หลังจากเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เป็นต้นมา ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยองค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization : WCO) ได้กำหนดกรอบมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกทางการค้าโลก (Framework of Standards to Secure and Facilitate Global Trade : SAFE) ซึ่งหนึ่งในหลักการสำคัญ คือ ความร่วมมือกันระหว่างศุลกากรและผู้ประกอบการของแต่ละประเทศเพื่อสร้างความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อุปทานของการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดย WCO ได้กำหนดโครงการ Authorized Economic Operator (AEO) ขึ้นเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อเป็นการรับรองผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทานว่ามีการดำเนินงานที่ปลอดภัย ครอบคลุมตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทน ผู้ขนส่ง ผู้รวบรวม คนกลาง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ผู้ประกอบกิจการท่ารถ คลังสินค้า ผู้จัดจำหน่าย เป็นต้น ปัจจุบันหลายประเทศดำเนินโครงการดังกล่าวภายใต้ชื่อที่แตกต่างกัน อาทิ โครงการ Customs-Trade Partnership Against Terrorism (C-TPAT) ของสหรัฐฯ โครงการ Secure Export Scheme ของนิวซีแลนด์ และโครงการ Secure Trade Partnership ของสิงคโปร์
ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 สหภาพยุโรป (European Union : EU) เริ่มดำเนินโครงการตามแนวทางของ WCO และใช้ชื่อเดียวกัน คือ Authorized Economic Operator (AEO) โดยจะให้การรับรองแก่ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของการนำเข้าและส่งออกสินค้าใน EU ที่ผ่านการตรวจสอบข้อมูล 5 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทข้อมูลด้านศุลกากร ข้อมูลและกระบวนการด้านโลจิสติกส์และการบัญชี ความสามารถในการชำระหนี้ และข้อกำหนดด้านความปลอดภัย อาทิ การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ระบบการรักษาความปลอดภัยของอาคารและโรงงาน และมาตรการเกี่ยวกับการอนุญาตเข้าสู่พื้นที่บรรจุสินค้า เป็นต้น
ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการซึ่งได้รับการรับรอง AEO ของ EU ได้รับ ได้แก่
- คะแนนความเสี่ยงต่ำ (Lower Risk Score) ทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์จากการถูกตรวจสอบสินค้าและเอกสารน้อยลง เนื่องจากได้รับความไว้วางใจจากศุลกากรของประเทศสมาชิก EU
- การนำสินค้าผ่านแดนรวดเร็วขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการซึ่งเป็น AEO จะได้รับการพิจารณาขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธีการศุลกากร โดยเฉพาะการตรวจสอบสินค้า ในประเทศสมาชิก EU ก่อนผู้ประกอบการที่ไม่ได้เป็น AEO
- ความน่าเชื่อในฐานะที่เป็นบริษัทซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานที่ปลอดภัย ช่วยเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน
- การแลกเปลี่ยนสิทธิด้านศุลกากร (Mutual Recognition) จากประเทศที่นำระบบ AEO ภายใต้กรอบของ WCO มาใช้ โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรอง AEO ของ EU จะได้รับการยอมรับสถานะและได้สิทธิประโยชน์ด้านศุลกากรกับประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ระบบดังกล่าว เช่น การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร ขั้นตอนการตรวจสอบและเอกสารที่ลดน้อยลง ทั้งนี้ ปัจจุบันสหรัฐฯ และนิวซีแลนด์ มีการแลกเปลี่ยนสิทธิด้านศุลกากรระหว่างกันแล้ว ขณะที่ EU และสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการเจรจาในรายละเอียดและความเป็นไปได้ของการแลกเปลี่ยน
ทั้งนี้ คาดว่าในระยะแรก ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ใน EU จะเป็นกลุ่มแรกที่ยื่นขอการรับรองเป็น AEO อาทิ TNT ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าด่วนรายใหญ่อันดับ 1 ของ EU อยู่ระหว่างดำเนินการขอการรับรอง AEO ในหลายประเทศของ EU เพื่อให้ได้ประโยชน์จากความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน สำหรับประเทศไทย กรมศุลกากรอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด และรูปแบบในการนำโครงการ AEO ภายใต้กรอบ SAFE ที่เหมาะสมมาใช้ ซึ่งจะทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนสิทธิทางศุลกากรระหว่างกันกับประเทศคู่ค้าหลักในอนาคต
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2551--
-พห-
ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 สหภาพยุโรป (European Union : EU) เริ่มดำเนินโครงการตามแนวทางของ WCO และใช้ชื่อเดียวกัน คือ Authorized Economic Operator (AEO) โดยจะให้การรับรองแก่ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของการนำเข้าและส่งออกสินค้าใน EU ที่ผ่านการตรวจสอบข้อมูล 5 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทข้อมูลด้านศุลกากร ข้อมูลและกระบวนการด้านโลจิสติกส์และการบัญชี ความสามารถในการชำระหนี้ และข้อกำหนดด้านความปลอดภัย อาทิ การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ระบบการรักษาความปลอดภัยของอาคารและโรงงาน และมาตรการเกี่ยวกับการอนุญาตเข้าสู่พื้นที่บรรจุสินค้า เป็นต้น
ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการซึ่งได้รับการรับรอง AEO ของ EU ได้รับ ได้แก่
- คะแนนความเสี่ยงต่ำ (Lower Risk Score) ทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์จากการถูกตรวจสอบสินค้าและเอกสารน้อยลง เนื่องจากได้รับความไว้วางใจจากศุลกากรของประเทศสมาชิก EU
- การนำสินค้าผ่านแดนรวดเร็วขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการซึ่งเป็น AEO จะได้รับการพิจารณาขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธีการศุลกากร โดยเฉพาะการตรวจสอบสินค้า ในประเทศสมาชิก EU ก่อนผู้ประกอบการที่ไม่ได้เป็น AEO
- ความน่าเชื่อในฐานะที่เป็นบริษัทซึ่งมีกระบวนการดำเนินงานที่ปลอดภัย ช่วยเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน
- การแลกเปลี่ยนสิทธิด้านศุลกากร (Mutual Recognition) จากประเทศที่นำระบบ AEO ภายใต้กรอบของ WCO มาใช้ โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรอง AEO ของ EU จะได้รับการยอมรับสถานะและได้สิทธิประโยชน์ด้านศุลกากรกับประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ระบบดังกล่าว เช่น การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร ขั้นตอนการตรวจสอบและเอกสารที่ลดน้อยลง ทั้งนี้ ปัจจุบันสหรัฐฯ และนิวซีแลนด์ มีการแลกเปลี่ยนสิทธิด้านศุลกากรระหว่างกันแล้ว ขณะที่ EU และสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการเจรจาในรายละเอียดและความเป็นไปได้ของการแลกเปลี่ยน
ทั้งนี้ คาดว่าในระยะแรก ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ใน EU จะเป็นกลุ่มแรกที่ยื่นขอการรับรองเป็น AEO อาทิ TNT ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าด่วนรายใหญ่อันดับ 1 ของ EU อยู่ระหว่างดำเนินการขอการรับรอง AEO ในหลายประเทศของ EU เพื่อให้ได้ประโยชน์จากความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน สำหรับประเทศไทย กรมศุลกากรอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด และรูปแบบในการนำโครงการ AEO ภายใต้กรอบ SAFE ที่เหมาะสมมาใช้ ซึ่งจะทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนสิทธิทางศุลกากรระหว่างกันกับประเทศคู่ค้าหลักในอนาคต
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2551--
-พห-