นับตั้งแต่ปี 2545 สต็อกข้าวโลกเริ่มมีทิศทางปรับลดลงมาเป็นลำดับ จาก 147 ล้านตันในปี 2544 จนมาทรงตัวที่ระดับราว 70 ล้านตันเศษในช่วง 4 ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียง 18% ของปริมาณการบริโภคข้าวทั่วโลก เทียบกับที่เคยสูงถึง 37% ในปี 2544 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปริมาณผลผลิตข้าวโลกหดหายลงเรื่อย ๆ ตามการขยายตัวของเมือง อีกทั้งสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนในหลายประเทศ ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่มี
แนวโน้มลดลง ขณะที่ปริมาณการบริโภคข้าวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลให้ระดับราคาข้าวปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 5 ปี และคาดว่าจะยังคงทรงตัวในระดับสูงต่อไปจากการที่พื้นที่เพาะปลูกข้าวมีแนวโน้มถูกจำกัดมากขึ้น จากการเข้ามาแย่งพื้นที่เพาะปลูกของพืชพลังงาน และการที่หลายประเทศเข้มงวดกับการสงวนพื้นที่ป่าไว้เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นราคาข้าวในช่วงปี 2545-2550 เป็นการปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เมื่อเข้าสู่ปี 2551 จนถึง
ปัจจุบัน (เดือนเมษายน) ได้เกิดปรากฎการณ์ราคาข้าวปรับขึ้นอย่างรวดเร็วจนไปอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อาทิ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 เพิ่มขึ้นถึง 130% จากตันละ 385 ดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคม เป็นตันละ 824.5 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน นอกจากนี้ ราคาส่งออกข้าวหอมมะลิยังทะลุระดับ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันเป็นครั้งแรก
เหตุใดจึงเกิดปรากฎการณ์เช่นนี้?
ธรรมชาติของตลาดค้าข้าวของโลก เป็นตลาดขนาดเล็กคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 7 ของปริมาณการบริโภคข้าวรวมของทั้งโลกที่มีปริมาณกว่า 400 ล้านตันต่อปี และมีการเติบโตอย่างไม่หวือหวา อันเป็นผลจากเกือบทุกประเทศที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักมีการเพาะปลูกข้าวเพื่อบริโภคเองภายในประเทศ จะมีการนำเข้าก็ต่อเมื่อปริมาณผลผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ การเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตหรือปริมาณการบริโภคแม้เพียงเล็กน้อยจึงสามารถส่งผลให้ระดับราคาข้าวในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับปัจจัยสำคัญที่มีผลให้ตลาดข้าวโลกในปี 2551 ขยายตัวอย่างร้อนแรงกว่าปีอื่น ๆ และเปลี่ยนเป็นตลาดของผู้ขายเกิดจากการจำกัดปริมาณส่งออกข้าวของผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกเป็นสำคัญ
ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกต่างใช้มาตรการชะลอการส่งออกข้าว เพื่อรักษาปริมาณและระดับราคาข้าวในประเทศของตน เนื่องจากผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ โดยทยอยเพิ่มระดับความเข้มข้นของมาตรการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2550 จึงส่งผลให้ปริมาณข้าวที่ค้าในตลาดโลกหายไปชั่วคราว และกดดันให้ผู้นำเข้าต่างเร่งนำเข้าข้าวตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากเกรงว่าราคาข้าวจะปรับสูงขึ้น และมีปริมาณไม่มีเพียงพอกับความต้องการในประเทศ ทั้งนี้สถานการณ์ดังกล่าวนอกจากผลักดันให้ระดับราคาข้าวในตลาดโลกปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ยังทำให้ผู้ส่งออกบางประเทศซึ่งแม้จะมีผลผลิตเกินความต้องการบริโภคในประเทศก็ต้องใช้มาตรการจำกัดการส่งออกข้าว เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการเร่งส่งออกข้าวมากจนไม่มีข้าวเหลือพอบริโภคในประเทศ ทำให้ปัญหาการขาดแคลนข้าวในตลาดโลกทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นและยิ่งผลักดันให้ราคาข้าวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เวียดนาม
ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก
ก.ค. 2550 ทางการเวียดนามประกาศห้ามผู้ส่งออกข้าวของเวียดนามเซ็นสัญญาส่งออกข้าวเพิ่มอีกไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เพื่อรักษาปริมาณข้าวภายในประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค หลังจากที่เวียดนามมีการเซ็นสัญญาส่งออกข้าวแล้วกว่า 4 ล้านตัน ตั้งแต่ต้นปี 2550
มี.ค. 2550 นายกรัฐมนตรีเวียดนามประกาศลดเป้าส่งออกข้าวปี 2551 ลงจาก 4.5 ล้านตัน เหลือ 4 ล้านตัน พร้อมจำกัดปริมาณส่งออกข้าวในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ไว้ที่ 3.2 ล้านตัน เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีข้าวเพียงพอกับการบริโภคในประเทศและป้องกันราคาข้าวสูงเกินควร นอกจากนี้ สมาคมอาหารเวียดนามยังกำหนดให้ผู้ส่งออกข้าวต้องสำรองข้าวอย่างน้อย 50% ของปริมาณส่งออก และต้องแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนส่งออกนอกจากนี้ ราคาซื้อขายที่ลงนามในสัญญาต้องสอดคล้องกับราคาที่สมาคมอาหารประกาศ ณ เวลาลงนามสัญญาและ
ต้องส่งมอบภายใน 2 เดือนนับจากวันลงนาม
อินเดีย
อียิปต์
ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 4 ของโลก : การที่อินเดียระงับการส่งออกข้าว ทำให้ข้าวขาวหายไปจากตลาดโลกราว 3 ล้านตัน
ต.ค. 2550 รัฐบาลอินเดียมีมติห้ามส่งออกข้าวขาวซึ่งไม่ใช่ข้าวบาสมาติ
พ.ย. 2550 รัฐบาลอินเดียเห็นชอบให้ผ่อนคลายมาตรการห้ามส่งออกข้าว โดยอนุญาตให้ผู้ส่งออกสามารถส่งออกข้าวขาวได้เฉพาะข้าวขาวคุณภาพดีที่มีราคาส่งออก FOB สูงกว่า 425 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และหลังจากนั้นไม่นานทางการอินเดียอนุมัติให้เพิ่มราคาขั้นต่ำ (Minimum Export Price) ของข้าวขาวคุณภาพดีที่ส่งออกเป็นตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลดการส่งออกลง
มี.ค. 2551 รัฐบาลอินเดียประกาศปรับขึ้นราคาส่งออกขั้นต่ำข้าวขาวซึ่งไม่ใช่ข้าวบาสมาติเป็นตันละ 650 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังปรับลดอัตราภาษีนำเข้าข้าวเหลือ 0% จาก 70% เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม 2551เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตข้าวในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการ และบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศ จากนั้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2551 รัฐบาลอินเดียปรับขึ้นราคาข้าวขาวขั้นต่ำขึ้นอีกครั้งเป็นตันละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2551--
-พห-
แนวโน้มลดลง ขณะที่ปริมาณการบริโภคข้าวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลให้ระดับราคาข้าวปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 5 ปี และคาดว่าจะยังคงทรงตัวในระดับสูงต่อไปจากการที่พื้นที่เพาะปลูกข้าวมีแนวโน้มถูกจำกัดมากขึ้น จากการเข้ามาแย่งพื้นที่เพาะปลูกของพืชพลังงาน และการที่หลายประเทศเข้มงวดกับการสงวนพื้นที่ป่าไว้เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นราคาข้าวในช่วงปี 2545-2550 เป็นการปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เมื่อเข้าสู่ปี 2551 จนถึง
ปัจจุบัน (เดือนเมษายน) ได้เกิดปรากฎการณ์ราคาข้าวปรับขึ้นอย่างรวดเร็วจนไปอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อาทิ ข้าวขาว 100% ชั้น 2 เพิ่มขึ้นถึง 130% จากตันละ 385 ดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคม เป็นตันละ 824.5 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน นอกจากนี้ ราคาส่งออกข้าวหอมมะลิยังทะลุระดับ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันเป็นครั้งแรก
เหตุใดจึงเกิดปรากฎการณ์เช่นนี้?
ธรรมชาติของตลาดค้าข้าวของโลก เป็นตลาดขนาดเล็กคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 7 ของปริมาณการบริโภคข้าวรวมของทั้งโลกที่มีปริมาณกว่า 400 ล้านตันต่อปี และมีการเติบโตอย่างไม่หวือหวา อันเป็นผลจากเกือบทุกประเทศที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักมีการเพาะปลูกข้าวเพื่อบริโภคเองภายในประเทศ จะมีการนำเข้าก็ต่อเมื่อปริมาณผลผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ การเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตหรือปริมาณการบริโภคแม้เพียงเล็กน้อยจึงสามารถส่งผลให้ระดับราคาข้าวในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับปัจจัยสำคัญที่มีผลให้ตลาดข้าวโลกในปี 2551 ขยายตัวอย่างร้อนแรงกว่าปีอื่น ๆ และเปลี่ยนเป็นตลาดของผู้ขายเกิดจากการจำกัดปริมาณส่งออกข้าวของผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกเป็นสำคัญ
ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกต่างใช้มาตรการชะลอการส่งออกข้าว เพื่อรักษาปริมาณและระดับราคาข้าวในประเทศของตน เนื่องจากผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ โดยทยอยเพิ่มระดับความเข้มข้นของมาตรการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2550 จึงส่งผลให้ปริมาณข้าวที่ค้าในตลาดโลกหายไปชั่วคราว และกดดันให้ผู้นำเข้าต่างเร่งนำเข้าข้าวตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากเกรงว่าราคาข้าวจะปรับสูงขึ้น และมีปริมาณไม่มีเพียงพอกับความต้องการในประเทศ ทั้งนี้สถานการณ์ดังกล่าวนอกจากผลักดันให้ระดับราคาข้าวในตลาดโลกปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ยังทำให้ผู้ส่งออกบางประเทศซึ่งแม้จะมีผลผลิตเกินความต้องการบริโภคในประเทศก็ต้องใช้มาตรการจำกัดการส่งออกข้าว เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการเร่งส่งออกข้าวมากจนไม่มีข้าวเหลือพอบริโภคในประเทศ ทำให้ปัญหาการขาดแคลนข้าวในตลาดโลกทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นและยิ่งผลักดันให้ราคาข้าวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เวียดนาม
ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก
ก.ค. 2550 ทางการเวียดนามประกาศห้ามผู้ส่งออกข้าวของเวียดนามเซ็นสัญญาส่งออกข้าวเพิ่มอีกไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เพื่อรักษาปริมาณข้าวภายในประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค หลังจากที่เวียดนามมีการเซ็นสัญญาส่งออกข้าวแล้วกว่า 4 ล้านตัน ตั้งแต่ต้นปี 2550
มี.ค. 2550 นายกรัฐมนตรีเวียดนามประกาศลดเป้าส่งออกข้าวปี 2551 ลงจาก 4.5 ล้านตัน เหลือ 4 ล้านตัน พร้อมจำกัดปริมาณส่งออกข้าวในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ไว้ที่ 3.2 ล้านตัน เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีข้าวเพียงพอกับการบริโภคในประเทศและป้องกันราคาข้าวสูงเกินควร นอกจากนี้ สมาคมอาหารเวียดนามยังกำหนดให้ผู้ส่งออกข้าวต้องสำรองข้าวอย่างน้อย 50% ของปริมาณส่งออก และต้องแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียนส่งออกนอกจากนี้ ราคาซื้อขายที่ลงนามในสัญญาต้องสอดคล้องกับราคาที่สมาคมอาหารประกาศ ณ เวลาลงนามสัญญาและ
ต้องส่งมอบภายใน 2 เดือนนับจากวันลงนาม
อินเดีย
อียิปต์
ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 4 ของโลก : การที่อินเดียระงับการส่งออกข้าว ทำให้ข้าวขาวหายไปจากตลาดโลกราว 3 ล้านตัน
ต.ค. 2550 รัฐบาลอินเดียมีมติห้ามส่งออกข้าวขาวซึ่งไม่ใช่ข้าวบาสมาติ
พ.ย. 2550 รัฐบาลอินเดียเห็นชอบให้ผ่อนคลายมาตรการห้ามส่งออกข้าว โดยอนุญาตให้ผู้ส่งออกสามารถส่งออกข้าวขาวได้เฉพาะข้าวขาวคุณภาพดีที่มีราคาส่งออก FOB สูงกว่า 425 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และหลังจากนั้นไม่นานทางการอินเดียอนุมัติให้เพิ่มราคาขั้นต่ำ (Minimum Export Price) ของข้าวขาวคุณภาพดีที่ส่งออกเป็นตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลดการส่งออกลง
มี.ค. 2551 รัฐบาลอินเดียประกาศปรับขึ้นราคาส่งออกขั้นต่ำข้าวขาวซึ่งไม่ใช่ข้าวบาสมาติเป็นตันละ 650 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังปรับลดอัตราภาษีนำเข้าข้าวเหลือ 0% จาก 70% เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม 2551เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตข้าวในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการ และบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศ จากนั้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2551 รัฐบาลอินเดียปรับขึ้นราคาข้าวขาวขั้นต่ำขึ้นอีกครั้งเป็นตันละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2551--
-พห-