Macro
ปี อัตราขยายตัวเฉลี่ยต่อบี (%)
2551-2555 5.7
2556-2560 5.9
2561-2565 5.8
2566-2570 5.5
2551-2570 5.7
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้าจนถึงปี 2570 โดยเน้นปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้ลดการพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมจากปัจจุบันที่มีสัดส่วนราว 40-50% ของ GDP ให้เหลือ 30% ของ GDP ในปี 2570 โดยหันมาให้ความสำคัญมากขึ้นกับภาคบริการและภาคเกษตรกรรม ขณะเดียวกัน สศช. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2551-2570 ขยายตัวในระดับเฉลี่ย 5.7% ต่อปี
Business
ข้าว : การส่งออกข้าวของไทยในไตรมาส 3 ปี 2551 ลดความร้อนแรงลงมากและกลับมาเป็นตลาดของผู้ซื้ออีกครั้ง จากที่เคยเป็นของตลาดผู้ขายในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 โดยคาดว่าปริมาณส่งออกข้าวเฉลี่ยต่อเดือนในช่วงครึ่งปีหลังจะลดลง 30-40% หรือจาก 9 แสนตันต่อเดือน เหลือ 5-6 แสนตันต่อเดือนและการชะลอตัวดังกล่าวอาจยาวไปถึงปี 2552 เนื่องจาก
- ข้าวหอมมะลิ ขณะนี้จีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิรายใหญ่สุดของไทยยังไม่มีคำสั่งซื้อเข้ามา เนื่องจากจีนสต็อกข้าวไว้เป็นจำนวนมากในช่วงต้นปีทำให้พ่อค้าจีนต้องนำข้าวออกมาจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาส่งออกของไทยในขณะนี้
- ข้าวขาว แม้รัฐบาลเวียดนามประกาศปรับเพิ่มราคาส่งออกข้าวขาว 5% ขั้นต่ำ จากตันละ 720 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นตันละ 750 ดอลลาร์สหรัฐ แต่พบว่ามีข้าวเวียดนามบางส่วนส่งออกที่ราคาตันละ 570 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ข้าวไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ประกอบกับปริมาณผลผลิตข้าวของเวียดนามในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาสูงถึง 11 ล้านตันข้าวเปลือก ทำให้เวียดนามต้องเร่งส่งออกเนื่องจากไม่มีโกดังเก็บ
อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวนึ่งในช่วงนี้ยังมีแนวโน้มดี เนื่องจากอินเดียซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยยังไม่อนุญาตให้ส่งออกข้าวนึ่ง จึงยังคงมีคำสั่งซื้อมาที่ไทยจำนวนมากในราคาเฉลี่ยตันละ 750-780 ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับปี 2552 สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เห็นว่า สถานการณ์ส่งออกข้าวยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากผลผลิตข้าวทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 10 ล้านตันเป็น 43.5 ล้านตันข้าวสาร เนื่องจากราคาข้าวในปี 2551 สูงจูงใจให้ทั้งประเทศผู้ส่งออกและผู้นำเข้าขยายการเพาะปลูกข้าว นอกจากนี้ คาดว่าปริมาณการค้าข้าวโลกในปี 2552 จะลดลงเหลือ 27 ล้านตัน จาก 25-29 ล้านตันในปี 2551 เนื่องจากความต้องการนำเข้าข้าวลดลงจากปริมาณผลผลิตที่มีมากขึ้นของประเทศผู้นำเข้าเป็นสำคัญ
พาณิชยนาวี : คำสั่งต่อเรือใหม่ โดยเฉพาะเรือคอนเทนเนอร์เริ่มประสบปัญหาจากเศรษฐกิจโลกชะลอลง จนทำให้ความต้องการใช้
บริการขนส่งสินค้าระหว่างสหรัฐฯ และ EU กับประเทศในเอเชียเริ่มชะลอลง ล่าสุด Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering และ Hyundai Mipo Dockyard อู่ต่อเรือรายสำคัญของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ทั้งสองบริษัทยกเลิกการรับคำสั่งต่อเรือคอนเทนเนอร์ใหม่ มูลค่ารวมกันกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากผู้ว่าจ้างต่อเรือจากเยอรมนีและสเปน ไม่สามารถชำระเงินได้ตามเวลาที่ตกลงไว้ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และปัญหาสินเชื่อตึงตัวของสหรัฐฯ และ EU ส่งผลให้ผู้ให้บริการเดินเรือขนาดกลางและเล็กเริ่มประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ส่งผลต่อเนื่องมายังการสั่งต่อเรือใหม่ นอกจากนี้ปัจจุบันสถาบันการเงินเริ่มเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อสำหรับการต่อเรือใหม่ โดยเฉพาะกรณีสั่งต่อเรือใหม่เพื่อเก็งกำไรจากราคาเรือ และในบางกรณีที่รีบสั่งต่อเรือใหม่ก่อนการปรับขึ้นของราคาเหล็กในช่วงที่ผ่านมา International
International
Moody’s ระบุเศรษฐกิจอินเดียกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน
แม้ว่าเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2551 Moody’s Investors Service ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับชั้นนำของโลก ได้ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือตราสารทางการเงินประเภท Foreign Currency and Local Currency of Government Bond Ratings ของอินเดีย ไว้ที่ Baa3 (ระดับ Investment Grade)และ Ba2 (ระดับ Speculative Grade) ตามลำดับ พร้อมทั้งคง Outlook ของตราสารทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ที่ระดับ Stable เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม Moody’s ได้ระบุว่า ขณะนี้เศรษฐกิจอินเดียกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งจากปัญหาราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของอินเดียพุ่งแตะระดับ 12% ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2551 สูงสุดในรอบ 13 ปี นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียยังประสบปัญหาขาดดุลการคลังเรื้อรัง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาล ต้องอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศบางส่วน แม้ได้ทยอยปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินในประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางอินเดีย (The Reserve Bank of India : RBI) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo 3-day) จาก 8.5% เป็น 9% (สูงสุดในรอบ 7 ปี) พร้อมปรับเพิ่มอัตราดำรงเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ จาก 8.75% เป็น 9% (จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2551) ล่าสุด รัฐบาลอินเดียได้ปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในปีงบประมาณ 2551/52 (1 เมษายน 2551-31 มีนาคม 2552) จาก 8-8.5% เหลือ 8% (ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2547) ขณะที่ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีงบประมาณ 2551/52 จาก 5-5.5% เป็น 7%
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2551--
-พห-
ปี อัตราขยายตัวเฉลี่ยต่อบี (%)
2551-2555 5.7
2556-2560 5.9
2561-2565 5.8
2566-2570 5.5
2551-2570 5.7
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้าจนถึงปี 2570 โดยเน้นปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้ลดการพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมจากปัจจุบันที่มีสัดส่วนราว 40-50% ของ GDP ให้เหลือ 30% ของ GDP ในปี 2570 โดยหันมาให้ความสำคัญมากขึ้นกับภาคบริการและภาคเกษตรกรรม ขณะเดียวกัน สศช. คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2551-2570 ขยายตัวในระดับเฉลี่ย 5.7% ต่อปี
Business
ข้าว : การส่งออกข้าวของไทยในไตรมาส 3 ปี 2551 ลดความร้อนแรงลงมากและกลับมาเป็นตลาดของผู้ซื้ออีกครั้ง จากที่เคยเป็นของตลาดผู้ขายในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 โดยคาดว่าปริมาณส่งออกข้าวเฉลี่ยต่อเดือนในช่วงครึ่งปีหลังจะลดลง 30-40% หรือจาก 9 แสนตันต่อเดือน เหลือ 5-6 แสนตันต่อเดือนและการชะลอตัวดังกล่าวอาจยาวไปถึงปี 2552 เนื่องจาก
- ข้าวหอมมะลิ ขณะนี้จีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิรายใหญ่สุดของไทยยังไม่มีคำสั่งซื้อเข้ามา เนื่องจากจีนสต็อกข้าวไว้เป็นจำนวนมากในช่วงต้นปีทำให้พ่อค้าจีนต้องนำข้าวออกมาจำหน่ายในราคาต่ำกว่าราคาส่งออกของไทยในขณะนี้
- ข้าวขาว แม้รัฐบาลเวียดนามประกาศปรับเพิ่มราคาส่งออกข้าวขาว 5% ขั้นต่ำ จากตันละ 720 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นตันละ 750 ดอลลาร์สหรัฐ แต่พบว่ามีข้าวเวียดนามบางส่วนส่งออกที่ราคาตันละ 570 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ข้าวไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ประกอบกับปริมาณผลผลิตข้าวของเวียดนามในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาสูงถึง 11 ล้านตันข้าวเปลือก ทำให้เวียดนามต้องเร่งส่งออกเนื่องจากไม่มีโกดังเก็บ
อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวนึ่งในช่วงนี้ยังมีแนวโน้มดี เนื่องจากอินเดียซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยยังไม่อนุญาตให้ส่งออกข้าวนึ่ง จึงยังคงมีคำสั่งซื้อมาที่ไทยจำนวนมากในราคาเฉลี่ยตันละ 750-780 ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับปี 2552 สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เห็นว่า สถานการณ์ส่งออกข้าวยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากผลผลิตข้าวทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 10 ล้านตันเป็น 43.5 ล้านตันข้าวสาร เนื่องจากราคาข้าวในปี 2551 สูงจูงใจให้ทั้งประเทศผู้ส่งออกและผู้นำเข้าขยายการเพาะปลูกข้าว นอกจากนี้ คาดว่าปริมาณการค้าข้าวโลกในปี 2552 จะลดลงเหลือ 27 ล้านตัน จาก 25-29 ล้านตันในปี 2551 เนื่องจากความต้องการนำเข้าข้าวลดลงจากปริมาณผลผลิตที่มีมากขึ้นของประเทศผู้นำเข้าเป็นสำคัญ
พาณิชยนาวี : คำสั่งต่อเรือใหม่ โดยเฉพาะเรือคอนเทนเนอร์เริ่มประสบปัญหาจากเศรษฐกิจโลกชะลอลง จนทำให้ความต้องการใช้
บริการขนส่งสินค้าระหว่างสหรัฐฯ และ EU กับประเทศในเอเชียเริ่มชะลอลง ล่าสุด Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering และ Hyundai Mipo Dockyard อู่ต่อเรือรายสำคัญของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ทั้งสองบริษัทยกเลิกการรับคำสั่งต่อเรือคอนเทนเนอร์ใหม่ มูลค่ารวมกันกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากผู้ว่าจ้างต่อเรือจากเยอรมนีและสเปน ไม่สามารถชำระเงินได้ตามเวลาที่ตกลงไว้ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และปัญหาสินเชื่อตึงตัวของสหรัฐฯ และ EU ส่งผลให้ผู้ให้บริการเดินเรือขนาดกลางและเล็กเริ่มประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ส่งผลต่อเนื่องมายังการสั่งต่อเรือใหม่ นอกจากนี้ปัจจุบันสถาบันการเงินเริ่มเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อสำหรับการต่อเรือใหม่ โดยเฉพาะกรณีสั่งต่อเรือใหม่เพื่อเก็งกำไรจากราคาเรือ และในบางกรณีที่รีบสั่งต่อเรือใหม่ก่อนการปรับขึ้นของราคาเหล็กในช่วงที่ผ่านมา International
International
Moody’s ระบุเศรษฐกิจอินเดียกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน
แม้ว่าเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2551 Moody’s Investors Service ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับชั้นนำของโลก ได้ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือตราสารทางการเงินประเภท Foreign Currency and Local Currency of Government Bond Ratings ของอินเดีย ไว้ที่ Baa3 (ระดับ Investment Grade)และ Ba2 (ระดับ Speculative Grade) ตามลำดับ พร้อมทั้งคง Outlook ของตราสารทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ที่ระดับ Stable เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม Moody’s ได้ระบุว่า ขณะนี้เศรษฐกิจอินเดียกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งจากปัญหาราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของอินเดียพุ่งแตะระดับ 12% ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2551 สูงสุดในรอบ 13 ปี นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียยังประสบปัญหาขาดดุลการคลังเรื้อรัง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาล ต้องอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศบางส่วน แม้ได้ทยอยปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินในประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางอินเดีย (The Reserve Bank of India : RBI) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo 3-day) จาก 8.5% เป็น 9% (สูงสุดในรอบ 7 ปี) พร้อมปรับเพิ่มอัตราดำรงเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ จาก 8.75% เป็น 9% (จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2551) ล่าสุด รัฐบาลอินเดียได้ปรับลดคาดการณ์อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในปีงบประมาณ 2551/52 (1 เมษายน 2551-31 มีนาคม 2552) จาก 8-8.5% เหลือ 8% (ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2547) ขณะที่ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีงบประมาณ 2551/52 จาก 5-5.5% เป็น 7%
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2551--
-พห-