Macro
กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าส่งออกเดือนมิถุนายน 2551 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 16,268.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 27.4% ส่งผลให้มูลค่าส่งออกในช่วงครึ่งแรกปี 2551 อยู่ที่ 87,212.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.1% จากช่วงเดียวกันของปี 2550 สินค้าส่งออกสำคัญในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ที่ขยายตัวในระดับสูง ได้แก่ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 35.7% และ 11.0% ตามลำดับ ขณะที่มูลค่านำเข้าของไทยในช่วงครึ่งแรกปี 2551 อยู่ที่ระดับ 88,279.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 33.6% เนื่องจากมูลค่านำเข้าพลังงานที่เพิ่มขึ้นมาก
ตามราคาน้ำ มันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ไทยขาดดุลการค้าคิดเป็นมูลค่า 1,067.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกันนี้กระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าหมายส่งออกทั้งปี 2551 ไว้ที่ระดับ 12.5% แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะขยายตัวได้ถึงระดับ 15%
Business
ผลไม้ : ราคาลำไยทั้งสดและอบแห้งในปี 2551 เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เนื่องจากปริมาณผลผลิตลำไยในปี 2551 ลดลงเหลือ 300,000-350,000 ตัน จากปกติ ที่มีผลผลิตประมาณปีละ 500,000-600,000 ตัน ประกอบกับจีนมีความต้องการนำเข้าลำไยอบแห้งจากไทยเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทั้งนี้ ราคาลำไยอบแห้งเกรดเอเอในปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น กก.ละ 75 บาท จาก กก.ละ 45 บาทในปี 2550 และราคาลำไยสดเกรดเอเอเพิ่มขึ้นเป็น กก.ละ 22 บาท จาก กก.ละ 12 บาท ในปี 2550
ข้าว : การส่งออกข้าวของไทยไปจีนในช่วงครึ่งหลังปี 2551 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากรัฐบาลจีนมีนโยบายระบายข้าวในสต็อก เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศจีนปรับลดลงจนมีราคาถูกกว่าข้าวนำเข้าผู้นำเข้าจึงชะลอการนำเข้าข้าวลง
ท่องเที่ยว : สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว คาดว่านักท่องเที่ยวชาวสแกนดิเนเวียนที่เดินทางมาไทยด้วยเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ (Charter Flight) จะลดลงประมาณ 5-6% ในปี 2551 เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูงทำให้นักท่องเที่ยวชะลอแผนการท่องเที่ยวออกไป ขณะที่สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ในเดือนสิงหาคม 2551 มีการยกเลิกเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำจำนวน 1 เที่ยวบิน ผู้โดยสารเกือบ 300 คน จากญี่ปุ่นมาไทยอันเป็นผลจากปัญหาค่าใช้จ่ายเดินทางที่สูงขึ้น
International
ADB คาดเศรษฐกิจ Emerging East Asia ชะลอการขยายตัวลง
จากรายงาน “Asia Economic Monitor 2008” ที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(Asian Development Bank : ADB) จัดทำขึ้นและเผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม 2551 ระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม Emerging East Asia จะชะลอการขยายตัวลงเหลือ 7.6% ในปี 2551 เทียบกับ 9.0% ในปี 2550 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาลงจากปัญหา Subprimes ในตลาดการเงินโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มฯ อาจพุ่งแตะระดับ 6.3% ในปี 2551 (สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของกลุ่มฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาถึง 2 เท่า) เนื่องจากราคาอาหารและน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ ADB เรียกร้องให้แต่ละประเทศดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อเวียดนามเดือนกรกฎาคม 2551 พุ่งสูงกว่า 27%
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (General Statistics Office : GSO) ของเวียดนาม รายงานอัตราเงินเฟ้อของเวียดนามในเดือนกรกฎาคม 2551 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 27.0% นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2534 เนื่องจากราคาอาหารและราคาพลังงานที่ยังคงปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคม 2551 ราคาอาหารปรับสูงขึ้น 44.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น 24.9% เสื้อผ้าและรองเท้าเพิ่มขึ้น 10.9% และยารักษาโรคเพิ่มขึ้น 9.5% พร้อมกันนี้ GSO คาดว่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 เวียดนามจะขาดดุลการค้าที่ระดับ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการนำเข้ามีมูลค่า 51.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 56.8%) ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 36.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 37.7%)
แนวโน้มเศรษฐกิจประเทศในกลุ่ม Emerging East Asia
Countries 2550 2551f 2552f
Emerging East Asia 9.0 7.6 7.6
ASEAN 6.5 5.5 5.8
- Brunei Darussalam 0.6 n.a. n.a.
- Cambodia 9.6 7.5 7.0
- Indonesia 6.3 6.0 6.2
- Lao PDR 8.0 7.7 7.8
- Malaysia 6.3 5.4 5.6
- Myanmar# 5.5 n.a. n.a.
- Philippines 7.2 5.5 5.6
- Thailand 4.8 5.0 5.2
- Viet Nam 8.5 6.5 6.8
Newly Industrialized Economies 5.6 4.7 4.9
- Hong Kong, China 6.4 4.9 4.9
- Korea, Rep. of 5.0 4.7 4.9
- Singapore 7.7 4.9 5.8
- Taipei, China 5.7 4.5 4.8
China, People’s Rep. of 11.9 9.9 9.7
Notes : f = forecasted. n.a. = not available.
# = ข้อมูลปีงบประมาณ (1 เมษายน - 31 มีนาคม)
Source : ADB, July 2008.
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2551--
-พห-
กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าส่งออกเดือนมิถุนายน 2551 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 16,268.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 27.4% ส่งผลให้มูลค่าส่งออกในช่วงครึ่งแรกปี 2551 อยู่ที่ 87,212.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.1% จากช่วงเดียวกันของปี 2550 สินค้าส่งออกสำคัญในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ที่ขยายตัวในระดับสูง ได้แก่ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 35.7% และ 11.0% ตามลำดับ ขณะที่มูลค่านำเข้าของไทยในช่วงครึ่งแรกปี 2551 อยู่ที่ระดับ 88,279.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 33.6% เนื่องจากมูลค่านำเข้าพลังงานที่เพิ่มขึ้นมาก
ตามราคาน้ำ มันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ไทยขาดดุลการค้าคิดเป็นมูลค่า 1,067.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกันนี้กระทรวงพาณิชย์ยังคงเป้าหมายส่งออกทั้งปี 2551 ไว้ที่ระดับ 12.5% แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะขยายตัวได้ถึงระดับ 15%
Business
ผลไม้ : ราคาลำไยทั้งสดและอบแห้งในปี 2551 เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เนื่องจากปริมาณผลผลิตลำไยในปี 2551 ลดลงเหลือ 300,000-350,000 ตัน จากปกติ ที่มีผลผลิตประมาณปีละ 500,000-600,000 ตัน ประกอบกับจีนมีความต้องการนำเข้าลำไยอบแห้งจากไทยเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทั้งนี้ ราคาลำไยอบแห้งเกรดเอเอในปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น กก.ละ 75 บาท จาก กก.ละ 45 บาทในปี 2550 และราคาลำไยสดเกรดเอเอเพิ่มขึ้นเป็น กก.ละ 22 บาท จาก กก.ละ 12 บาท ในปี 2550
ข้าว : การส่งออกข้าวของไทยไปจีนในช่วงครึ่งหลังปี 2551 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากรัฐบาลจีนมีนโยบายระบายข้าวในสต็อก เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศจีนปรับลดลงจนมีราคาถูกกว่าข้าวนำเข้าผู้นำเข้าจึงชะลอการนำเข้าข้าวลง
ท่องเที่ยว : สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว คาดว่านักท่องเที่ยวชาวสแกนดิเนเวียนที่เดินทางมาไทยด้วยเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ (Charter Flight) จะลดลงประมาณ 5-6% ในปี 2551 เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูงทำให้นักท่องเที่ยวชะลอแผนการท่องเที่ยวออกไป ขณะที่สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ในเดือนสิงหาคม 2551 มีการยกเลิกเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำจำนวน 1 เที่ยวบิน ผู้โดยสารเกือบ 300 คน จากญี่ปุ่นมาไทยอันเป็นผลจากปัญหาค่าใช้จ่ายเดินทางที่สูงขึ้น
International
ADB คาดเศรษฐกิจ Emerging East Asia ชะลอการขยายตัวลง
จากรายงาน “Asia Economic Monitor 2008” ที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(Asian Development Bank : ADB) จัดทำขึ้นและเผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม 2551 ระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม Emerging East Asia จะชะลอการขยายตัวลงเหลือ 7.6% ในปี 2551 เทียบกับ 9.0% ในปี 2550 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาลงจากปัญหา Subprimes ในตลาดการเงินโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มฯ อาจพุ่งแตะระดับ 6.3% ในปี 2551 (สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของกลุ่มฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาถึง 2 เท่า) เนื่องจากราคาอาหารและน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ ADB เรียกร้องให้แต่ละประเทศดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อเวียดนามเดือนกรกฎาคม 2551 พุ่งสูงกว่า 27%
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (General Statistics Office : GSO) ของเวียดนาม รายงานอัตราเงินเฟ้อของเวียดนามในเดือนกรกฎาคม 2551 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 27.0% นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2534 เนื่องจากราคาอาหารและราคาพลังงานที่ยังคงปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคม 2551 ราคาอาหารปรับสูงขึ้น 44.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น 24.9% เสื้อผ้าและรองเท้าเพิ่มขึ้น 10.9% และยารักษาโรคเพิ่มขึ้น 9.5% พร้อมกันนี้ GSO คาดว่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 เวียดนามจะขาดดุลการค้าที่ระดับ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการนำเข้ามีมูลค่า 51.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 56.8%) ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 36.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 37.7%)
แนวโน้มเศรษฐกิจประเทศในกลุ่ม Emerging East Asia
Countries 2550 2551f 2552f
Emerging East Asia 9.0 7.6 7.6
ASEAN 6.5 5.5 5.8
- Brunei Darussalam 0.6 n.a. n.a.
- Cambodia 9.6 7.5 7.0
- Indonesia 6.3 6.0 6.2
- Lao PDR 8.0 7.7 7.8
- Malaysia 6.3 5.4 5.6
- Myanmar# 5.5 n.a. n.a.
- Philippines 7.2 5.5 5.6
- Thailand 4.8 5.0 5.2
- Viet Nam 8.5 6.5 6.8
Newly Industrialized Economies 5.6 4.7 4.9
- Hong Kong, China 6.4 4.9 4.9
- Korea, Rep. of 5.0 4.7 4.9
- Singapore 7.7 4.9 5.8
- Taipei, China 5.7 4.5 4.8
China, People’s Rep. of 11.9 9.9 9.7
Notes : f = forecasted. n.a. = not available.
# = ข้อมูลปีงบประมาณ (1 เมษายน - 31 มีนาคม)
Source : ADB, July 2008.
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2551--
-พห-