ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ประกอบด้วย 53 ประเทศ ทำให้เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรเกือบ 900 ล้านคน ประกอบกับปัจจุบันประชากรในหลายประเทศของภูมิภาคนี้เริ่มมีกำลังซื้อสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวดี ตลาดใหม่
แห่งนี้จึงเป็นตลาดส่งออกที่ไทยยังมีโอกาสอีกมากที่จะเข้าไปค้าขายด้วย
หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่า ปัจจุบันข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับ 1 ที่ไทยค้าขายกับภูมิภาคนี้ โดยในแต่ละปี ประเทศในทวีปแอฟริกาจำนวนกว่า 25 ประเทศจากทั้งหมด 53 ประเทศ นำเข้าข้าวจากไทยมากน้อยแตกต่างกันไปตามขนาดเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชนในแต่ละประเทศ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการเพาะปลูกข้าว เพราะขาดแคลนแหล่งน้ำทั้งนี้ ในปี 2550 ไทยส่งออกข้าวไปทวีปแอฟริกาเป็นมูลค่า 42,450 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 38% เทียบกับปี 2549 หรือเป็นสัดส่วนสูงถึง 36% ของมูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดของไทย โดยประเทศที่เป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่สุดของไทย คือ เบนิน รองลงมา คือ โกตดิวัวร์ แอฟริกาใต้ เซเนกัล กานาและไนจีเรีย ตามลำดับ ข้าวที่นิยมนำเข้าจากไทยกันมาก คือ ข้าวนึ่ง (เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวมุสลิม)และปลายข้าว
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการในการส่งออกข้าวไทยไปตลาดนี้ ทั้งต้นทุนการขนส่งที่สูงจากระยะทางที่ค่อนข้างไกล การกีดกันการนำเข้ารูปแบบต่าง ๆ และปัญหาการแข่งขันด้านราคา ดังนั้น การเข้าไปจัดตั้งศูนย์กระจายข้าวไทยในภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมีลักษณะเหมือนโกดังเก็บข้าวที่ตั้งอยู่ใกล้กับผู้ซื้อ เมื่อผู้นำเข้าต้องการสั่งซื้อข้าวจากไทยก็สามารถได้รับข้าวทันที ช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ทำให้ไทยมีโอกาสขยายตลาดข้าวได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากการที่ผู้นำเข้าไม่ชำระค่าสินค้า และปัญหาการปลอมแปลงตราสินค้าและปลอมปนข้าวได้ระดับหนึ่ง
ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการไทยหลายรายแสดงความสนใจที่จะเข้าไปจัดตั้งศูนย์กระจายข้าวไทยในหลายประเทศของภูมิภาคนี้ เช่น จิบูตี โมซัมบิก และสาธารณรัฐคองโก เนื่องจากมีศักยภาพเหมาะสมทั้งในแง่ของทำเลที่ตั้ง โดยจิบูตี และโมซัมบิก ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนสาธารณรัฐคองโกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ประกอบกับประเทศเหล่านี้ล้วนมีท่าเรือสำคัญที่เอื้อต่อการขนถ่ายข้าวและสินค้าอื่น ๆ เพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศตอนในของภูมิภาค รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในแถบตะวันออกกลางและยุโรปอีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2551--
-พห-
แห่งนี้จึงเป็นตลาดส่งออกที่ไทยยังมีโอกาสอีกมากที่จะเข้าไปค้าขายด้วย
หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่า ปัจจุบันข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับ 1 ที่ไทยค้าขายกับภูมิภาคนี้ โดยในแต่ละปี ประเทศในทวีปแอฟริกาจำนวนกว่า 25 ประเทศจากทั้งหมด 53 ประเทศ นำเข้าข้าวจากไทยมากน้อยแตกต่างกันไปตามขนาดเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชนในแต่ละประเทศ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการเพาะปลูกข้าว เพราะขาดแคลนแหล่งน้ำทั้งนี้ ในปี 2550 ไทยส่งออกข้าวไปทวีปแอฟริกาเป็นมูลค่า 42,450 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 38% เทียบกับปี 2549 หรือเป็นสัดส่วนสูงถึง 36% ของมูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดของไทย โดยประเทศที่เป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่สุดของไทย คือ เบนิน รองลงมา คือ โกตดิวัวร์ แอฟริกาใต้ เซเนกัล กานาและไนจีเรีย ตามลำดับ ข้าวที่นิยมนำเข้าจากไทยกันมาก คือ ข้าวนึ่ง (เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวมุสลิม)และปลายข้าว
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการในการส่งออกข้าวไทยไปตลาดนี้ ทั้งต้นทุนการขนส่งที่สูงจากระยะทางที่ค่อนข้างไกล การกีดกันการนำเข้ารูปแบบต่าง ๆ และปัญหาการแข่งขันด้านราคา ดังนั้น การเข้าไปจัดตั้งศูนย์กระจายข้าวไทยในภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมีลักษณะเหมือนโกดังเก็บข้าวที่ตั้งอยู่ใกล้กับผู้ซื้อ เมื่อผู้นำเข้าต้องการสั่งซื้อข้าวจากไทยก็สามารถได้รับข้าวทันที ช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ทำให้ไทยมีโอกาสขยายตลาดข้าวได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากการที่ผู้นำเข้าไม่ชำระค่าสินค้า และปัญหาการปลอมแปลงตราสินค้าและปลอมปนข้าวได้ระดับหนึ่ง
ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการไทยหลายรายแสดงความสนใจที่จะเข้าไปจัดตั้งศูนย์กระจายข้าวไทยในหลายประเทศของภูมิภาคนี้ เช่น จิบูตี โมซัมบิก และสาธารณรัฐคองโก เนื่องจากมีศักยภาพเหมาะสมทั้งในแง่ของทำเลที่ตั้ง โดยจิบูตี และโมซัมบิก ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนสาธารณรัฐคองโกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ประกอบกับประเทศเหล่านี้ล้วนมีท่าเรือสำคัญที่เอื้อต่อการขนถ่ายข้าวและสินค้าอื่น ๆ เพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศตอนในของภูมิภาค รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในแถบตะวันออกกลางและยุโรปอีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2551--
-พห-