การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ส่วนใหญ่ของประเทศกล่าวถึงการจัดส่งสินค้าให้ถึงปลายทางอย่างรวดเร็วในต้นทุนการขนส่งที่ต่ำที่สุด ด้วยการสร้างระบบสาธารณูปโภค โครงข่ายคมนาคม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อาทิ ท่าเรือน้ำลึก ทางรถไฟ ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า และเส้นทางถนน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ Barcode RFID (Radio Frequency Identification) และ GPS (Global Positioning System)
อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องทางของการพัฒนาประสิทธิภาพของโลจิสติกส์ โดยเฉพาะทางบก ที่ทำได้รวดเร็ว แต่ถูกละเลยไป นั่นคือ การปรับปรุงกฎระเบียบบางประการซึ่งปัจจุบันเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งและการส่งออกของผู้ประกอบการไทย ตัวอย่างเช่นการจำกัดความสูงของรถตู้คอนเทนเนอร์ที่ระดับ 4.2 เมตร จากพื้นทาง ซึ่งอาจไม่เป็นปัญหาในกรณีตู้คอนเทนเนอร์ขนาดปกติ เนื่องจากเมื่อวางบนรถหัวลากแล้ว
จะมีความสูงในระดับประมาณ 4 เมตร แต่กลายเป็นปัญหาสำคัญในกรณีของตู้คอนเทนเนอร์แบบ High Cube ซึ่งใช้สำหรับขนส่งสินค้าจำพวกอาหารทะเล และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื่องจากมีความสูงรวมเพิ่มขึ้นเป็น 4.6 เมตร อีกตัวอย่างหนึ่งของอุปสรรคจากกฎระเบียบ คือ การจำกัดน้ำหนักบรรทุกของรถตู้คอนเทนเนอร์ โดยการวัดที่เพลาของรถตู้คอนเทนเนอร์ ขณะที่ปัจจุบันรถตู้คอนเทนเนอร์มีอุปกรณ์เสริมเพิ่มขึ้นหลายชนิด อาทิ ถัง NGV และอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้า (Genset) ที่ใช้กับตู้คอนเทนเนอร์แบบควบคุมอุณหภูมิ (Reefer) ซึ่งมีรูปแบบการติดตั้งหลากหลาย ทำให้น้ำหนักที่กดลงบนเพลาอาจเกินจากที่กำหนด กฎระเบียบดังกล่าว เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเผชิญกับความเสี่ยงของต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งในรูปของ
ค่าปรับ และการใช้เวลาขนส่งยาวนานขึ้นเมื่อถูกตรวจจับ
นอกจากการปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องกับรูปแบบของการขนส่งในปัจจุบันจะช่วยขจัดอุปสรรคให้กับผู้ส่งออกแล้ว การปรับปรุงกฎระเบียบบางประการร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านยังจะช่วยกระตุ้นให้การดำเนินธุรกิจระหว่างกันสะดวกยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเจรจาขอปรับปรุงกฎระเบียบการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศเพื่อนบ้านให้การขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น การร่วมกันพัฒนาระบบ Single Window ที่ด่านชายแดน และการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการขนส่งของแต่ละประเทศให้สอดคล้องกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินรถข้ามประเทศ ทั้งนี้ การปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ นับเป็นหนทางในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน ทำได้ง่ายและเร็วกว่าเมื่อเทียบกับ
การลงทุนในสาธารณูปโภคและโครงข่ายคมนาคมต่างๆ ซึ่งต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง อีกทั้งต้องใช้งบประมาณของประเทศจำนวนมาก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2551--
-พห-
อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องทางของการพัฒนาประสิทธิภาพของโลจิสติกส์ โดยเฉพาะทางบก ที่ทำได้รวดเร็ว แต่ถูกละเลยไป นั่นคือ การปรับปรุงกฎระเบียบบางประการซึ่งปัจจุบันเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งและการส่งออกของผู้ประกอบการไทย ตัวอย่างเช่นการจำกัดความสูงของรถตู้คอนเทนเนอร์ที่ระดับ 4.2 เมตร จากพื้นทาง ซึ่งอาจไม่เป็นปัญหาในกรณีตู้คอนเทนเนอร์ขนาดปกติ เนื่องจากเมื่อวางบนรถหัวลากแล้ว
จะมีความสูงในระดับประมาณ 4 เมตร แต่กลายเป็นปัญหาสำคัญในกรณีของตู้คอนเทนเนอร์แบบ High Cube ซึ่งใช้สำหรับขนส่งสินค้าจำพวกอาหารทะเล และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื่องจากมีความสูงรวมเพิ่มขึ้นเป็น 4.6 เมตร อีกตัวอย่างหนึ่งของอุปสรรคจากกฎระเบียบ คือ การจำกัดน้ำหนักบรรทุกของรถตู้คอนเทนเนอร์ โดยการวัดที่เพลาของรถตู้คอนเทนเนอร์ ขณะที่ปัจจุบันรถตู้คอนเทนเนอร์มีอุปกรณ์เสริมเพิ่มขึ้นหลายชนิด อาทิ ถัง NGV และอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้า (Genset) ที่ใช้กับตู้คอนเทนเนอร์แบบควบคุมอุณหภูมิ (Reefer) ซึ่งมีรูปแบบการติดตั้งหลากหลาย ทำให้น้ำหนักที่กดลงบนเพลาอาจเกินจากที่กำหนด กฎระเบียบดังกล่าว เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเผชิญกับความเสี่ยงของต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งในรูปของ
ค่าปรับ และการใช้เวลาขนส่งยาวนานขึ้นเมื่อถูกตรวจจับ
นอกจากการปรับปรุงกฎระเบียบให้สอดคล้องกับรูปแบบของการขนส่งในปัจจุบันจะช่วยขจัดอุปสรรคให้กับผู้ส่งออกแล้ว การปรับปรุงกฎระเบียบบางประการร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านยังจะช่วยกระตุ้นให้การดำเนินธุรกิจระหว่างกันสะดวกยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเจรจาขอปรับปรุงกฎระเบียบการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศเพื่อนบ้านให้การขนส่งสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น การร่วมกันพัฒนาระบบ Single Window ที่ด่านชายแดน และการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการขนส่งของแต่ละประเทศให้สอดคล้องกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินรถข้ามประเทศ ทั้งนี้ การปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ นับเป็นหนทางในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน ทำได้ง่ายและเร็วกว่าเมื่อเทียบกับ
การลงทุนในสาธารณูปโภคและโครงข่ายคมนาคมต่างๆ ซึ่งต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง อีกทั้งต้องใช้งบประมาณของประเทศจำนวนมาก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2551--
-พห-