ปัจจุบันจีนเป็นประเทศผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ที่สุดในโลก มีปริมาณการใช้คิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณการใช้ยางพาราของทั้งโลก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ความต้องการใช้ยางพาราของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเฉลี่ยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี จนติดอันดับประเทศผู้นำเข้ายางพารารายใหญ่อันดับ 1 ของโลก ทั้งนี้ ในปี 2550 จีนนำเข้ายางพารามูลค่า 3,260 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เทียบกับปี 2549 โดยมีไทยครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 นอกจากนี้ จีนยังเป็นตลาดส่งออกยางพาราใหญ่ที่สุดของไทย โดยไทยส่งออกยางแท่งไปจีนมากที่สุดด้วยสัดส่วนร้อยละ 54 ของมูลค่าการส่งออกยางพาราทั้งหมดของไทย รองลงมา ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน (ร้อยละ 26)และน้ำยางข้น (ร้อยละ 19) สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจของตลาดยางพาราในจีน มีดังนี้
- การผลิต ปัจจุบันจีนผลิตยางพาราได้เพียงร้อยละ 25 ของความต้องการใช้ในประเทศ ทำให้จีนต้องนำเข้ายางพาราเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ทั้งนี้ ผลผลิตเกือบทั้งหมดมาจากมณฑลไห่หนาน (แหล่งเพาะปลูกยางอันดับ 1 ของจีน มีสัดส่วนเกือบร้อยละ 60 ของพื้นที่เพาะปลูกยางทั้งประเทศ) และยูนนาน เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและบางพื้นที่ในมณฑลกวางตุ้ง และฝูเจี้ยน เนื่องจากมีภูมิอากาศร้อนชื้นเหมาะต่อการทำสวนยาง ทั้งนี้ China Rubber Industry Association (CRIA) คาดว่าผลผลิตยางพาราในจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.8 แสนตัน ในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราวร้อยละ 10 ต่อปี จาก 6 แสนตัน ในปี 2550
- ความต้องการใช้ CRIA คาดว่าความต้องการใช้ยางพาราของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.18 ล้านตัน ในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราวร้อยละ 11.8 ต่อปี เทียบกับ 2.35 ล้านตัน ในปี 2550 โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในจีน เนื่องจากราวร้อยละ 60 ของปริมาณการใช้ยางพาราในจีน ใช้ผลิตยางรถยนต์อีกร้อยละ 40 ใช้ผลิตชิ้นส่วนอื่น ๆ ของรถยนต์ เช่น สายพาน ท่อน้ำ และอะไหล่รถยนต์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาง(เช่น ถุงยางอนามัย พื้นรองเท้า รองเท้ายาง) เป็นต้น มณฑลที่นำเข้ายางพารามากที่สุด คือ ชานตง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองชิงเต่า (Qingdao) ศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์และอุตสาหกรรมแปรรูปยางที่สำคัญของจีน
- กฎระเบียบการนำเข้า แม้จีนไม่จำกัดปริมาณนำเข้ายางพารา แต่กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตก่อนการนำเข้า และต้องนำเข้าผ่านบริษัทที่รัฐบาลจีนอนุญาตเท่านั้น สำหรับอัตราภาษีนำเข้า ปัจจุบันจีนเก็บภาษีนำเข้ายางแผ่นรมควันและยางแท่งในอัตราร้อยละ 20 น้ำยางข้นเก็บในอัตราร้อยละ 7.5 นอกจากนี้ การนำเข้ายางทุกประเภทต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 17 ทั้งนี้ ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน จีนจัดให้ยางทุกประเภทเป็นสินค้าอ่อนไหวสูง และกำหนดให้คงอัตราภาษีนำเข้าเดิมไปจนถึงปี 2558 การส่งออกยางพาราของไทยไปจีนจึงยังไม่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าว
- คู่แข่งสำคัญของไทย จำแนกตามประเภทของยางพาราที่ไทยส่งออกไปจีนได้ ดังนี้
1. ยางแท่ง จีนนำเข้ายางแท่งจากมาเลเซียมากที่สุด (ร้อยละ 37 ของมูลค่านำเข้ายางแท่งทั้งหมดของจีน)รองลงมา ได้แก่ ไทย (ร้อยละ 32) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 26)
2. ยางแผ่นรมควัน จีนนำเข้ายางแผ่นรมควันจากไทยมากที่สุด (ร้อยละ 83 ของมูลค่านำเข้ายางแผ่นรมควันทั้งหมดของจีน) รองลงมา ได้แก่ เวียดนาม (ร้อยละ 5) และมาเลเซีย (ร้อยละ 4)
3. น้ำยางข้น จีนนำเข้าน้ำยางข้นจากไทยมากที่สุด (ร้อยละ 81 ของมูลค่านำเข้าน้ำยางข้นทั้งหมดของจีน)รองลงมา ได้แก่ เวียดนาม (ร้อยละ 9) และมาเลเซีย (ร้อยละ 8)
เป็นที่น่าสังเกตว่า ขณะนี้รัฐบาลจีนกำลังเร่งส่งเสริมการเพาะปลูกยางพาราในประเทศเพื่อนบ้านทั้ง สปป.ลาว พม่า และกัมพูชา นอกจากนี้ ยังจะเพิ่มการนำเข้ายางพาราจากเวียดนาม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งตลาดยางพาราของไทยในจีนได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยางพาราของไทยจึงควรเร่งปรับตัวเพื่อให้พร้อมรับการแข่งขันในอนาคต รวมถึงการออกไปแสวงหาวัตถุดิบในประเทศอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าไทยอีกทางหนึ่งด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2551--
-พห-
- การผลิต ปัจจุบันจีนผลิตยางพาราได้เพียงร้อยละ 25 ของความต้องการใช้ในประเทศ ทำให้จีนต้องนำเข้ายางพาราเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ทั้งนี้ ผลผลิตเกือบทั้งหมดมาจากมณฑลไห่หนาน (แหล่งเพาะปลูกยางอันดับ 1 ของจีน มีสัดส่วนเกือบร้อยละ 60 ของพื้นที่เพาะปลูกยางทั้งประเทศ) และยูนนาน เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและบางพื้นที่ในมณฑลกวางตุ้ง และฝูเจี้ยน เนื่องจากมีภูมิอากาศร้อนชื้นเหมาะต่อการทำสวนยาง ทั้งนี้ China Rubber Industry Association (CRIA) คาดว่าผลผลิตยางพาราในจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.8 แสนตัน ในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราวร้อยละ 10 ต่อปี จาก 6 แสนตัน ในปี 2550
- ความต้องการใช้ CRIA คาดว่าความต้องการใช้ยางพาราของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.18 ล้านตัน ในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราวร้อยละ 11.8 ต่อปี เทียบกับ 2.35 ล้านตัน ในปี 2550 โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในจีน เนื่องจากราวร้อยละ 60 ของปริมาณการใช้ยางพาราในจีน ใช้ผลิตยางรถยนต์อีกร้อยละ 40 ใช้ผลิตชิ้นส่วนอื่น ๆ ของรถยนต์ เช่น สายพาน ท่อน้ำ และอะไหล่รถยนต์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาง(เช่น ถุงยางอนามัย พื้นรองเท้า รองเท้ายาง) เป็นต้น มณฑลที่นำเข้ายางพารามากที่สุด คือ ชานตง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองชิงเต่า (Qingdao) ศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์และอุตสาหกรรมแปรรูปยางที่สำคัญของจีน
- กฎระเบียบการนำเข้า แม้จีนไม่จำกัดปริมาณนำเข้ายางพารา แต่กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตก่อนการนำเข้า และต้องนำเข้าผ่านบริษัทที่รัฐบาลจีนอนุญาตเท่านั้น สำหรับอัตราภาษีนำเข้า ปัจจุบันจีนเก็บภาษีนำเข้ายางแผ่นรมควันและยางแท่งในอัตราร้อยละ 20 น้ำยางข้นเก็บในอัตราร้อยละ 7.5 นอกจากนี้ การนำเข้ายางทุกประเภทต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 17 ทั้งนี้ ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน จีนจัดให้ยางทุกประเภทเป็นสินค้าอ่อนไหวสูง และกำหนดให้คงอัตราภาษีนำเข้าเดิมไปจนถึงปี 2558 การส่งออกยางพาราของไทยไปจีนจึงยังไม่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าว
- คู่แข่งสำคัญของไทย จำแนกตามประเภทของยางพาราที่ไทยส่งออกไปจีนได้ ดังนี้
1. ยางแท่ง จีนนำเข้ายางแท่งจากมาเลเซียมากที่สุด (ร้อยละ 37 ของมูลค่านำเข้ายางแท่งทั้งหมดของจีน)รองลงมา ได้แก่ ไทย (ร้อยละ 32) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 26)
2. ยางแผ่นรมควัน จีนนำเข้ายางแผ่นรมควันจากไทยมากที่สุด (ร้อยละ 83 ของมูลค่านำเข้ายางแผ่นรมควันทั้งหมดของจีน) รองลงมา ได้แก่ เวียดนาม (ร้อยละ 5) และมาเลเซีย (ร้อยละ 4)
3. น้ำยางข้น จีนนำเข้าน้ำยางข้นจากไทยมากที่สุด (ร้อยละ 81 ของมูลค่านำเข้าน้ำยางข้นทั้งหมดของจีน)รองลงมา ได้แก่ เวียดนาม (ร้อยละ 9) และมาเลเซีย (ร้อยละ 8)
เป็นที่น่าสังเกตว่า ขณะนี้รัฐบาลจีนกำลังเร่งส่งเสริมการเพาะปลูกยางพาราในประเทศเพื่อนบ้านทั้ง สปป.ลาว พม่า และกัมพูชา นอกจากนี้ ยังจะเพิ่มการนำเข้ายางพาราจากเวียดนาม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งตลาดยางพาราของไทยในจีนได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยางพาราของไทยจึงควรเร่งปรับตัวเพื่อให้พร้อมรับการแข่งขันในอนาคต รวมถึงการออกไปแสวงหาวัตถุดิบในประเทศอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าไทยอีกทางหนึ่งด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2551--
-พห-