Macro
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2551 อยู่ที่ระดับ 4.8-5.8% (จากคาดการณ์เดิมที่ 4.8-6.0%) รวมทั้งปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2552 เหลือ 4.3-5.8% (จากเดิม 4.5-6.0%) พร้อมกันนี้ธปท. ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2551 อยู่ที่ระดับ 7.5-8.8% (จากเดิม 4.0-5.0%) เนื่องจากราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ธปท.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2552 จะลดลงมาอยู่ที่ 5.0-7.5% เนื่องจากแรงกดดันด้านราคาน้ำมันที่เริ่มบรรเทาลง
% 2550 2551 2552
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 4.8 4.8-5.8 4.3-5.8
(เดิม) (4.8-6.0) (4.5-6.0)
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.3 7.5-8.8 5.0-7.5
(เดิม) (4.0-5.0) (2.8-4.3)
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 1.1 2.8-3.8 3.0-4.0
(เดิม) (1.5-2.5) (2.0-3.0)
ที่มา : ธปท.
Business
สิ่งทอ : ทางการจีนประกาศปรับขึ้นอัตราการคืนภาษีให้แก่ผู้ส่งออกสิ่งทอเป็น 13% จากที่ก่อนหน้านี้ปรับลดลงเหลือ 9% (จากเดิม 11%)
เพื่อบรรเทาปัญหาของผู้ส่งออกสิ่งทอ โดยเฉพาะความต้องการในตลาดต่างประเทศชะลอตัวลง เงินหยวนแข็งค่า และต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกสิ่งทอของจีนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่า 83,851 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11% จากช่วงเดียวกันของปี 2550
เฟอร์นิเจอร์ : ปัจจุบันผู้ผลิตและส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของจีนกำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์ม เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ (มีสัดส่วนการส่งออกกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์โดยรวมของจีน) ลดคำสั่งซื้อลง นอกจากนี้ ผู้ผลิตจีนยังประสบปัญหาต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบ และค่าจ้างแรงงานซึ่งปรับขึ้นราว 20% และ 10% ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากการที่สถาบันการเงินในจีนเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จีนทำการสำรวจกำไร (Margin) ของบริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์จำ นวนหนึ่งในจีน พบว่ากำ ไรโดยเฉลี่ยของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์จีนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2551 ปรับลดลงเหลือ 1.1% (จากที่เคยมีกำไร 3.2% ในช่วงเดียวกันของปี 2550)
International
เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีทิศทางไม่แน่นอนเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 Department of Commerce ของสหรัฐฯ รายงานเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัว 1.9% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์หลายสำ นักคาดการณ์ไว้ เนื่องจากปัญหาสินเชื่อตึงตัวยังคงมีอยู่ ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ซบเซาต่อเนื่อง ประกอบกับราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อบริโภคและลงทุนในประเทศชะลอลง อย่างไรก็ตาม
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น อันเป็นผลจากเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง โดยในไตรมาส 2 ปี 2551 ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี อยู่ที่ระดับ 395.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกันนี้ทางการสหรัฐฯ ได้ปรับเพิ่มอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาสแรก ปี 2551 จาก 0.6% เป็น 0.9% ตลอดจนปรับลดอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาส 4 ปี 2550 จากที่ขยายตัว 0.6%
เป็นหดตัว 0.6% นับเป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 2544
ในวันเดียวกันนี้นาย Alan Greenspan อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ออกมาให้ความเห็นว่าราคาบ้านในสหรัฐฯ ยังไม่ถึงจุดต่ำสุด
และปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่จบลงง่าย ๆ ซึ่งจะบั่นทอนการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อไป โดยนาย Greenspan มองว่ามีโอกาสถึง
50% ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2551--
-พห-
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2551 อยู่ที่ระดับ 4.8-5.8% (จากคาดการณ์เดิมที่ 4.8-6.0%) รวมทั้งปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2552 เหลือ 4.3-5.8% (จากเดิม 4.5-6.0%) พร้อมกันนี้ธปท. ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2551 อยู่ที่ระดับ 7.5-8.8% (จากเดิม 4.0-5.0%) เนื่องจากราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ธปท.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2552 จะลดลงมาอยู่ที่ 5.0-7.5% เนื่องจากแรงกดดันด้านราคาน้ำมันที่เริ่มบรรเทาลง
% 2550 2551 2552
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 4.8 4.8-5.8 4.3-5.8
(เดิม) (4.8-6.0) (4.5-6.0)
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.3 7.5-8.8 5.0-7.5
(เดิม) (4.0-5.0) (2.8-4.3)
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 1.1 2.8-3.8 3.0-4.0
(เดิม) (1.5-2.5) (2.0-3.0)
ที่มา : ธปท.
Business
สิ่งทอ : ทางการจีนประกาศปรับขึ้นอัตราการคืนภาษีให้แก่ผู้ส่งออกสิ่งทอเป็น 13% จากที่ก่อนหน้านี้ปรับลดลงเหลือ 9% (จากเดิม 11%)
เพื่อบรรเทาปัญหาของผู้ส่งออกสิ่งทอ โดยเฉพาะความต้องการในตลาดต่างประเทศชะลอตัวลง เงินหยวนแข็งค่า และต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกสิ่งทอของจีนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่า 83,851 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11% จากช่วงเดียวกันของปี 2550
เฟอร์นิเจอร์ : ปัจจุบันผู้ผลิตและส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของจีนกำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์ม เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ (มีสัดส่วนการส่งออกกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกเฟอร์นิเจอร์โดยรวมของจีน) ลดคำสั่งซื้อลง นอกจากนี้ ผู้ผลิตจีนยังประสบปัญหาต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบ และค่าจ้างแรงงานซึ่งปรับขึ้นราว 20% และ 10% ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากการที่สถาบันการเงินในจีนเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จีนทำการสำรวจกำไร (Margin) ของบริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์จำ นวนหนึ่งในจีน พบว่ากำ ไรโดยเฉลี่ยของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์จีนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2551 ปรับลดลงเหลือ 1.1% (จากที่เคยมีกำไร 3.2% ในช่วงเดียวกันของปี 2550)
International
เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีทิศทางไม่แน่นอนเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 Department of Commerce ของสหรัฐฯ รายงานเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัว 1.9% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์หลายสำ นักคาดการณ์ไว้ เนื่องจากปัญหาสินเชื่อตึงตัวยังคงมีอยู่ ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ซบเซาต่อเนื่อง ประกอบกับราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้การใช้จ่ายเพื่อบริโภคและลงทุนในประเทศชะลอลง อย่างไรก็ตาม
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น อันเป็นผลจากเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง โดยในไตรมาส 2 ปี 2551 ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี อยู่ที่ระดับ 395.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกันนี้ทางการสหรัฐฯ ได้ปรับเพิ่มอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาสแรก ปี 2551 จาก 0.6% เป็น 0.9% ตลอดจนปรับลดอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาส 4 ปี 2550 จากที่ขยายตัว 0.6%
เป็นหดตัว 0.6% นับเป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 2544
ในวันเดียวกันนี้นาย Alan Greenspan อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ออกมาให้ความเห็นว่าราคาบ้านในสหรัฐฯ ยังไม่ถึงจุดต่ำสุด
และปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่จบลงง่าย ๆ ซึ่งจะบั่นทอนการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อไป โดยนาย Greenspan มองว่ามีโอกาสถึง
50% ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2551--
-พห-