เป็นที่ทราบกันว่าไทย- สปป.ลาว มีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมระหว่างกันหลายเส้นทาง ทั้งถนน และสะพานข้ามแม่น้ำโขงบริเวณจุดเชื่อมต่อในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกันให้เป็นไปอย่างคล่องตัว ซึ่งหนึ่งในเส้นทางคมนาคมที่มีบทบาทสำคัญ คือ เส้นทางสาย R3E ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตามแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) ของภูมิภาคอินโดจีน เชื่อมไทย สปป.ลาว และจีน ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2551 ทางการไทย และทางการ สปป.ลาว ได้ร่วมกันเปิดใช้เส้นทางดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ การเปิดใช้เส้นทาง R3E คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจในพื้นที่ที่เส้นทางดังกล่าวตัดผ่าน โดยเฉพาะบริเวณจุดเชื่อมต่อที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายของไทย และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้วของ สปป.ลาว ขยายตัวขึ้นมาก อันเป็นผลมาจากการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวที่จะหลั่งไหลเข้ามา โดยเฉพาะจากนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้ การเปิดใช้เส้นทาง R3E ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยและ สปป.ลาว ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย
ภาพรวมเส้นทาง R3E
เส้นทาง R3E แบ่งตามประเทศที่ถนนตัดผ่านได้เป็น
เส้นทาง R3E ในไทย ระยะทางราว 110 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นช่วงระหว่างตัวเมืองเชียงรายกับอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย (เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหลวงหมายเลข 1152 และเส้นทางหลวงหมายเลข 1020) มีลักษณะเป็นถนนลาดยางมะตอย กว้าง 10 เมตร รถวิ่งสวนกัน 2 ช่องจราจร ซึ่งไทยมีนโยบายที่จะปรับปรุงถนนเป็น 4 ช่องจราจร ในช่วงจากตัวเมืองเชียงรายถึงอำเภอพญาเม็งราย ระยะทาง 50 กิโลเมตร ในปี 2551 และจากอำเภอพญาเม็งรายถึงอำเภอเชียงของอีก 60 กิโลเมตร ในปี 2552
เส้นทาง R3E ใน สปป.ลาว ระยะทางราว 228 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่กิโลเมตรที่ 0 (ห่างจากปลายสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ฝั่ง สปป.ลาว ประมาณ 5.41 กิโลเมตร) ต่อไปยัง ---> กิโลเมตรที่ 84 บ้านสอด แขวงบ่อแก้ว ระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร ---> กิโลเมตรที่ 159 บ้านน้ำลัง แขวงหลวงน้ำทา ระยะทางประมาณ 74 กิโลเมตร (พื้นที่มีลักษณะเป็นภูเขาสูงจึงต้องก่อสร้างถนนเลียบตามไหล่เขาเป็นหลัก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที หรือเฉลี่ยประมาณ 21 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) --->ด่านบ่อเต็น ระยะทางประมาณ 69 กิโลเมตร (พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง) อยู่ติดกับชายแดนจีนที่บ่อหาน (มณฑลยูนนาน)
นอกจากนี้ ปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เพื่อสนับสนุนให้การคมนาคมผ่านเส้นทาง R3E คล่องตัวและสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ทางการไทย และทางการ สปป.ลาว ได้ร่วมกันกำหนดจุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ที่บริเวณบ้านดอนมหาวัน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายของไทย ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับทางใต้ของเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้วของ สปป.ลาว โครงการประกอบด้วยตัวสะพานซึ่งมีความกว้าง 13.7 เมตร ยาว 630 เมตร และถนนซึ่งเชื่อมต่อกับถนนสายหลัก (R3E) ในฝั่งไทยระยะทาง 4.45 กิโลเมตร และในฝั่ง สปป.ลาว ระยะทาง 5.41 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้างรวม 1,600 ล้านบาท โดยไทยและจีนอนุมัติเงินทุนสนับสนุนการก่อสร้างฝ่ายละครึ่งหนึ่งของมูลค่าก่อสร้างรวม ในเบื้องต้นคาดว่าสะพานจะก่อสร้างแล้วเสร็จราวปี 2554
“เชียงของ” พัฒนาสู่การเป็นประตูเศรษฐกิจตอนบนของไทย
อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายราว 114 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1129 (เชียงแสน - เชียงของ) เป็นพื้นที่ที่อยู่ในโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เมืองชายแดนของประเทศไทย เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ที่จะเชื่อมโยงเส้นทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเข้าด้วยกัน
ศักยภาพทางเศรษฐกิจของอำเภอเชียงของ
- ด้านการลงทุน
จากความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งของอำเภอเชียงของ ซึ่งอยู่ใกล้กับเส้นทาง R3E ที่สามารถเชื่อมต่อ ไปยัง สปป.ลาว และจีน ส่งผลให้เชียงของมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร และเขตอุตสาหกรรมทั่วไป โดยเชียงของถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในสามอำเภอ (ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ) ของจังหวัดเชียงรายในการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ได้กำหนดให้จัดตั้ง “เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ” ขึ้นที่ตำบลศรีดอนชัย และตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย บนพื้นที่ 16,000 ไร่ (ปัจจุบันยังไม่มีรายงานความคืบหน้าใด ๆ) ทั้งนี้ หากการจัดตั้งแล้วเสร็จ เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของไทย
สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่น่าลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ ได้แก่ เกษตรแปรรูป อัญมณี เครื่องประดับ สิ่งทอ (เสื้อผ้า ผ้าไหม) โลจิสติกส์ (การขนส่ง คลังสินค้า คลังน้ำมัน และตลาดกลาง) ชิ้นส่วนรถยนต์ จักรยานยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
- ด้านการท่องเที่ยว
แม้อำเภอเชียงของมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวน้อยกว่าอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดเชียงราย แต่อำเภอเชียงของมีเสน่ห์หลายด้านทางการท่องเที่ยว อาทิ มีชื่อเสียงด้านการจับปลาบึกและเป็นแหล่งอนุรักษ์และแพร่พันธุ์ปลาบึกซึ่งเป็นปลาที่มีในแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียว มีพิธีบวงสรวงปลาบึกในวันที่ 18 เมษายน ของทุกปี นอกจากนี้ อำเภอเชียงของยังมีหมู่บ้านทอผ้าของชาวไทลื้อ ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการทอผ้าพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
บ่อแก้ว : เปิดประตูสู่ สปป.ลาว ตอนบน
แขวงบ่อแก้ว ตั้งอยู่ทางตอนเหนือทางฝั่งตะวันตกของ สปป.ลาว มีพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับแขวงหลวงน้ำทา ทิศตะวันออกติดกับแขวงไชยะบุรี และแขวงอุดมไชย ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเชียงราย และพม่า เป็นแขวง ที่เล็กที่สุดของ สปป.ลาว มีพื้นที่ราว 3.87 ล้านไร่ มีเมืองห้วยทรายเป็นเมืองหลวง แขวงบ่อแก้วเป็นที่รู้จักด้านการเป็นแหล่งอัญมณีและเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
ศักยภาพทางเศรษฐกิจของแขวงบ่อแก้ว
- ด้านการท่องเที่ยว
แขวงบ่อแก้วมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ส่วนใหญ่เป็นวัดและสถานที่เก่าแก่ต่าง ๆ เช่น วัดจอมแก้วมณีรัตน์ วัดพระธาตุตากผ้าทอง อนุสาวรีย์ของท่านไกรสร พรหมวิหาร อดีตนายกรัฐมนตรีของ สปป.ลาว ตลอดจนมีวิถีชีวิตของชาวบ้านชนเผ่าต่างๆ ตามหมู่บ้านรอบเมือง อาทิ หมู่บ้านยองหิน ที่มีภูมิปัญญาของชาวไทลื้อ ที่สามารถสร้างบ้านไม้แบบเคลื่อนย้ายได้ หมู่บ้านต้มเหล้า ซึ่งชาวบ้านมีภูมิปัญญาในเรื่องการต้มเหล้า เป็นต้น
เมื่อประกอบกับแขวงบ่อแก้วเป็นแขวงหน้าด่านของ สปป.ลาว ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังแขวงอื่น ๆ ต่อไป ทำให้คาดได้ว่าการเปิดใช้เส้นทาง R3E จะทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังแขวงบ่อแก้วมากขึ้น
- ด้านการลงทุน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการก่อสร้างเส้นทาง R3E ได้มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาสำรวจลู่ทางการลงทุนในแขวงบ่อแก้วอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากจีนและเวียดนามที่สนใจลงทุนโดยเฉพาะด้านการเกษตร (อาทิ การปลูกยางพาราและไร่อ้อยขนาดใหญ่) อุตสาหกรรมเบา การท่องเที่ยว และเหมืองแร่ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีนักลงทุนจากมณฑลยูนนานของจีนเตรียมเข้ามาลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง อาทิ โรงแรม สนามกอล์ฟ และศูนย์การค้า มูลค่าเกือบ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีนักลงทุนจากเกาหลีเข้ามาทำสัญญาเช่าที่ดินจำนวนหลายร้อยไร่บริเวณใกล้กับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เพื่อเตรียมก่อสร้างโรงแรม ขนาดใหญ่และศูนย์จำหน่ายสินค้าปลอดภาษี
- ด้านโลจิสติกส์
บริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งครอบคลุมธุรกิจขนส่ง คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า รวมถึงธุรกิจให้บริการรับส่งผู้โดยสาร เพื่อรองรับความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เป็นธุรกิจที่น่าสนใจและจะทวีความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ หากการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่อำเภอเชียงของทางฝั่งไทยแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนสร้างคลังสินค้าในเมืองห้วยทรายบ้างแล้ว รวมทั้งมีตลาดจำหน่ายสินค้าจีนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางข้ามไปยังแขวงบ่อแก้ว
การเปิดใช้เส้นทาง R3E ไม่เพียงแต่จะช่วยให้การค้าและการลงทุนในพื้นที่ต่าง ๆ ตามเส้นทาง R3E และบริเวณใกล้เคียงขยายตัวดี แต่ยังหมายถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย สปป.ลาว และจีน ที่เชื่อมโยงกันด้วยเส้นทางคมนาคมสายนี้อีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2551--
-พห-
ภาพรวมเส้นทาง R3E
เส้นทาง R3E แบ่งตามประเทศที่ถนนตัดผ่านได้เป็น
เส้นทาง R3E ในไทย ระยะทางราว 110 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นช่วงระหว่างตัวเมืองเชียงรายกับอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย (เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหลวงหมายเลข 1152 และเส้นทางหลวงหมายเลข 1020) มีลักษณะเป็นถนนลาดยางมะตอย กว้าง 10 เมตร รถวิ่งสวนกัน 2 ช่องจราจร ซึ่งไทยมีนโยบายที่จะปรับปรุงถนนเป็น 4 ช่องจราจร ในช่วงจากตัวเมืองเชียงรายถึงอำเภอพญาเม็งราย ระยะทาง 50 กิโลเมตร ในปี 2551 และจากอำเภอพญาเม็งรายถึงอำเภอเชียงของอีก 60 กิโลเมตร ในปี 2552
เส้นทาง R3E ใน สปป.ลาว ระยะทางราว 228 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่กิโลเมตรที่ 0 (ห่างจากปลายสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ฝั่ง สปป.ลาว ประมาณ 5.41 กิโลเมตร) ต่อไปยัง ---> กิโลเมตรที่ 84 บ้านสอด แขวงบ่อแก้ว ระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร ---> กิโลเมตรที่ 159 บ้านน้ำลัง แขวงหลวงน้ำทา ระยะทางประมาณ 74 กิโลเมตร (พื้นที่มีลักษณะเป็นภูเขาสูงจึงต้องก่อสร้างถนนเลียบตามไหล่เขาเป็นหลัก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที หรือเฉลี่ยประมาณ 21 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) --->ด่านบ่อเต็น ระยะทางประมาณ 69 กิโลเมตร (พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง) อยู่ติดกับชายแดนจีนที่บ่อหาน (มณฑลยูนนาน)
นอกจากนี้ ปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เพื่อสนับสนุนให้การคมนาคมผ่านเส้นทาง R3E คล่องตัวและสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ทางการไทย และทางการ สปป.ลาว ได้ร่วมกันกำหนดจุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ที่บริเวณบ้านดอนมหาวัน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายของไทย ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับทางใต้ของเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้วของ สปป.ลาว โครงการประกอบด้วยตัวสะพานซึ่งมีความกว้าง 13.7 เมตร ยาว 630 เมตร และถนนซึ่งเชื่อมต่อกับถนนสายหลัก (R3E) ในฝั่งไทยระยะทาง 4.45 กิโลเมตร และในฝั่ง สปป.ลาว ระยะทาง 5.41 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้างรวม 1,600 ล้านบาท โดยไทยและจีนอนุมัติเงินทุนสนับสนุนการก่อสร้างฝ่ายละครึ่งหนึ่งของมูลค่าก่อสร้างรวม ในเบื้องต้นคาดว่าสะพานจะก่อสร้างแล้วเสร็จราวปี 2554
“เชียงของ” พัฒนาสู่การเป็นประตูเศรษฐกิจตอนบนของไทย
อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายราว 114 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1129 (เชียงแสน - เชียงของ) เป็นพื้นที่ที่อยู่ในโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เมืองชายแดนของประเทศไทย เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ที่จะเชื่อมโยงเส้นทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเข้าด้วยกัน
ศักยภาพทางเศรษฐกิจของอำเภอเชียงของ
- ด้านการลงทุน
จากความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งของอำเภอเชียงของ ซึ่งอยู่ใกล้กับเส้นทาง R3E ที่สามารถเชื่อมต่อ ไปยัง สปป.ลาว และจีน ส่งผลให้เชียงของมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร และเขตอุตสาหกรรมทั่วไป โดยเชียงของถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในสามอำเภอ (ได้แก่ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ) ของจังหวัดเชียงรายในการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ได้กำหนดให้จัดตั้ง “เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ” ขึ้นที่ตำบลศรีดอนชัย และตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย บนพื้นที่ 16,000 ไร่ (ปัจจุบันยังไม่มีรายงานความคืบหน้าใด ๆ) ทั้งนี้ หากการจัดตั้งแล้วเสร็จ เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของไทย
สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่น่าลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงของ ได้แก่ เกษตรแปรรูป อัญมณี เครื่องประดับ สิ่งทอ (เสื้อผ้า ผ้าไหม) โลจิสติกส์ (การขนส่ง คลังสินค้า คลังน้ำมัน และตลาดกลาง) ชิ้นส่วนรถยนต์ จักรยานยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
- ด้านการท่องเที่ยว
แม้อำเภอเชียงของมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวน้อยกว่าอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดเชียงราย แต่อำเภอเชียงของมีเสน่ห์หลายด้านทางการท่องเที่ยว อาทิ มีชื่อเสียงด้านการจับปลาบึกและเป็นแหล่งอนุรักษ์และแพร่พันธุ์ปลาบึกซึ่งเป็นปลาที่มีในแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียว มีพิธีบวงสรวงปลาบึกในวันที่ 18 เมษายน ของทุกปี นอกจากนี้ อำเภอเชียงของยังมีหมู่บ้านทอผ้าของชาวไทลื้อ ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการทอผ้าพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
บ่อแก้ว : เปิดประตูสู่ สปป.ลาว ตอนบน
แขวงบ่อแก้ว ตั้งอยู่ทางตอนเหนือทางฝั่งตะวันตกของ สปป.ลาว มีพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับแขวงหลวงน้ำทา ทิศตะวันออกติดกับแขวงไชยะบุรี และแขวงอุดมไชย ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเชียงราย และพม่า เป็นแขวง ที่เล็กที่สุดของ สปป.ลาว มีพื้นที่ราว 3.87 ล้านไร่ มีเมืองห้วยทรายเป็นเมืองหลวง แขวงบ่อแก้วเป็นที่รู้จักด้านการเป็นแหล่งอัญมณีและเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
ศักยภาพทางเศรษฐกิจของแขวงบ่อแก้ว
- ด้านการท่องเที่ยว
แขวงบ่อแก้วมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ส่วนใหญ่เป็นวัดและสถานที่เก่าแก่ต่าง ๆ เช่น วัดจอมแก้วมณีรัตน์ วัดพระธาตุตากผ้าทอง อนุสาวรีย์ของท่านไกรสร พรหมวิหาร อดีตนายกรัฐมนตรีของ สปป.ลาว ตลอดจนมีวิถีชีวิตของชาวบ้านชนเผ่าต่างๆ ตามหมู่บ้านรอบเมือง อาทิ หมู่บ้านยองหิน ที่มีภูมิปัญญาของชาวไทลื้อ ที่สามารถสร้างบ้านไม้แบบเคลื่อนย้ายได้ หมู่บ้านต้มเหล้า ซึ่งชาวบ้านมีภูมิปัญญาในเรื่องการต้มเหล้า เป็นต้น
เมื่อประกอบกับแขวงบ่อแก้วเป็นแขวงหน้าด่านของ สปป.ลาว ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังแขวงอื่น ๆ ต่อไป ทำให้คาดได้ว่าการเปิดใช้เส้นทาง R3E จะทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังแขวงบ่อแก้วมากขึ้น
- ด้านการลงทุน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการก่อสร้างเส้นทาง R3E ได้มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาสำรวจลู่ทางการลงทุนในแขวงบ่อแก้วอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากจีนและเวียดนามที่สนใจลงทุนโดยเฉพาะด้านการเกษตร (อาทิ การปลูกยางพาราและไร่อ้อยขนาดใหญ่) อุตสาหกรรมเบา การท่องเที่ยว และเหมืองแร่ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีนักลงทุนจากมณฑลยูนนานของจีนเตรียมเข้ามาลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง อาทิ โรงแรม สนามกอล์ฟ และศูนย์การค้า มูลค่าเกือบ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีนักลงทุนจากเกาหลีเข้ามาทำสัญญาเช่าที่ดินจำนวนหลายร้อยไร่บริเวณใกล้กับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เพื่อเตรียมก่อสร้างโรงแรม ขนาดใหญ่และศูนย์จำหน่ายสินค้าปลอดภาษี
- ด้านโลจิสติกส์
บริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งครอบคลุมธุรกิจขนส่ง คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า รวมถึงธุรกิจให้บริการรับส่งผู้โดยสาร เพื่อรองรับความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เป็นธุรกิจที่น่าสนใจและจะทวีความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ หากการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่อำเภอเชียงของทางฝั่งไทยแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนสร้างคลังสินค้าในเมืองห้วยทรายบ้างแล้ว รวมทั้งมีตลาดจำหน่ายสินค้าจีนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางข้ามไปยังแขวงบ่อแก้ว
การเปิดใช้เส้นทาง R3E ไม่เพียงแต่จะช่วยให้การค้าและการลงทุนในพื้นที่ต่าง ๆ ตามเส้นทาง R3E และบริเวณใกล้เคียงขยายตัวดี แต่ยังหมายถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย สปป.ลาว และจีน ที่เชื่อมโยงกันด้วยเส้นทางคมนาคมสายนี้อีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2551--
-พห-