Macro
รัฐบาลทุ่มงบประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท ช่วยบรรเทาวิกฤตเงินเฟ้อ
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 รัฐบาลได้ออกมาตรการ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” เพื่อบรรเทาปัญหาค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยซึ่งมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นมากจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น มาตรการดังกล่าวใช้งบประมาณสูงถึง 46,404 ล้านบาท ภายในระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน มีรายละเอียดสำคัญดังนี้
มาตรการ งบประมาณ (ล้านบาท)
1. มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน 29,000
2. มาตรการชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG)ในภาคครัวเรือน -
3. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำประปา 3,930
4. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า 12,000
5. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง 1,224
6. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 250
รวม 46,404
กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 3.50% เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (R/P 1 วัน) จากระดับ 3.25% เป็น 3.50% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ หลังจากคณะกรรมการ กนง.ได้ออกมาส่งสัญญาณเป็นระยะถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นมากในระยะที่ผ่านมา
Business
น้ำตาลทราย : ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกปี 2552 มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น หลังจากราคาซื้อขายน้ำตาลทรายดิบในตลาดล่วงหน้าเดือนมีนาคม 2552 พุ่งสูงถึง 15.53 เซ็นต์ต่อปอนด์ เพิ่มขึ้นจาก 12-13 เซ็นต์ต่อปอนด์ในปัจจุบัน เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มีการนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลมากขึ้น อีกทั้งปริมาณสต็อกน้ำตาลทรายโลกปี 2552 มีแนวโน้มลดลงจากปี 2551 ซึ่งมีสต็อกสูงถึง 11-12 ล้านตัน นอกจากนี้ ปริมาณผลผลิตอ้อยของอินเดียที่มีแนวโน้มลดลงเพราะเกษตรกรหันไปปลูกข้าวสาลีที่มีราคาดีกว่าแทน อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายของอินเดียในปี 2552
กุ้งแช่แข็ง : WTO ประกาศผลตัดสินให้ไทยชนะคดีฟ้องร้องสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 ในกรณีที่สหรัฐฯ ใช้วิธีคำนวณภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดแบบ Zeroing และเรียกเก็บเงินประกัน (C-bond) สำหรับภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งแช่แข็งนำเข้าจากไทย โดยระบุว่าการกระทำดังกล่าวขัดกับความตกลงของ WTO ทั้งนี้ คำตัดสินดังกล่าวส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องคำนวณภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่เรียกเก็บจากไทยใหม่ (ปัจจุบันเรียกเก็บในอัตรา 5.29-6.82%) ซึ่งคาดว่าจะทำให้ผู้ส่งออกไทยส่วนใหญ่เสียภาษีในอัตราต่ำกว่าเดิม นอกจากนี้ สหรัฐฯ ต้องคืนเงินค้ำประกันที่เก็บจากผู้ส่งออกกุ้งแช่แข็งของไทย ตั้งแต่ปี 2547-2550 มูลค่ากว่า 1.2 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกยังไม่มั่นใจว่าสหรัฐฯ จะยอมปฏิบัติตามคำตัดสินของ WTO หรือไม่
International
ญี่ปุ่น : เศรษฐกิจญี่ปุ่นส่งสัญญาณชะลอตัว
ปัจจุบันเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังลดลงต่อเนื่อง สังเกตได้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงจาก 33.9 จุดในเดือนพฤษภาคม เป็น 32.6 จุดในเดือนมิถุนายน นับเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan : BoJ) ปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2552 จาก 1.5% เหลือ 1.2% และปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจาก 1.1% เป็น 1.8% พร้อมทั้งใช้นโยบายการเงินที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อสร้างเสถียรภาพให้ระบบเศรษฐกิจและควบคุมราคาสินค้าในประเทศ ทั้งนี้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม BoJ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.5% ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ในช่วงก่อนหน้า เพื่อพยุงเศรษฐกิจให้ยังคงขยายตัว
อัตราเงินเฟ้อปากีสถานพุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี
อัตราเงินเฟ้อปากีสถานพุ่งสูงสุดถึง 21.5% (สูงสุดในรอบ 30 ปี และสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายซึ่งธนาคารกลางปากีสถานกำหนดไว้ที่ 6.5%) ในเดือนมิถุนายนเทียบกับ 11.9% ในเดือนมกราคม 2551 เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มขึ้นถึง 32.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ค่าขนส่งและค่าสื่อสารเพิ่มขึ้นถึง 24.9% (เพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลักติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3) ส่วนราคาเชื้อเพลิงและไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 11.4% (สูงสุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2549) ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันตลาดโลกอยู่ในระดับสูง ประกอบกับในช่วงปลายเดือนมิถุนายน-ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลปากีสถานได้ทยอยลดการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงในประเทศด้วยการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติหลายประเภท ทั้งนี้ EIU คาดว่า หากปัญหาเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้น ธนาคารกลางปากีสถานอาจจำ เป็นต้องดำ เนินนโยบายการเงินเข้มงวดขึ้นในระยะถัดจากนี้ ด้วยการทยอยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก หลังจากเพิ่งปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 12% ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2551
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2551--
-พห-
รัฐบาลทุ่มงบประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท ช่วยบรรเทาวิกฤตเงินเฟ้อ
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 รัฐบาลได้ออกมาตรการ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” เพื่อบรรเทาปัญหาค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยซึ่งมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นมากจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น มาตรการดังกล่าวใช้งบประมาณสูงถึง 46,404 ล้านบาท ภายในระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน มีรายละเอียดสำคัญดังนี้
มาตรการ งบประมาณ (ล้านบาท)
1. มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน 29,000
2. มาตรการชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG)ในภาคครัวเรือน -
3. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำประปา 3,930
4. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า 12,000
5. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง 1,224
6. มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 250
รวม 46,404
กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 3.50% เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (R/P 1 วัน) จากระดับ 3.25% เป็น 3.50% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ หลังจากคณะกรรมการ กนง.ได้ออกมาส่งสัญญาณเป็นระยะถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นมากในระยะที่ผ่านมา
Business
น้ำตาลทราย : ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกปี 2552 มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น หลังจากราคาซื้อขายน้ำตาลทรายดิบในตลาดล่วงหน้าเดือนมีนาคม 2552 พุ่งสูงถึง 15.53 เซ็นต์ต่อปอนด์ เพิ่มขึ้นจาก 12-13 เซ็นต์ต่อปอนด์ในปัจจุบัน เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มีการนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลมากขึ้น อีกทั้งปริมาณสต็อกน้ำตาลทรายโลกปี 2552 มีแนวโน้มลดลงจากปี 2551 ซึ่งมีสต็อกสูงถึง 11-12 ล้านตัน นอกจากนี้ ปริมาณผลผลิตอ้อยของอินเดียที่มีแนวโน้มลดลงเพราะเกษตรกรหันไปปลูกข้าวสาลีที่มีราคาดีกว่าแทน อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณส่งออกน้ำตาลทรายของอินเดียในปี 2552
กุ้งแช่แข็ง : WTO ประกาศผลตัดสินให้ไทยชนะคดีฟ้องร้องสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 ในกรณีที่สหรัฐฯ ใช้วิธีคำนวณภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดแบบ Zeroing และเรียกเก็บเงินประกัน (C-bond) สำหรับภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งแช่แข็งนำเข้าจากไทย โดยระบุว่าการกระทำดังกล่าวขัดกับความตกลงของ WTO ทั้งนี้ คำตัดสินดังกล่าวส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องคำนวณภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่เรียกเก็บจากไทยใหม่ (ปัจจุบันเรียกเก็บในอัตรา 5.29-6.82%) ซึ่งคาดว่าจะทำให้ผู้ส่งออกไทยส่วนใหญ่เสียภาษีในอัตราต่ำกว่าเดิม นอกจากนี้ สหรัฐฯ ต้องคืนเงินค้ำประกันที่เก็บจากผู้ส่งออกกุ้งแช่แข็งของไทย ตั้งแต่ปี 2547-2550 มูลค่ากว่า 1.2 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกยังไม่มั่นใจว่าสหรัฐฯ จะยอมปฏิบัติตามคำตัดสินของ WTO หรือไม่
International
ญี่ปุ่น : เศรษฐกิจญี่ปุ่นส่งสัญญาณชะลอตัว
ปัจจุบันเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังลดลงต่อเนื่อง สังเกตได้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงจาก 33.9 จุดในเดือนพฤษภาคม เป็น 32.6 จุดในเดือนมิถุนายน นับเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan : BoJ) ปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2552 จาก 1.5% เหลือ 1.2% และปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจาก 1.1% เป็น 1.8% พร้อมทั้งใช้นโยบายการเงินที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อสร้างเสถียรภาพให้ระบบเศรษฐกิจและควบคุมราคาสินค้าในประเทศ ทั้งนี้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม BoJ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.5% ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ในช่วงก่อนหน้า เพื่อพยุงเศรษฐกิจให้ยังคงขยายตัว
อัตราเงินเฟ้อปากีสถานพุ่งสูงสุดในรอบ 30 ปี
อัตราเงินเฟ้อปากีสถานพุ่งสูงสุดถึง 21.5% (สูงสุดในรอบ 30 ปี และสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายซึ่งธนาคารกลางปากีสถานกำหนดไว้ที่ 6.5%) ในเดือนมิถุนายนเทียบกับ 11.9% ในเดือนมกราคม 2551 เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มขึ้นถึง 32.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ค่าขนส่งและค่าสื่อสารเพิ่มขึ้นถึง 24.9% (เพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลักติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3) ส่วนราคาเชื้อเพลิงและไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 11.4% (สูงสุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2549) ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันตลาดโลกอยู่ในระดับสูง ประกอบกับในช่วงปลายเดือนมิถุนายน-ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลปากีสถานได้ทยอยลดการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงในประเทศด้วยการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติหลายประเภท ทั้งนี้ EIU คาดว่า หากปัญหาเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้น ธนาคารกลางปากีสถานอาจจำ เป็นต้องดำ เนินนโยบายการเงินเข้มงวดขึ้นในระยะถัดจากนี้ ด้วยการทยอยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก หลังจากเพิ่งปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 12% ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2551
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2551--
-พห-