ไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาจัดเป็นเครื่องหอมที่มีค่าและหายากเนื่องจากปลูกได้เฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาทิไทย อินโดนีเซียและเวียดนามในอดีตเป็นสินค้าที่ซื้อขายกันเฉพาะในหมู่ราชวงศ์ชั้นสูงทั่วโลกและเป็นสินค้าต้องห้ามสำหรับประชาชนทั่วไปไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาจึงเป็นสินค้ามูลค่าสูงเมื่อเทียบกับไม้หอมและน้ำมันหอมชนิดอื่นเมื่อประกอบกับการผลิตที่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดโลกซึ่งมีสูงมาก ทั้งจากประเทศแถบตะวันออกกลางเอเชียและสหภาพยุโรปเพื่อนำไปเป็นเครื่องหอมรวมทั้งเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำหอมและยารักษาโรคจึงเป็นโอกาส ในการส่งออกของไทยในฐานะผู้ผลิตและส่งออกไม้กฤษณาสำคัญอันดับ 3 ของโลกรองจากอินโดนีเซียและเวียดนามทั้งนี้คาดว่าไทยจะมีมูลค่าส่งออกไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ในปี 2551-2552
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการส่งออกไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณามีดังนี้
* ผู้นำเข้าสำคัญ ได้แก่ ประเทศแถบตะวันออกกลางเอเชียและสหภาพยุโรปมีรายละเอียดดังนี้
- ประเทศแถบตะวันออกกลางอาทิสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซาอุดีอาระเบียและการ์ตาเป็นตลาดหลักรองรับการส่งออกไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามมีความต้องการใช้ไม้กฤษณาจุดไฟเผาให้เกิดกลิ่นหอมเพื่อใช้ในพิธีทางศาสนาหรืองานเลี้ยงรับรองแขกสำคัญอีกทั้งนิยมใช้น้ำมันกฤษณาปรุงแต่งร่างกายแทนน้ำหอมทั่วไปเนื่องจากมีกลิ่นติดทนนานและมีคุณสมบัติป้องกันไรทะเลทรายซึ่งเป็นพาหะทำใ ห้เกิดโรคทั้งนี้ความต้องการนำเข้าน้ำมันกฤษณาเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบียสูงถึงปีละ 500 ลิตร คิดเป็นมูลค่าราว 677 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ประเทศแถบเอเชียอาทิญี่ปุ่นนิยมนำเข้าไม้กฤษณาชิ้นเล็กเพื่อนำไปอัดแท่งเป็นเครอื่งหอมเพื่อใช้จุดไฟเผาให้เกิดกลิ่นหอมในพิธีชงชา และนำไปเป็นส่วนผสมของผงธูปอีกทั้งยังนำไปเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคเนื่องจากชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าน้ำมันกฤษณามีคุณสมบัติในการรักษามะเร็งลำไส้มะเร็งตับและโรคกระเพาะอาหารทั้งนี้ญี่ปุ่นนำเข้าไม้กฤษณาปีละ 35,000 กิโลกรัมคิดเป็นมูลค่าราว 9.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สหภาพยุโรปอาทิอังกฤษและฝรั่งเศสมีความต้องการนำเข น้ำมันกฤษณาเพื่อเป็นหัวเชื้อในการผลิตน้ำหอม
* ราคาไม้กฤษณามีราคากิโลกรัมละ 7,000-200,000 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำมันในเนื้อไม้สีและขนาดของไม้สำหรับน้ำมันกฤษณามีราคา 4,500-8,000 บาท ต่อโตรา(หน่วยวั่ดปริมาตรน้ำมันกฤษณาโดย 1 โตราเท่ากับ 12 ลูกบาศก์เซนติเมตร) หรือคิดเป็นลิตรละ 375,000-670,000 บาท
* ภาษีนำเข้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เรียกเก็บภาษีนำเข้าไม้กฤษณาชิ้นเล็กและน้ำมันกฤษณาจากไทยในอัตราร้อยละ 5 ขณะที่ญี่ปุ่นเรีย กเก็บภาษีนำเข้าไม้กฤษณาชิ้นเล็กจากไทยในอัตราร้อยละ 2.5 สำหรับสหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized Sy stem of Preference : GSP ) แก่น้ำมันกฤษณาไทย โดยเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0
* ช่องทางส่งออกตลาดกลางรับซื้อไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาเพื่อส่งออกอยู่บริเวณซอยนานากรุงเทพฯ โดยมีผู้รับซื้อชาวต่างชาติหลายรายทำหน้าที่รวบรวมสินค้าเพื่อนำไปจำหน่ายในต่างประเทศอาทิชาวอาหรับซึ่งเป็นผู้รับซื้อและกระจายสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในแถบตะวันออกกลางรวมถึงสิงคโปร์และไต้หวัน ขณะที่ชาวยุโรปมักเข้ามาซื้อน้ำมันกฤษณาในไทยเพื่อนำไปจำหน่ายในสหภาพยุโรปอย่างไรก็ตามปัจจุบันมีผู้รับซื้อต่างชาติห ลายรายเริ่มเข้าไปรับซื้อไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาถึงโรงงานพร้อมวางเงินมัดจำล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่เพียงพอของสินค้า
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2551--
-พห-
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการส่งออกไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณามีดังนี้
* ผู้นำเข้าสำคัญ ได้แก่ ประเทศแถบตะวันออกกลางเอเชียและสหภาพยุโรปมีรายละเอียดดังนี้
- ประเทศแถบตะวันออกกลางอาทิสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซาอุดีอาระเบียและการ์ตาเป็นตลาดหลักรองรับการส่งออกไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามมีความต้องการใช้ไม้กฤษณาจุดไฟเผาให้เกิดกลิ่นหอมเพื่อใช้ในพิธีทางศาสนาหรืองานเลี้ยงรับรองแขกสำคัญอีกทั้งนิยมใช้น้ำมันกฤษณาปรุงแต่งร่างกายแทนน้ำหอมทั่วไปเนื่องจากมีกลิ่นติดทนนานและมีคุณสมบัติป้องกันไรทะเลทรายซึ่งเป็นพาหะทำใ ห้เกิดโรคทั้งนี้ความต้องการนำเข้าน้ำมันกฤษณาเฉพาะประเทศซาอุดีอาระเบียสูงถึงปีละ 500 ลิตร คิดเป็นมูลค่าราว 677 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ประเทศแถบเอเชียอาทิญี่ปุ่นนิยมนำเข้าไม้กฤษณาชิ้นเล็กเพื่อนำไปอัดแท่งเป็นเครอื่งหอมเพื่อใช้จุดไฟเผาให้เกิดกลิ่นหอมในพิธีชงชา และนำไปเป็นส่วนผสมของผงธูปอีกทั้งยังนำไปเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคเนื่องจากชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าน้ำมันกฤษณามีคุณสมบัติในการรักษามะเร็งลำไส้มะเร็งตับและโรคกระเพาะอาหารทั้งนี้ญี่ปุ่นนำเข้าไม้กฤษณาปีละ 35,000 กิโลกรัมคิดเป็นมูลค่าราว 9.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สหภาพยุโรปอาทิอังกฤษและฝรั่งเศสมีความต้องการนำเข น้ำมันกฤษณาเพื่อเป็นหัวเชื้อในการผลิตน้ำหอม
* ราคาไม้กฤษณามีราคากิโลกรัมละ 7,000-200,000 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำมันในเนื้อไม้สีและขนาดของไม้สำหรับน้ำมันกฤษณามีราคา 4,500-8,000 บาท ต่อโตรา(หน่วยวั่ดปริมาตรน้ำมันกฤษณาโดย 1 โตราเท่ากับ 12 ลูกบาศก์เซนติเมตร) หรือคิดเป็นลิตรละ 375,000-670,000 บาท
* ภาษีนำเข้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เรียกเก็บภาษีนำเข้าไม้กฤษณาชิ้นเล็กและน้ำมันกฤษณาจากไทยในอัตราร้อยละ 5 ขณะที่ญี่ปุ่นเรีย กเก็บภาษีนำเข้าไม้กฤษณาชิ้นเล็กจากไทยในอัตราร้อยละ 2.5 สำหรับสหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized Sy stem of Preference : GSP ) แก่น้ำมันกฤษณาไทย โดยเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0
* ช่องทางส่งออกตลาดกลางรับซื้อไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาเพื่อส่งออกอยู่บริเวณซอยนานากรุงเทพฯ โดยมีผู้รับซื้อชาวต่างชาติหลายรายทำหน้าที่รวบรวมสินค้าเพื่อนำไปจำหน่ายในต่างประเทศอาทิชาวอาหรับซึ่งเป็นผู้รับซื้อและกระจายสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในแถบตะวันออกกลางรวมถึงสิงคโปร์และไต้หวัน ขณะที่ชาวยุโรปมักเข้ามาซื้อน้ำมันกฤษณาในไทยเพื่อนำไปจำหน่ายในสหภาพยุโรปอย่างไรก็ตามปัจจุบันมีผู้รับซื้อต่างชาติห ลายรายเริ่มเข้าไปรับซื้อไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาถึงโรงงานพร้อมวางเงินมัดจำล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่เพียงพอของสินค้า
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2551--
-พห-