อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และหลากหลาย ทั้งทรัพยากรทางทะเล น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุต่าง ๆ ประกอบกับมีแรงงานจำนวนมากและค่าจ้างแรงงานยังค่อนข้างต่ำ อีกทั้ง เป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรกว่า 230 ล้านคน (มากเป็นอันดับ 4 ของโลก) นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียยังมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ ทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพเหมาะต่อการเข้าไปแสวงหาโอกาสการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง สำหรับข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับนโยบายและสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในอินโดนีเซียมีดังนี้
- นโยบายส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2550 อินโดนีเซียได้ออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ที่บังคับใช้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เน้นสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับนักลงทุนท้องถิ่น และกำหนดให้ Indonesia Investment Coordinating Board (BKPM) ทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนและออกใบอนุญาตให้แก่นักลงทุนต่างชาติในลักษณะ One-Stop Service ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาอนุมัติการลงทุนจาก 90 วัน เหลือเพียง 30 วัน ยกเว้น การลงทุนในกิจการเหมืองแร่ พลังงาน
การเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และประมง จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานหรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องด้วย นอกจากนี้ ยังขยายเวลาการให้สิทธิในการใช้ที่ดินจากเดิมสูงสุด 60 ปี เป็น 95 ปี (ขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการใช้ที่ดิน)
- กิจการที่ห้ามชาวต่างชาติลงทุน มีจำนวน 25 ธุรกิจ อาทิ การตัดไม้ บริการด้านการกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจดังกล่าวมีสัดส่วนเพียงไม่ถึงร้อยละ 1 ของจำนวนธุรกิจทั้งหมดในอินโดนีเซีย
- กิจการที่รัฐบาลส่งเสริมเป็นพิเศษ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- กิจการที่ส่งเสริมการลงทุนในทุกพื้นที่ของประเทศจำนวน 15 สาขา อาทิ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยางและผลิตภัณฑ์ ยานยนต์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และเวชภัณฑ์ เป็นต้น
- กิจการที่ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ที่กำหนดจำนวน 7 สาขา อาทิ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง บนพื้นที่เกาะสุลาเวสี มาลุกุ ปาปัว อีเรียนจายาตะวันตก กิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์และบรรจุภัณฑ์พลาสติก ในพื้นที่นอกเกาะชวา เป็นต้น เพื่อกระจายการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งยังมีการลงทุนไม่มากนัก
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนในกิจการที่รัฐบาลส่งเสริมเป็นพิเศษ รวมถึงกิจการอื่น ๆ ในสัดส่วนเงินลงทุนมากกว่าร้อยละ 49 ได้ อาทิ การผลิตกระแสไฟฟ้า รับเหมาก่อสร้าง บริการทางการแพทย์ ประกันภัยอย่างไรก็ตาม บางกิจการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม อาทิ อุตสาหกรรมประมงและการแปรรูป กำหนดให้ต้องร่วมทุนกับชาวอินโดนีเซียเท่านั้น
- สิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนในกิจการที่รัฐบาลส่งเสริมเป็นพิเศษ
- สามารถนำเงินลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 5 มาหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 6 ปี
- สามารถหักลดหย่อนค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ได้เพิ่มขึ้น โดยใช้สูตรในการคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ตาม “Regulation of the Minister of Finance Number : 16/PMK.03/2007” ของอินโดนีเซีย
- ลด/ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าทุน อุปกรณ์และเครื่องจักร รวมถึงวัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิต/จัดหาได้ภายในประเทศ รวมทั้งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งในโรงงานจากอัตราปกติร้อยละ 10 ทั้งนี้ ไม่รวมอะไหล่ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ดังกล่าว
นโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลอินโดนีเซียที่มีความชัดเจนขึ้น ส่งผลให้ในปี 2550 มูลค่าลงทุนทางตรงจากต่างประเทศที่แท้จริง (Actual FDI) ในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71 เป็น 10.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2545 สำหรับกิจการที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียมาก ได้แก่ ธุรกิจขนส่งคลังสินค้า อุตสาหกรรมยาและเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2551--
-พห-
- นโยบายส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2550 อินโดนีเซียได้ออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ที่บังคับใช้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เน้นสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับนักลงทุนท้องถิ่น และกำหนดให้ Indonesia Investment Coordinating Board (BKPM) ทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนและออกใบอนุญาตให้แก่นักลงทุนต่างชาติในลักษณะ One-Stop Service ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาอนุมัติการลงทุนจาก 90 วัน เหลือเพียง 30 วัน ยกเว้น การลงทุนในกิจการเหมืองแร่ พลังงาน
การเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และประมง จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานหรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องด้วย นอกจากนี้ ยังขยายเวลาการให้สิทธิในการใช้ที่ดินจากเดิมสูงสุด 60 ปี เป็น 95 ปี (ขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการใช้ที่ดิน)
- กิจการที่ห้ามชาวต่างชาติลงทุน มีจำนวน 25 ธุรกิจ อาทิ การตัดไม้ บริการด้านการกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจดังกล่าวมีสัดส่วนเพียงไม่ถึงร้อยละ 1 ของจำนวนธุรกิจทั้งหมดในอินโดนีเซีย
- กิจการที่รัฐบาลส่งเสริมเป็นพิเศษ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- กิจการที่ส่งเสริมการลงทุนในทุกพื้นที่ของประเทศจำนวน 15 สาขา อาทิ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยางและผลิตภัณฑ์ ยานยนต์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และเวชภัณฑ์ เป็นต้น
- กิจการที่ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ที่กำหนดจำนวน 7 สาขา อาทิ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง บนพื้นที่เกาะสุลาเวสี มาลุกุ ปาปัว อีเรียนจายาตะวันตก กิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์และบรรจุภัณฑ์พลาสติก ในพื้นที่นอกเกาะชวา เป็นต้น เพื่อกระจายการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งยังมีการลงทุนไม่มากนัก
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนในกิจการที่รัฐบาลส่งเสริมเป็นพิเศษ รวมถึงกิจการอื่น ๆ ในสัดส่วนเงินลงทุนมากกว่าร้อยละ 49 ได้ อาทิ การผลิตกระแสไฟฟ้า รับเหมาก่อสร้าง บริการทางการแพทย์ ประกันภัยอย่างไรก็ตาม บางกิจการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม อาทิ อุตสาหกรรมประมงและการแปรรูป กำหนดให้ต้องร่วมทุนกับชาวอินโดนีเซียเท่านั้น
- สิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนในกิจการที่รัฐบาลส่งเสริมเป็นพิเศษ
- สามารถนำเงินลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 5 มาหักค่าลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 6 ปี
- สามารถหักลดหย่อนค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ได้เพิ่มขึ้น โดยใช้สูตรในการคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ตาม “Regulation of the Minister of Finance Number : 16/PMK.03/2007” ของอินโดนีเซีย
- ลด/ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าทุน อุปกรณ์และเครื่องจักร รวมถึงวัตถุดิบที่ไม่สามารถผลิต/จัดหาได้ภายในประเทศ รวมทั้งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งในโรงงานจากอัตราปกติร้อยละ 10 ทั้งนี้ ไม่รวมอะไหล่ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ดังกล่าว
นโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลอินโดนีเซียที่มีความชัดเจนขึ้น ส่งผลให้ในปี 2550 มูลค่าลงทุนทางตรงจากต่างประเทศที่แท้จริง (Actual FDI) ในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71 เป็น 10.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2545 สำหรับกิจการที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียมาก ได้แก่ ธุรกิจขนส่งคลังสินค้า อุตสาหกรรมยาและเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2551--
-พห-