ในการค้าขายกับต่างประเทศนั้น ผู้ซื้อส่วนใหญ่จ่ายเงินค่าสินค้าเป็นสกุลต่างประเทศให้แก่ผู้ส่งออก และเป็นปกติของธุรกรรมทางการค้าระหว่างประเทศที่กระบวนการเสนอราคา การส่งสินค้าและการจ่ายเงินไม่สามารถเกิดขึ้นภายใน 1-2 วันได้ ถึงแม้ผู้ส่งออกจะตกลงราคาขายสินค้าได้ในวันนี้แต่ก็จะได้รับเงินในวันข้างหน้า ดังนั้น ผู้ส่งออกย่อมเผชิญกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ตลอดเวลาโดยยากที่จะหลีกเลี่ยง แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันมีเครื่องมือที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนให้กับผู้ส่งออกอยู่หลายประเภทหนึ่งในนั้นคือ การทำสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า หรือ Forward Contract ซึ่งเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผู้ส่งออกไทยนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย Forward Contract เป็นอย่างไร และเพราะเหตุใดผู้ส่งออกไทยจึงนิยมใช้เครื่องมือดังกล่าว เอกสารความรู้ชุดนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับ Forward Contract เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ส่งออกใช้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจอันเกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน
Forward Contract คืออะไรและควรใช้ Forward Contract เมื่อไร
Forward Contract คือ สัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โดยผู้ซื้อและผู้ขายทำการ ตกลงซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศสกุลหนึ่งๆ ในจำนวนที่แน่นอนในปัจจุบัน แต่กำหนดวันที่ส่งมอบกันในอนาคต ผู้ส่งออกจะใช้ Forward Contract เมื่อผู้ส่งออกต้องการทราบต้นทุนที่แน่นอนและไม่อยากกังวลหรือเผชิญกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยผู้ส่งออกสามารถติดต่อกับธนาคารที่ผู้ส่งออกใช้บริการอยู่ หรือที่
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) เพื่อขอทำสัญญาขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าหรือเรียกว่า “จอง forward” ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำสัญญาไว้นั้น จะถูกใช้จริงในวันข้างหน้าหรือเมื่อผู้ส่งออกได้รับเงินจากผู้ซื้อต่างประเทศนั่นเอง ธนาคารที่ผู้ส่งออกติดต่อจึงเปรียบเสมือนคนกลางที่ตกลงจะรับซื้อเงินตราต่างประเทศจากผู้ส่งออก โดยธนาคารจะเสนอราคารับซื้ออัตราแลกเปลี่ยน ถ้าผู้ซื้อพอใจกับราคาที่ธนาคารเสนอมาธนาคารก็จะออกหนังสือสัญญาให้กับผู้ส่งออกเรียกสัญญาฉบับนี้ว่า Forward Contract ซึ่งภายในสัญญาจะระบุสกุลเงิน จำนวนเงิน อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารตกลงจะรับซื้อ และระยะเวลาของสัญญา
ผู้ส่งออกจะได้ประโยชน์อะไรจากการทำ Forward Contract แน่นอนว่าเมื่อผู้ส่งออกมี Forward Contract อยู่กับมือ ไม่ว่าค่าเงินบาทในช่วงเวลาที่ผู้ส่งออกได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อต่างประเทศจะเป็นเช่นไร ผู้ส่งออกก็ไม่ต้องกังวลเพราะได้ทำสัญญาจองอัตราแลกเปลี่ยนไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น ผู้ส่งออกจึงได้รับเงินบาทตามจำนวนที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ผู้ส่งออกสามารถคำนวณต้นทุนและ
กำไรที่แน่นอนได้ตั้งแต่วันที่ทำ Forward Contract
ตัวอย่าง บริษัท Export จำกัด ได้รับคำสั่งซื้อทูน่ากระป๋องในวันที่ 31 ต.ค 49 รวมมูลค่า 250,000 เหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐ (USD)
อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าว (Spot Rate) = 36.35 บาท/ 1 USD
โดยบริษัทจะได้รับเงินจากการขายทูน่ากระป๋องในวันที่ 31 ม.ค. 50 หากผู้บริหารคาดว่า เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น จึงติด
อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) = 36.05 บาท/ 1 USD
ต่อขอทำ Forward Contract กับธนาคาร
--------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ | อัตราแลกเปลี่ยน รายได้ ณ วันที่ 31 ม.ค. 50
--------------------------------------------------------------------------------------
อัตราแลกเปลี่ยนตาม | 36.05 บาท/ 1 USD | 36.05 * 250,000 = 9,012,500 บาท
Forward Contract | |
--------------------------------------------------------------------------------------
อัตราแลกเปลี่ยน | 35.25 บาท/ 1 USD | 35.25 * 250,000 = 8,812,500 บาท
ณ วันที่ 31 ม.ค. 50 | |
--------------------------------------------------------------------------------------
สรุป จะเห็นได้ว่า ถ้าบริษัททำ Forward Contract จะทำให้
- บริษัททราบรายได้ที่แน่นอนตั้งแต่วันที่ทำ Forward Contract เพราะใช้ อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) ที่ 36.05 บาท/ 1 USD
- ได้รับรายได้มากกว่าไม่ทำ Forward Contract จำนวน 9,012,500 — 8,812,500 = 200,000 บาท
การจอง forward หรือทำ Forward Contract
โดยทั่วไป ธนาคารจะทำ Forward Contract ให้กับลูกค้าของธนาคารเท่านั้น และธนาคารบางแห่งต้องมีการขออนุมัติตั้งวงเงิน forward ไปพร้อมๆ กับวงเงินสินเชื่ออีกด้วย ดังนั้น ผู้ส่งออกควรติดต่อสอบถามกับธนาคารที่ใช้บริการอยู่ล่วงหน้า เพื่อเตรียมการสำหรับการทำ Forward Contract
หลังจากได้รับการอนุมัติวงเงินจากธนาคารแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การจอง forward โดยผู้ส่งออกสามารถจอง forward เมื่อไหร่ก็ได้ที่ผู้ส่งออกเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่เปิดให้จองนั้นเป็นที่พอใจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจอง แต่ผู้ส่งออกต้องสามารถแสดงหลักฐานกับทางธนาคารได้ว่ากำลังจะได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศจากการค้าขายจริงๆ จึงจะสามารถจอง forward ได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ตัวอย่างหลักฐานสำคัญที่สามารถนำมาแสดงต่อธนาคาร เช่น Letter of Credit (L/C), Purchase Order (P/O), Contract (ตามที่ธนาคารร้องขอ) หลังจากนั้น ธนาคารจะทำ Forward Contract ให้แก่ผู้ส่งออก แต่ไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ผู้ส่งออกขายได้ ในส่วนของตัวผู้ส่งออกเอง เมื่อได้รับ Forward Contract แล้ว ผู้ส่งออกก็มีหน้าที่ต้องใช้วงเงินที่กำหนดใน Forward Contract นั้นให้หมดภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา มิฉะนั้นผู้ส่งออกจะถูกธนาคารปรับหรือยกเลิกสัญญานั้น แต่ในกรณีที่ผู้ส่งออกต้องการยกเลิกสัญญากับธนาคารผู้ส่งออกต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับธนาคารด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผู้ส่งออกสามารถสอบถามค่าปรับหรือค่าชดเชยในกรณีดังกล่าวได้จากธนาคารที่ผู้ส่งออกทำธุรกรรมด้วย
ขั้นตอนการทำ Forward Contract
1. ขออนุมัติวงเงิน orward (กรณียังไม่มีวงเงิน)
2. ผู้ส่งออก โทรถาม rate ถ้า rate เป็นที่ น่าพอใจก็จอง forward
3. ธนาคาร บอกราคารับซื้ออัตราแลกเปลี่ยน
4. Forward Contract ธนาคารส่งสัญญาให้ลงนาม โดยระบุ — สกุลเงิน — จำนวนเงิน — forward rate — อายุของสัญญา
5. ได้รับเงินจากผู้ซื้อ
6. รับเงินบาท เมื่อผู้ซื้อจ่ายเงิน ธนาคารแจ้งผู้ส่งออกเพื่อแปลงเงิน USD เป็น THB ตาม forward rate ที่ระบุในสัญญา
คำอธิบาย
1. ผู้ส่งออกขออนุมัติวงเงิน forward (กรณียังไม่มีวงเงิน)
2. ผู้ส่งออกโทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารที่ทำหน้าที่รับจอง forward หรือ ทำ Forward Contract โดยแจ้ง
? สกุลเงินที่ต้องการจองอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า
? จำนวนเงิน
? ระยะเวลาที่จอง เช่น 1, 3, 6 เดือน
3. เจ้าหน้าที่ของธนาคารจะแจ้ง
? อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (forward rate) ของสกุลเงินที่ต้องการ
? Premium หรือ Discount ที่ผู้ส่งออกจะได้รับ
4. เมื่อผู้ส่งออกตกลงที่จะทำ Forward Contract เจ้าหน้าที่ธนาคารจะส่ง Forward Contract ให้ผู้ส่งออกลงนาม
5.- 6. เมื่อผู้ส่งออกได้รับเงินสกุลต่างประเทศจากผู้ซื้อ ธนาคารจะแปลงเงินสกุลต่างประเทศนั้นเป็นเงินบาทให้ ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าและจำนวนเงินตามที่ได้ตกลงไว้ใน Forward Contract
การต่ออายุ Forward Contract
การขอต่ออายุ Forward Contract สามารถทำได้หากมีเหตุผลที่เพียงพอ เช่น ผู้ซื้อขอเลื่อนกำหนดวันชำระเงินออกไป ทั้งนี้ ผู้ส่งออกต้องมีจดหมายชี้แจง พร้อมระบุจำนวนเงิน และระยะเวลาที่จะขอต่อสัญญา และต้องแจ้งให้ธนาคารทราบล่วงหน้าพร้อมส่งหลักฐานประกอบ เช่น L/C Amendment ให้กับธนาคารด้วย
Premium และ Discount ใน Forward Contract คำศัพท์ที่ผู้ส่งออกควรรู้
เมื่อผู้ส่งออกติดต่อกับธนาคารเพื่อจอง forward นอกจากธนาคารจะบอกอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่ธนาคารจะรับซื้อแล้ว ธนาคารยังมีสิทธิที่จะให้ส่วนเพิ่ม (Premium) หรือส่วนลด (Discount) จากอัตราแลกเปลี่ยนนั้นอีกด้วย โดยธนาคารจะประเมินจากสถานการณ์ของอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลานั้นๆ เป็นหลัก กรณีที่ผู้ส่งออกได้ Premium แปลว่า ผู้ส่งออกจะได้อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่เพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ แต่หากผู้ส่งออกได้ Discount แปลว่า ผู้ส่งออกจะได้อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ที่ลดลงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะแจ้งผู้ส่งออกให้ทราบว่า ในแต่ละเดือน ผู้ส่งออกจะมี Premium/Discount เท่าไร ดังเช่นตัวอย่าง
(ยังมีต่อ).../ตัวอย่าง บริษัท Export..
Forward Contract คืออะไรและควรใช้ Forward Contract เมื่อไร
Forward Contract คือ สัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โดยผู้ซื้อและผู้ขายทำการ ตกลงซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศสกุลหนึ่งๆ ในจำนวนที่แน่นอนในปัจจุบัน แต่กำหนดวันที่ส่งมอบกันในอนาคต ผู้ส่งออกจะใช้ Forward Contract เมื่อผู้ส่งออกต้องการทราบต้นทุนที่แน่นอนและไม่อยากกังวลหรือเผชิญกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยผู้ส่งออกสามารถติดต่อกับธนาคารที่ผู้ส่งออกใช้บริการอยู่ หรือที่
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) เพื่อขอทำสัญญาขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าหรือเรียกว่า “จอง forward” ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำสัญญาไว้นั้น จะถูกใช้จริงในวันข้างหน้าหรือเมื่อผู้ส่งออกได้รับเงินจากผู้ซื้อต่างประเทศนั่นเอง ธนาคารที่ผู้ส่งออกติดต่อจึงเปรียบเสมือนคนกลางที่ตกลงจะรับซื้อเงินตราต่างประเทศจากผู้ส่งออก โดยธนาคารจะเสนอราคารับซื้ออัตราแลกเปลี่ยน ถ้าผู้ซื้อพอใจกับราคาที่ธนาคารเสนอมาธนาคารก็จะออกหนังสือสัญญาให้กับผู้ส่งออกเรียกสัญญาฉบับนี้ว่า Forward Contract ซึ่งภายในสัญญาจะระบุสกุลเงิน จำนวนเงิน อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารตกลงจะรับซื้อ และระยะเวลาของสัญญา
ผู้ส่งออกจะได้ประโยชน์อะไรจากการทำ Forward Contract แน่นอนว่าเมื่อผู้ส่งออกมี Forward Contract อยู่กับมือ ไม่ว่าค่าเงินบาทในช่วงเวลาที่ผู้ส่งออกได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อต่างประเทศจะเป็นเช่นไร ผู้ส่งออกก็ไม่ต้องกังวลเพราะได้ทำสัญญาจองอัตราแลกเปลี่ยนไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น ผู้ส่งออกจึงได้รับเงินบาทตามจำนวนที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ผู้ส่งออกสามารถคำนวณต้นทุนและ
กำไรที่แน่นอนได้ตั้งแต่วันที่ทำ Forward Contract
ตัวอย่าง บริษัท Export จำกัด ได้รับคำสั่งซื้อทูน่ากระป๋องในวันที่ 31 ต.ค 49 รวมมูลค่า 250,000 เหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐ (USD)
อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าว (Spot Rate) = 36.35 บาท/ 1 USD
โดยบริษัทจะได้รับเงินจากการขายทูน่ากระป๋องในวันที่ 31 ม.ค. 50 หากผู้บริหารคาดว่า เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น จึงติด
อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) = 36.05 บาท/ 1 USD
ต่อขอทำ Forward Contract กับธนาคาร
--------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ | อัตราแลกเปลี่ยน รายได้ ณ วันที่ 31 ม.ค. 50
--------------------------------------------------------------------------------------
อัตราแลกเปลี่ยนตาม | 36.05 บาท/ 1 USD | 36.05 * 250,000 = 9,012,500 บาท
Forward Contract | |
--------------------------------------------------------------------------------------
อัตราแลกเปลี่ยน | 35.25 บาท/ 1 USD | 35.25 * 250,000 = 8,812,500 บาท
ณ วันที่ 31 ม.ค. 50 | |
--------------------------------------------------------------------------------------
สรุป จะเห็นได้ว่า ถ้าบริษัททำ Forward Contract จะทำให้
- บริษัททราบรายได้ที่แน่นอนตั้งแต่วันที่ทำ Forward Contract เพราะใช้ อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate) ที่ 36.05 บาท/ 1 USD
- ได้รับรายได้มากกว่าไม่ทำ Forward Contract จำนวน 9,012,500 — 8,812,500 = 200,000 บาท
การจอง forward หรือทำ Forward Contract
โดยทั่วไป ธนาคารจะทำ Forward Contract ให้กับลูกค้าของธนาคารเท่านั้น และธนาคารบางแห่งต้องมีการขออนุมัติตั้งวงเงิน forward ไปพร้อมๆ กับวงเงินสินเชื่ออีกด้วย ดังนั้น ผู้ส่งออกควรติดต่อสอบถามกับธนาคารที่ใช้บริการอยู่ล่วงหน้า เพื่อเตรียมการสำหรับการทำ Forward Contract
หลังจากได้รับการอนุมัติวงเงินจากธนาคารแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การจอง forward โดยผู้ส่งออกสามารถจอง forward เมื่อไหร่ก็ได้ที่ผู้ส่งออกเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่เปิดให้จองนั้นเป็นที่พอใจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจอง แต่ผู้ส่งออกต้องสามารถแสดงหลักฐานกับทางธนาคารได้ว่ากำลังจะได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศจากการค้าขายจริงๆ จึงจะสามารถจอง forward ได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ตัวอย่างหลักฐานสำคัญที่สามารถนำมาแสดงต่อธนาคาร เช่น Letter of Credit (L/C), Purchase Order (P/O), Contract (ตามที่ธนาคารร้องขอ) หลังจากนั้น ธนาคารจะทำ Forward Contract ให้แก่ผู้ส่งออก แต่ไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ผู้ส่งออกขายได้ ในส่วนของตัวผู้ส่งออกเอง เมื่อได้รับ Forward Contract แล้ว ผู้ส่งออกก็มีหน้าที่ต้องใช้วงเงินที่กำหนดใน Forward Contract นั้นให้หมดภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา มิฉะนั้นผู้ส่งออกจะถูกธนาคารปรับหรือยกเลิกสัญญานั้น แต่ในกรณีที่ผู้ส่งออกต้องการยกเลิกสัญญากับธนาคารผู้ส่งออกต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับธนาคารด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผู้ส่งออกสามารถสอบถามค่าปรับหรือค่าชดเชยในกรณีดังกล่าวได้จากธนาคารที่ผู้ส่งออกทำธุรกรรมด้วย
ขั้นตอนการทำ Forward Contract
1. ขออนุมัติวงเงิน orward (กรณียังไม่มีวงเงิน)
2. ผู้ส่งออก โทรถาม rate ถ้า rate เป็นที่ น่าพอใจก็จอง forward
3. ธนาคาร บอกราคารับซื้ออัตราแลกเปลี่ยน
4. Forward Contract ธนาคารส่งสัญญาให้ลงนาม โดยระบุ — สกุลเงิน — จำนวนเงิน — forward rate — อายุของสัญญา
5. ได้รับเงินจากผู้ซื้อ
6. รับเงินบาท เมื่อผู้ซื้อจ่ายเงิน ธนาคารแจ้งผู้ส่งออกเพื่อแปลงเงิน USD เป็น THB ตาม forward rate ที่ระบุในสัญญา
คำอธิบาย
1. ผู้ส่งออกขออนุมัติวงเงิน forward (กรณียังไม่มีวงเงิน)
2. ผู้ส่งออกโทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารที่ทำหน้าที่รับจอง forward หรือ ทำ Forward Contract โดยแจ้ง
? สกุลเงินที่ต้องการจองอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า
? จำนวนเงิน
? ระยะเวลาที่จอง เช่น 1, 3, 6 เดือน
3. เจ้าหน้าที่ของธนาคารจะแจ้ง
? อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (forward rate) ของสกุลเงินที่ต้องการ
? Premium หรือ Discount ที่ผู้ส่งออกจะได้รับ
4. เมื่อผู้ส่งออกตกลงที่จะทำ Forward Contract เจ้าหน้าที่ธนาคารจะส่ง Forward Contract ให้ผู้ส่งออกลงนาม
5.- 6. เมื่อผู้ส่งออกได้รับเงินสกุลต่างประเทศจากผู้ซื้อ ธนาคารจะแปลงเงินสกุลต่างประเทศนั้นเป็นเงินบาทให้ ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าและจำนวนเงินตามที่ได้ตกลงไว้ใน Forward Contract
การต่ออายุ Forward Contract
การขอต่ออายุ Forward Contract สามารถทำได้หากมีเหตุผลที่เพียงพอ เช่น ผู้ซื้อขอเลื่อนกำหนดวันชำระเงินออกไป ทั้งนี้ ผู้ส่งออกต้องมีจดหมายชี้แจง พร้อมระบุจำนวนเงิน และระยะเวลาที่จะขอต่อสัญญา และต้องแจ้งให้ธนาคารทราบล่วงหน้าพร้อมส่งหลักฐานประกอบ เช่น L/C Amendment ให้กับธนาคารด้วย
Premium และ Discount ใน Forward Contract คำศัพท์ที่ผู้ส่งออกควรรู้
เมื่อผู้ส่งออกติดต่อกับธนาคารเพื่อจอง forward นอกจากธนาคารจะบอกอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่ธนาคารจะรับซื้อแล้ว ธนาคารยังมีสิทธิที่จะให้ส่วนเพิ่ม (Premium) หรือส่วนลด (Discount) จากอัตราแลกเปลี่ยนนั้นอีกด้วย โดยธนาคารจะประเมินจากสถานการณ์ของอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลานั้นๆ เป็นหลัก กรณีที่ผู้ส่งออกได้ Premium แปลว่า ผู้ส่งออกจะได้อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่เพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ แต่หากผู้ส่งออกได้ Discount แปลว่า ผู้ส่งออกจะได้อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ที่ลดลงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะแจ้งผู้ส่งออกให้ทราบว่า ในแต่ละเดือน ผู้ส่งออกจะมี Premium/Discount เท่าไร ดังเช่นตัวอย่าง
(ยังมีต่อ).../ตัวอย่าง บริษัท Export..