แอฟริกาใต้ เป็นตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ที่น่าสนใจ ด้วยมูลค่านำเข้าสูงถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 17 เทียบกับปี 2549 ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นผลจากการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องในแอฟริกาใต้ของค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลก อาทิ General Motor Daimler Chrysler BMW Ford และ Toyota ปัจจุบันแอฟริกาใต้ผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับ 1 ของทวีปแอฟริกา
ด้วยปริมาณการผลิตสูงถึง 5.4 แสนคัน คิดเป็นร้อยละ 80 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งทวีป ในปี 2550 และคาดว่าจะสูงถึง 1 ล้านคัน ในปี 2563 ทั้งนี้ กว่าร้อยละ 90 ของโรงงานผลิตรถยนต์ในแอฟริกาใต้กระจุกตัวอยู่ใน 3 มลรัฐ ได้แก่ มลรัฐกัวเต็ง (Gauteng) มลรัฐอีสเทิร์นเคป (Eastern Cape) และมลรัฐควาซูลู-นาทาล (KwaZulu-Natal )
ด้วยขนาดของตลาดรถยนต์ที่ใหญ่และมีศักยภาพสูงในการเติบโต ประกอบกับประชากรมีกำลังซื้อสูงสุดในภูมิภาคด้วยรายได้เฉลี่ย 5,630 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี จึงเป็นโอกาสของผู้ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่จะหันมาเน้นเจาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพอย่างแอฟริกาใต้ เพื่อลดแรงเสียดทาน
จากการแข่งขันที่รุนแรงของชิ้นส่วนยานยนต์ราคาถูกจากจีนในตลาดส่งออกหลัก โดยเฉพาะอาเซียนและญี่ปุ่นสำหรับรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ในแอฟริกาใต้ มีดังนี้
- อัตราภาษีนำเข้า ภายใต้นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ (Motor Industry Development Plan : MIDP) ของแอฟริกาใต้ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2538 โดยมุ่งเน้นผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกจากเดิมที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ทำให้แอฟริกาใต้ต้องปรับลดอัตราภาษีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ลงเหลือร้อยละ 25 ในปี 2550 (จากอัตราเดิมร้อยละ 30) และจะปรับลดลงเหลือร้อยละ 20 ภายในปี 2555
- ส่วนแบ่งตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ ในปี 2550 แอฟริกาใต้นำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากเยอรมนีสูงสุดมูลค่า 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 35 ของมูลค่านำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์รวม รองลงมาคือญี่ปุ่น (ร้อยละ 8) และสหรัฐฯ (ร้อยละ 7) ส่วนหนึ่งเป็นการนำเข้าของค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในแอฟริกาใต้โดยนำเข้าจากบริษัทลูกของตน ขณะที่ชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยมีส่วนแบ่งตลาดในแอฟริกาใต้ร้อยละ 5 หรืออยู่ที่อันดับ 7
- รสนิยมการใช้รถยนต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เป็นที่นิยมสูงสุดถึงร้อยละ 67 ของจำนวนรถยนต์ในแอฟริกาใต้ ที่เหลือร้อยละ 33 เป็นรถยนต์บรรทุกเบา (มีน้ำหนักบรรทุกต่ำกว่า 3.5 ตัน) และรถยนต์บรรทุกขนาดกลางและหนัก (มีน้ำหนักบรรทุกรวมสูงกว่า 3.5 ตัน แต่ไม่เกิน 10 ตัน) ทั้งนี้ รถยนต์ส่วนใหญ่ในแอฟริกาใต้มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี จึงเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์โดยเฉพาะชิ้นส่วนทดแทน ทั้งประเภทอะไหล่แท้ และอะไหล่เทียม จำพวกอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ และชิ้นส่วนที่มียางธรรมชาติเป็นส่วนประกอบ เช่น ยางรองแท่นเครื่อง ยางแผ่นรองพื้น และยางรองขอบประตูเนื่องจากแอฟริกาใต้ยังไม่สามารถผลิตยางธรรมชาติได้เอง ประกอบกับผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตในประเทศ
ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ได้เพียงพอ
- ช่องทางการจำหน่าย แอฟริกาใต้มีช่องทางจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์หลายช่องทาง อาทิ จำหน่ายผ่านร้านค้าขนาดใหญ่ (Hypermarket) เช่น Makro และ Pick’n Pay จำหน่ายผ่านระบบ Franchise เช่น บริษัท Midas บริษัท ENGEN จำหน่ายผ่านผู้ค้าส่ง ที่มีร้านค้าปลีกเป็นสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศเช่น บริษัท Super Group หรือ จำหน่ายผ่านร้านค้าปลีกรายย่อย เช่น บริษัท NAPA เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2551--
-พห-
ด้วยปริมาณการผลิตสูงถึง 5.4 แสนคัน คิดเป็นร้อยละ 80 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งทวีป ในปี 2550 และคาดว่าจะสูงถึง 1 ล้านคัน ในปี 2563 ทั้งนี้ กว่าร้อยละ 90 ของโรงงานผลิตรถยนต์ในแอฟริกาใต้กระจุกตัวอยู่ใน 3 มลรัฐ ได้แก่ มลรัฐกัวเต็ง (Gauteng) มลรัฐอีสเทิร์นเคป (Eastern Cape) และมลรัฐควาซูลู-นาทาล (KwaZulu-Natal )
ด้วยขนาดของตลาดรถยนต์ที่ใหญ่และมีศักยภาพสูงในการเติบโต ประกอบกับประชากรมีกำลังซื้อสูงสุดในภูมิภาคด้วยรายได้เฉลี่ย 5,630 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี จึงเป็นโอกาสของผู้ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่จะหันมาเน้นเจาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพอย่างแอฟริกาใต้ เพื่อลดแรงเสียดทาน
จากการแข่งขันที่รุนแรงของชิ้นส่วนยานยนต์ราคาถูกจากจีนในตลาดส่งออกหลัก โดยเฉพาะอาเซียนและญี่ปุ่นสำหรับรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ในแอฟริกาใต้ มีดังนี้
- อัตราภาษีนำเข้า ภายใต้นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ (Motor Industry Development Plan : MIDP) ของแอฟริกาใต้ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2538 โดยมุ่งเน้นผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกจากเดิมที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ทำให้แอฟริกาใต้ต้องปรับลดอัตราภาษีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ลงเหลือร้อยละ 25 ในปี 2550 (จากอัตราเดิมร้อยละ 30) และจะปรับลดลงเหลือร้อยละ 20 ภายในปี 2555
- ส่วนแบ่งตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ ในปี 2550 แอฟริกาใต้นำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากเยอรมนีสูงสุดมูลค่า 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 35 ของมูลค่านำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์รวม รองลงมาคือญี่ปุ่น (ร้อยละ 8) และสหรัฐฯ (ร้อยละ 7) ส่วนหนึ่งเป็นการนำเข้าของค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในแอฟริกาใต้โดยนำเข้าจากบริษัทลูกของตน ขณะที่ชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยมีส่วนแบ่งตลาดในแอฟริกาใต้ร้อยละ 5 หรืออยู่ที่อันดับ 7
- รสนิยมการใช้รถยนต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เป็นที่นิยมสูงสุดถึงร้อยละ 67 ของจำนวนรถยนต์ในแอฟริกาใต้ ที่เหลือร้อยละ 33 เป็นรถยนต์บรรทุกเบา (มีน้ำหนักบรรทุกต่ำกว่า 3.5 ตัน) และรถยนต์บรรทุกขนาดกลางและหนัก (มีน้ำหนักบรรทุกรวมสูงกว่า 3.5 ตัน แต่ไม่เกิน 10 ตัน) ทั้งนี้ รถยนต์ส่วนใหญ่ในแอฟริกาใต้มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี จึงเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์โดยเฉพาะชิ้นส่วนทดแทน ทั้งประเภทอะไหล่แท้ และอะไหล่เทียม จำพวกอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ และชิ้นส่วนที่มียางธรรมชาติเป็นส่วนประกอบ เช่น ยางรองแท่นเครื่อง ยางแผ่นรองพื้น และยางรองขอบประตูเนื่องจากแอฟริกาใต้ยังไม่สามารถผลิตยางธรรมชาติได้เอง ประกอบกับผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตในประเทศ
ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ได้เพียงพอ
- ช่องทางการจำหน่าย แอฟริกาใต้มีช่องทางจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์หลายช่องทาง อาทิ จำหน่ายผ่านร้านค้าขนาดใหญ่ (Hypermarket) เช่น Makro และ Pick’n Pay จำหน่ายผ่านระบบ Franchise เช่น บริษัท Midas บริษัท ENGEN จำหน่ายผ่านผู้ค้าส่ง ที่มีร้านค้าปลีกเป็นสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศเช่น บริษัท Super Group หรือ จำหน่ายผ่านร้านค้าปลีกรายย่อย เช่น บริษัท NAPA เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2551--
-พห-