐอาจเผชิญความท้าทายด้านสภาพคล่อง
+ สินค้าวัสดุก่อสร้างและธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง รองรับความตื่นตัวของโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บริเวณเส้นทางรถไฟ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ศูนย์การค้า
- โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบางโครงการอาจปรับขนาดให้เล็กลง สอดคล้องกับฐานะการคลัง
การเลือกตั้งทั่วไปคาดว่าจะจัดขึ้นช่วงปลายปี (พ.ย. 2563)
การผ่อนคลายกฎระเบียบภาคการเงินธนาคารกลางเมียนมาเตรียมออกใบอนุญาตให้แก่ ธนาคารต่างชาติเปิดสาขา/Subsidiaries ในเมียนมาเพิ่มเติม
+ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมหาเสียง เช่น กระดาษ สิ่งพิมพ์ อาหาร เครื่องดื่ม รถยนต์
+ บริษัทเมียนมาที่เป็นคู่ค้ากับผู้ส่งออกไทยจะมีสภาพคล่องและทางเลือกในการระดมทุนมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าไทย
อาจมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการลงทุนหรือที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงแนวทางการปฏิบัติอีกครั้งหลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่
การย้ายฐานการผลิตมาเวียดนามของบริษัทจีนจากสงครามการค้า
ความตกลงการค้าเสรี EU-เวียดนาม (EVFTA)แม้ลงนามแล้วเมื่อปี 2562 แต่ต้องติดตามความคืบหน้าในการเริ่มดำเนินการ
+ สินค้ากลุ่มวัตถุดิบเพื่อป้อนฐานการผลิตในเวียดนามที่ส่งไป EU เช่น ผ้าผืน หนัง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
+ สินค้าที่อยู่ใน Supply Chain ของบริษัทจีนที่ย้ายไปเวียดนาม เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
- สินค้าที่แข่งกับเวียดนามในตลาด EU อาจเผชิญการแข่งขันด้านราคารุนแรงขึ้น เช่น สัตวน้ำแปรรูป รองเท้า
+ โอกาสเข้าไปลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เน้นส่งออกไปตลาด EUเพื่อใช้ความได้เปรียบจาก EVFTA
การปรับปรุงกฎระเบียบการลงทุนจากต่างประเทศเตรียมปรับ Positive Investment List ใหม่ในปี 2563เปิดเสรีให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน 100% ในหลายอุตสาหกรรม
การปรับโครงสร้างภาษีธุรกิจ เช่น
- เตรียมปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 22% จากปัจจุบัน 25%
- ยกเว้นการเก็บภาษีเงินปันผล (สำหรับผู้ถือหุ้นต่ำกว่า 25%)
+ สินค้าที่เชื่อมโยงกับ Supply Chain ไทย-อินโดนีเซีย เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ มีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของโครงการลงทุนใหม่ๆ ในอินโดนีเซีย (Investment-induced Trade)
+ ลดต้นทุนการทำธุรกิจจากการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ปัจจุบันสูงเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน
ความคืบหน้านโยบาย Make in India
- ตั้งเป้าเป็น 1 ใน 3 ฐานการผลิตของโลกในปี 2563
- ตั้งเป้าเป็น Top 50 ประเทศที่ทำธุรกิจง่ายที่สุดในปี 2563 จากปัจจุบัน 63th (Ease of Doing Business Ranking)
เหตุการณ์ประท้วง การประท้วงต่อต้านการแก้ไขกฎหมายสัญชาติ (Citizenship Amendment Act)
+ สินค้ากลุ่มชิ้นส่วนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับนโยบาย Make in India เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ยางล้อ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผ้าผืน
- กรณีที่เหตุประท้วงรุนแรงอาจทำให้การค้าชะงักงันหรือมีความเสี่ยงต่อการกระจายสินค้า (ปัจจุบันสถานการณ์ยังไม่รุนแรงและไม่กระทบต่อการส่งออกของไทย)
+ โอกาสเข้าไปลงทุนเปิดกว้างมากขึ้นจากนโยบาย Make in India เช่น ยานยนต์ อาหารแปรรูป พลังงานหมุนเวียน ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจดีขึ้นจากการปรับปรุงกฎระเบียบและโครงสร้างพื้นฐาน
การเดินหน้านโยบาย Big 4 นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจหลัก 4 ด้าน (การผลิต อาหาร ที่อยู่อาศัย สุขภาพ) คาดว่ารัฐบาลจะเร่งผลักดัน เนื่องจากเหลือระยะเวลาบริหารประเทศอีกเพียง 2 ปี
การแก้ปัญหาการจัดการระบบโลจิสติกส์จากท่าเรือมอมบาซาสู่กรุงไนโรบี และเมืองสำคัญปี 2562 การขนส่งสินค้านำเข้าสู่กรุงไนโรบีและนิคมอุตสาหกรรมสำคัญมีความล่าช้าจากการเปลี่ยนระบบจัดการที่ ICD (Inland Container Depot)
+ สินค้าทุนและวัตถุดิบ เพื่อรองรับนโยบาย Big 4 เช่น เครื่องจักรกลอุตสาหกรรม/เกษตร เหล็ก เม็ดพลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์(เคนยาขาดแคลนอุตสาหกรรมสนับสนุน จึงมีความต้องการชิ้นส่วนอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก)
+ ปัญหาขนส่งมีแนวโน้มคลี่คลาย ประกอบกับรถไฟสายใหม่จากมอมบาซา-กรุงไนโรบี-เนวาชา (นิคมฯ สำคัญ) ช่วยเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น
-
แม้กลุ่มประเทศ New Frontiers จะเต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ แต่ก็มาพร้อมความท้าทาย อาทิ เสถียรภาพเศรษฐกิจและการเมือง กฎระเบียบการค้าการลงทุน ระบบการเงิน เป็นต้น ผู้ประกอบการไทยควรติดตามและศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนวางแผนขยายธุรกิจต่อไป
Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด
ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เดือนมกราคม 2563