เปิดประตูสู่ตลาดใหม่: เทรนด์ดูแลสุขภาพมาแรง...โอกาสส่งออกสมุนไพรไทย

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday April 7, 2020 14:07 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

HIGHLIGHTS
  • สถานการณ์โรคระบาดและการเกิดโรคใหม่ ๆ รวมถึงกระแสการดูแลสุขภาพ กระตุ้นความต้องการบริโภคสมุนไพรให้เติบโต เนื่องจากเป็นหนึ่งในทางเลือกเพื่อใช้บำรุงร่างกายและรักษาโรค
  • ตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรโลกมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง มีการนำสมุนไพรมาบริโภคในหลายรูปแบบ เช่น อาหารเสริม เครื่องดื่ม ยารักษาโรค
  • ไทยมีความหลากหลายของสมุนไพรมากถึงราว 11,600 ชนิด แต่นำมาใช้ประโยชน์เพียง 16%
  • มูลค่าส่งออกสมุนไพรของไทยขยายตัวต่อเนื่อง โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร จีน

ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก รวมถึงการเกิดโรคใหม่ ๆ บ่อยครั้ง ตลอดจนกระแสการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน กระตุ้นให้ความต้องการสมุนไพรเติบโตยิ่งขึ้น โดยสมุนไพรนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ใช้บำรุงร่างกายและรักษาโรค

รู้หรือไม่?

“1 ใน 3 ของชาวอเมริกันนิยมบริโภคสมุนไพร”
  • อาหารเสริมจากสมุนไพร ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีส่วนผสมของแปะก๊วย กระเทียม เป็นต้น
  • ยาสมุนไพร โดยเฉพาะกลุ่มยาอมแก้เจ็บคอ โรคนอนไม่หลับ โรคไขข้อ เป็นต้น
  • เครื่องดื่มสมุนไพร โดยเฉพาะชาเขียว

ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส

“เยอรมนีใช้สมุนไพรในการรักษาโรคพื้นฐาน”
  • มีการใช้ยาสมุนไพรถึง 45% ของการใช้ยาทั้งหมด
  • โรงพยาบาลสั่งจ่ายยาที่สกัดจากธรรมชาติในการบรรเทาไข้แทนยาพาราเซตามอล

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพรและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

“ชาวญี่ปุ่นนิยมใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาพยาบาล”
  • กว่า 80% ของการรักษาพยาบาล นิยมใช้ยาที่มีส่วนผสมจากสมุนไพร (Kampo)
  • ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายจากการจ่ายยาสมุนไพร Kampo

หมายเหตุ : Kampo คือ ยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคในญี่ปุ่นมายาวนาน โดยได้อิทธิพลการรักษาจากจีน

ที่มา : The Japan Society for Oriental Medicine, Kanazawa Medical University, Tohoku University Graduate School of Medicine

Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เดือนมีนาคม 2563


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ