***...ที่ผ่านมา...เมื่อกล่าวถึงสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) หลายคน มักจะนึกถึงทองคำ เหล็ก และน้ำมัน หรือ Hard Commodity ซึ่งราคาปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา แต่เชื่อว่านับจากนี้ไป สินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตร หรือ Soft Commodity อาทิ ข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่วเหลืองจะเข้ามามีบทบาทเป็นที่รู้จักมากขึ้น...***
คุณสุเมธ เหล่าโมราพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ให้ทรรศนะในงานเสวนาเรื่อง “เปิดขุมทรัพย์การลงทุนกับสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตร” อย่างน่าสนใจว่า การปรับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรในขณะนี้เพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีโอกาสที่ราคาจะปรับขึ้นได้อีกมาก เนื่องจากศักยภาพของการเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรของโลกมีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ความต้องการบริโภคสินค้าดังกล่าว ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรโลกซึ่งขยายตัวราว 1% ต่อปี นอกจากนี้ การที่ประชากรในหลายประเทศ
โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และหันมานิยมบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ผลักดันให้ปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากอัตราการแปรสภาพจากอาหารสัตว์(Feed) เป็นเนื้อสัตว์ (Meat) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 กิโลกรัมต่อ 1 กิโลกรัม หมายความว่าการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้ปริมาณเนื้อสัตว์ 1 กิโกรัมนั้น ต้องใช้พืชเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์มาถกึง 2 กิโลกรัม ขณะที่อัตราการแปรสภาพจากอาหารสัตว์เป้นเนื้อวัวมีอัตราอยู่ที่ 10 กิโลกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ดังนั้น การบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น จึงทำให้ปริมาณการใช้สินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นทวีคูณกว่าการบริโภคสินค้าเกษตรโดยตรง
***...ความต้องการสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภคแบ่งเป็น การบริโภคโดยตรง เป็นการบริโภคผลิตผลทางการเกษตร อาทิ ข้าว และผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป อาทิ แป้งข้าวโพด และขนมปัง และการบริโภคโดยอ้อม เป็นการนำผลิตผลทางการเกษตรไปทำ เป็นอาหารของสัตว์ที่จะถูกนำ มาบริโภคในลำดับถัดไป...***
นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว ตัวเร่งสำ คัญที่ผลักดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรในขณะนี้ปรับสูงขึ้น และมีแนวโน้มปรับตัวต่อเนื่องต่อจากนี้ไป คือกระแสความต้องการพืชพลังงานทดแทน เนื่องจากพืชหลายชนิด โดยเฉพาะพืชคาร์โบไฮเดรตสูง อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด ส่วนหนึ่งจะถูกดึงไปใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทน ทำให้การแย่งชิงสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรระหว่างเพื่อการบริโภคทั้งโดยตรงและโดยอ้อมและเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตพลังงานทดแทนเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และกลายเป็นแรงกดดันสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรมีแนวโน้มปรับขึ้นอย่างร้อนแรงเช่นเดียวกับสินค้า Hard Commodity ในช่วงที่ผ่านมา
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2551--
-พห-
คุณสุเมธ เหล่าโมราพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ให้ทรรศนะในงานเสวนาเรื่อง “เปิดขุมทรัพย์การลงทุนกับสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตร” อย่างน่าสนใจว่า การปรับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรในขณะนี้เพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีโอกาสที่ราคาจะปรับขึ้นได้อีกมาก เนื่องจากศักยภาพของการเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรของโลกมีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ความต้องการบริโภคสินค้าดังกล่าว ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรโลกซึ่งขยายตัวราว 1% ต่อปี นอกจากนี้ การที่ประชากรในหลายประเทศ
โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และหันมานิยมบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ผลักดันให้ปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากอัตราการแปรสภาพจากอาหารสัตว์(Feed) เป็นเนื้อสัตว์ (Meat) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 กิโลกรัมต่อ 1 กิโลกรัม หมายความว่าการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้ปริมาณเนื้อสัตว์ 1 กิโกรัมนั้น ต้องใช้พืชเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์มาถกึง 2 กิโลกรัม ขณะที่อัตราการแปรสภาพจากอาหารสัตว์เป้นเนื้อวัวมีอัตราอยู่ที่ 10 กิโลกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ดังนั้น การบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น จึงทำให้ปริมาณการใช้สินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นทวีคูณกว่าการบริโภคสินค้าเกษตรโดยตรง
***...ความต้องการสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภคแบ่งเป็น การบริโภคโดยตรง เป็นการบริโภคผลิตผลทางการเกษตร อาทิ ข้าว และผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป อาทิ แป้งข้าวโพด และขนมปัง และการบริโภคโดยอ้อม เป็นการนำผลิตผลทางการเกษตรไปทำ เป็นอาหารของสัตว์ที่จะถูกนำ มาบริโภคในลำดับถัดไป...***
นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว ตัวเร่งสำ คัญที่ผลักดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรในขณะนี้ปรับสูงขึ้น และมีแนวโน้มปรับตัวต่อเนื่องต่อจากนี้ไป คือกระแสความต้องการพืชพลังงานทดแทน เนื่องจากพืชหลายชนิด โดยเฉพาะพืชคาร์โบไฮเดรตสูง อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด ส่วนหนึ่งจะถูกดึงไปใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทน ทำให้การแย่งชิงสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรระหว่างเพื่อการบริโภคทั้งโดยตรงและโดยอ้อมและเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตพลังงานทดแทนเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และกลายเป็นแรงกดดันสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตรมีแนวโน้มปรับขึ้นอย่างร้อนแรงเช่นเดียวกับสินค้า Hard Commodity ในช่วงที่ผ่านมา
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2551--
-พห-