ตัวเลขมูลค่าส่งออกปี 2551 ที่มีการคาดคะเนกันข้ามปีว่าจะชะลอตัวลงกว่าปี 2550 ที่ขยายตัวได้กว่าร้อยละ 17 กลับมีฟอร์มดีมาโดย
ตลอดนับตั้งแต่เปิดศักราชปี 2551 และมิได้ออกอาการแผ่วลงแม้แต่น้อย ทั้งที่ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลักที่ส่อเค้าซบเซาลง
รวมทั้งราคาน้ำมันและต้นทุนการผลิตที่ทะยานสูงขึ้นมากจนไม่เป็นใจต่อการขยายการส่งออกเท่าใดนัก แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น การส่งออกของ
ไทยสามารถฟันฝ่าคลื่นลมผ่านครึ่งปีแรกไปได้อย่างน่าภาคภูมิใจ ทั้งด้วยความเก่งของผู้ส่งออกจำนวนมาก ที่ปรับตัวได้ดีและมีการขยายตลาดส่งออก
ใหม่ๆ ยังไม่นับรวมการที่บริษัทข้ามชาติจำนวนมากที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย ยังใช้เราเป็นแขนขาในการส่งออกเพื่อกระจายสินค้าต่อไปยังตลาด
อื่นๆ ทั่วทุกมุมโลก ซึ่งจุดนี้เอง ทำให้ประเทศไทยยังคงรักษาความเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญในตลาดการค้าโลก (Global Supply Chain)
ไว้ได้ เมื่อประจวบเหมาะกับความเฮงที่คาดไม่ถึงจากปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าเกษตรที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะข้าวที่
ตลาดกลับกลายเป็นของผู้ขาย รวมทั้งการแข่งขันจากคู่แข่งสำคัญอย่างจีนเริ่มแผ่วลงในหลายสินค้าจากปัจจัยบั่นทอนหลายประการ ประกอบกับเงินบาทที่
แข็งค่ามานานเริ่มมีทิศทางอ่อนค่าลงตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ด้วยความเก่งบวกเฮงดังกล่าว ทำให้การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มี
มูลค่า 87,212.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวถึงร้อยละ 23.1 และมีแนวโน้มว่าตลอดทั้งปีจะขยายตัวได้เกินเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ร้อย
ละ 12.5 อย่างไม่ยากเย็นนัก ยิ่งไปกว่านั้นมีความเป็นไปได้ที่การส่งออกอาจขยายตัวเกินร้อยละ 20 หากยังสามารถรักษาระดับความเร็วและความ
แรงของการส่งออกไม่ให้แผ่วลงไปกว่าครึ่งปีแรก
มูลค่าส่งออกครึ่งหลังปี 2551 เพื่อบรรลุเป้าหมาย ณ ระดับต่างๆ
มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราขยายตัว คาดการณ์มูลค่าส่งออก มูลค่าส่งออก คาดการณ์มูลค่าส่งออก
มูลค่าส่งออกปี 2551 ปี 2551 ครึ่งแรกปี 2551 ครึ่งหลังปี 2551
12.5% (เป้ากระทรวงพาณิชย์) 171,107.10 87,212.6 (23.1%) 83,894.5 (3.3%)
17.2% (เท่ากับปี 2550) 178,255.60 91,043.0 (12.1%)
23.1% (เท่ากับครึ่งแรกปี 2551) 187,229.20 100,016.6 (23.1%)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บแสดงอัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออกเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าส่งออกครึ่งแรกปี 2550 = 70,851.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าส่งออกครึ่งหลังปี 2550 = 81,243.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าส่งออกทั้งปี 2550 = 152,095.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การปรับตัวของผู้ประกอบการ : ความเก่งของภาคส่งออกไทย
ตัวเลขส่งออกของไทยในปี 2551 ที่พุ่งขึ้นเหนือความคาดหมายดังกล่าว ส่วนที่ได้จากความเก่งของภาคส่งออกไทย คงต้องยกนิ้วให้กับ
ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้
- ผู้ส่งออกไทยขยายตลาดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง มูลค่าส่งออกไปตลาดใหม่เติบโตดีมาโดยตลอดและทวีความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ โดยสัดส่วน
การส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนใกล้เคียงตลาดหลักเข้าไปทุกขณะ จากร้อยละ 37 ของมูลค่าส่งออกรวมในปี 2546 เป็นร้อยละ 48 ใน
ช่วงครึ่งแรกปี 2551 นอกจากนี้ มูลค่าส่งออกไปตลาดใหม่ในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 31.1 โดยเฉพาะตลาดแอฟริกา (ขยายตัว
ร้อยละ 60.5) อินโดจีน (ร้อยละ 57.0) และยุโรปตะวันออก (ร้อยละ 31.8) ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกรวมครึ่งแรกปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 23.1 มี
ส่วน (Contributions to Growth) จากมูลค่าส่งออกไปตลาดใหม่ถึงร้อยละ 14.0 สำหรับสินค้าส่งออกของไทยที่มีสัดส่วนมูลค่าส่งออกไปตลาดใหม่
มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ ปูนซีเมนต์ หนังสือและสิ่งพิมพ์ กระดาษและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์
อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ข้าว สิ่งทอ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
สัดส่วนการส่งออกของไทย
2546 ตลาดหลัก 63% ----> 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) ตลาดหลัก 52%
ตลาดใหม่ 37% ตลาดใหม่ 48%
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
Contributions to Export Growth (จำแนกตามตลาดส่งออก)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
มูลค่าส่งออกปี 2550 (ม.ค.-มิ.ย.)| ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.)
| --------------------------------------------------------------------
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) | มูลค่าส่งออก อัตราขยายตัว Contributions to
| (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) (%) Growth (%)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตลาดหลัก 38,950 | 45,389 16.50 9.10
ตลาดใหม่ 31,902 | 41,824 31.10 14.00
รวม 70,852 | 87,213 23.10 23.10
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : ฝ่ายวิชาการ EXIM BANK คำนวณจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์
สินค้าส่งออกหลายรายการมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้น
สัดส่วน (%)
สินค้า 2546 2550
ปูนซีเมนต์ 70.5 87.8
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 40.8 78.7
กระดาษและผลิตภัณฑ์ 50.4 61.4
เคมีภัณฑ์ 49 60.8
อัญมณีและเครื่องประดับ 44 54.9
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 44.7 53.8
ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ 33.1 44.1
ผลิตภัณฑ์ข้าว 28 40.5
สิ่งทอ 33.9 39.9
เครื่องใช้ไฟฟ้า 30.2 39.5
ที่มา : ฝ่ายวิชาการ EXIM BANK คำนวณจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์
- ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับระเบียบการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
ส่งออกได้มากขึ้น ปัจจุบันผู้ส่งออกไทยจำนวนไม่น้อยมีการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ด้วยการยกระดับเทคโนโลยีการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้
ได้มาตรฐานตามที่ประเทศคู่ค้ากำหนด ทั้งมาตรฐานสุขอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม แรงงาน และสังคม ขณะเดียวกันสินค้าไทยหลายรายการ
สามารถแทรกตัวเข้าสู่วงจรการค้าโลกได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากเดิมที่เน้นเป็น
เพียงผู้รับจ้างผลิตหรือประกอบสินค้า ไปสู่การวางตัวเป็นผู้ออกแบบ วิจัยและพัฒนา การจัดจำหน่าย ตลอดจนการทำการตลาดผ่านการสร้างตราสินค้า
เป็นต้น
- ไทยยังคงรักษาสถานะของการเป็นฐานการผลิตให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations :
MNCs) ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ด้วยจุดแข็งที่แรงงานมีความประณีตสูง ตลอดจนมีฐานการผลิตของอุตสาหกรรมเชื่อมโยง (Supporting
Industries) ที่เข้มแข็งในการป้อนชิ้นส่วนและวัตถุดิบให้แก่ MNCs จำนวนมาก ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงโครงสร้างการส่งออกของไทย คงปฏิเสธไม่ได้
ว่าเรายังคงต้องพึ่งพา MNCs เป็นเสาหลักในการผลักดันภาคการส่งออกโดยรวมเป็นสำคัญ เนื่องจาก MNCs เหล่านี้ถือเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ
ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การผลิต และการตลาด โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทค ซึ่งมีมูลค่าส่งออกคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าส่งออกรวม
ของประเทศในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551
มูลค่าส่งออกสินค้าไฮเทคยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้มูลค่าส่งออกรวมของไทยที่ขยายตัวร้อยละ 23.1 มีส่วนร่วม (Contributions to
Growth) จากกลุ่มสินค้าไฮเทคอยู่กว่าครึ่งถึงร้อยละ 12.1
Contributions to Export Growth (จำแนกตามสินค้าส่งออก)
สินค้า มูลค่าส่งออกปี 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) ----------------ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.)-------------------
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มูลค่าส่งออก อัตราขยายตัว Contributions to Growth
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) (%) (%)
เกษตรกรรม 5,352.6 8,300.4 55.1 4.2
ประมง 1,162.8 1,200.0 3.2 0.1
อุตสาหกรรม 62,352.3 76,378.3 22.5 19.8
- แรงงานเข้มข้น 5,619.0 7,726.9 37.5 3.0
- ไฮเทค 45,781.2 54,362.7 18.7 12.1
- ทรัพยากร 7,484.6 9,130.6 22.0 2.3
- อื่นๆ 3,467.5 5,158.1 48.8 2.4
อื่นๆ 1,984.3 1,334.3 -32.8 -0.9
รวม 70,852 87,213 23.1 23.1
ที่มา : ฝ่ายวิชาการ EXIM BANK คำนวณจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการส่งออกของไทยที่ต้องพึ่งพา MNCs เป็นหลักเช่นปัจจุบัน คงมิใช่แนวทางการพัฒนาภาคการส่งออกที่ยั่งยืนใน
ระยะยาว แนวทางแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างดังกล่าวควรเร่งพัฒนาธุรกิจส่งออกที่เป็นของคนไทยให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น เพื่อให้การส่งออก
สามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืนและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ความเฮง : ปัจจัยหนุนนำส่งออกขยายตัว
นอกจากการปรับตัวของผู้ส่งออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเพื่อรับมือกับปัจจัยผันผวนมากมายที่ส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกตลอดหลายปีที่
ผ่านมา ทั้งเงินบาทแข็งค่า เศรษฐกิจโลกชะลอตัว มาตรฐานสินค้าที่เข้มงวดขึ้น และการแข่งขันที่รุนแรง ได้บ่มเพาะให้ผู้ส่งออกไทยปรับตัวจนมีความ
แข็งแกร่งมากในปัจจุบันแล้ว ในปี 2551 ภาคส่งออกยังได้รับผลดีจากสภาวะแวดล้อมในตลาดการค้าโลกที่เป็นใจซึ่งช่วยผลักดันให้ปี 2551 เป็นปีทองอีก
ปีหนึ่งของภาคส่งออกไทย ความเฮงที่ว่านี้ ได้แก่
- ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นมาก ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้มูลค่าส่งออกในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ขยายตัวสูงมาก ปรากฏการณ์ที่ว่านี้
ต่างจากช่วงหลายปีก่อน ซึ่งมูลค่าส่งออกที่ขยายตัวเป็นผลมาจากการขยายตัวของปริมาณส่งออกเป็นหลัก แต่มาในปีนี้ราคาส่งออกที่ทะยานขึ้น นับเป็น
ปัจจัยที่ช่วยหนุนนำมูลค่าส่งออกให้ขยายตัวอีกทางหนึ่งนอกเหนือไปจากปริมาณส่งออกที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมองลึกลงไปถึงรายละเอียด
ของราคาสินค้าส่งออกแต่ละประเภท พบว่า ราคาสินค้าเกษตรในช่วงครึ่งแรกสูงขึ้นมากตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก อันเป็นผลมาจากความวิตก
กังวลถึงภาวะขาดแคลนอาหารจากภูมิอากาศในหลายภูมิภาคของโลกที่แปรปรวน โดยพืชเกษตรหลักแทบทุกชนิดล้วนได้รับอานิสงส์ตามมา ไม่ว่าจะเป็น
ข้าว (ราคาส่งออกเฉลี่ยครึ่งแรกปี 2551 สูงขึ้นถึงร้อยละ 50) มันสำปะหลัง (ร้อยละ 61) และยางพารา (ร้อยละ 30) ขณะเดียวกัน ราคาส่งออก
สินค้าอุตสาหกรรมก็ปรับสูงขึ้น ซึ่งเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปตามภาวะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้พุ่งพรวดเหมือนกรณีราคาสินค้าเกษตร
มีประเด็นน่าสังเกตว่า แม้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นกว่าร้อยละ 50 เทียบกับสินค้าอุตสาหกรรมที่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 แต่
Contributions to Export Growth ของสินค้าเกษตรในช่วงครึ่งแรกปี 2551 กลับมีเพียงร้อยละ 4.2 เนื่องจากมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรมีสัด
ส่วนเพียงร้อยละ 10 ของมูลค่าส่งออกรวมทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม Contributions to Export Growth ของสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับร้อยละ
4.2 นี้ นับว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในระดับร้อยละ 1-2 หรือบางปีอาจติดลบจนบั่นทอนการส่งออกโดยรวม
- แรงกดดันจากเงินบาทแข็งค่าบรรเทาลงเป็นลำดับ ปัญหาเงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 10 ปีที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2551 เคยถูกมองว่า
อาจเป็นต้นตอสำคัญที่ทำให้การส่งออกในปี 2551 ไม่น่าสดใสนัก อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2551 เป็นต้นมา เงินบาทเริ่มมีทิศทางอ่อนค่า
อย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุสำคัญจากมูลค่านำเข้าที่สูงขึ้นมากจากราคาน้ำมันที่พุ่งไม่หยุด ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง ประกอบกับปัญหาการเมือง
ในประเทศ ทำให้มีเงินทุนไหลออกจำนวนมาก เงินบาทจึงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อการส่งออกตามมา
- การแข่งขันจากจีนแผ่วลงในบางสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้แรงงานมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากต้นทุนการผลิตของจีนเริ่มสูงขึ้น จากเดิมที่
อยู่ในระดับต่ำมากจนสินค้าจากประเทศอื่นต้องพ่ายทัพอย่างไม่เป็นกระบวน แต่มาในวันนี้ โครงสร้างการผลิตในจีนที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ต้นทุนการผลิต
ในจีนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับคุณภาพสินค้าซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้การผลิตสินค้าบางชนิด เช่น เฟอร์นิเจอร์ เริ่มย้ายฐานกลับ
ไปยังประเทศที่เป็นตลาดใหญ่ปลายทางมากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ต้นทุนการประกอบการ อาทิ ค่าที่ดินเริ่มลดลงจากผลของปัญหาซับไพร์ม มาถึงตอน
นี้ จึงเกิดคำถามตามมาว่า ทำไมต้นทุนในจีนจึงสูงขึ้น คำตอบมีด้วยกันหลายประเด็น แต่ที่เด่นชัดคือ ค่าจ้างแรงงานปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจ
บริเวณชายฝั่งที่พัฒนาแล้ว รวมถึงการประกาศใช้กฎหมายแรงงานฉบับใหม่ของจีนเมื่อต้นปี 2551 ซึ่งให้ความคุ้มครองและเพิ่มสวัสดิการแก่ลูกจ้างมาก
ขึ้น เมื่อประกอบกับเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้นมากราวร้อยละ 7 จากต้นปี 2551 ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในจีนมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อประกอบ
กับรัฐบาลจีนลดการอุดหนุนการส่งออก ทำให้จีนหันไปพึ่งพาตลาดในประเทศมากขึ้น การแข่งขันจากจีนจึงบรรเทาลง ซึ่งจะเป็นโอกาสที่สินค้าหลาย
รายการของไทยที่เคยพ่ายต่อสินค้าจีน เริ่มกลับตีตื้นขึ้นได้ โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้แรงงาน เช่น เครื่องนุ่งห่ม ของเด็กเล่น เครื่องกีฬาและเครื่องเล่น
เกม เป็นต้น
สินค้าส่งออกของไทยที่ได้อานิสงส์จากการแข่งขันของจีนแผ่วลง
หน่วย : %
------------------------------------------------------------------------------------------
สินค้า | อัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออก
---------------------------------------------------------
| ปี 2550 | ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.)
เครื่องนุ่งห่ม | -5.0 | 2.3
- เสื้อผ้าเด็ก | -3.9 | 7.2
ของเล่น | -2.9 | 19.2
เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม | 8.6 | 17.1
------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
แนวโน้มส่งออกปี 2552 : ยังเก่ง...แต่อาจไม่เฮงเหมือนเดิม
มูลค่าส่งออกครึ่งแรกปี 2551 ที่ขยายตัวเหนือความคาดหมาย กับตัวเลขส่งออกที่ทำลายสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิถุนายน คงไม่
ใช่สิ่งที่จะยืนยันได้ว่าภาคการส่งออกของไทยจะยังคงโตต่อไปได้เช่นเดิม เพราะเมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ พบว่าการส่งออกในระยะถัดไปมี
อุปสรรคให้ต้องฝ่าฟันอีกมาก ทั้งเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น ที่เผชิญปัญหา
เศรษฐกิจชะลอตัวพร้อมๆ กับเงินเฟ้อที่รุนแรง ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกอาจจะเริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในปี 2552
ขณะเดียวกัน ปัจจัยบวกซึ่งเคยเป็นความโชคดีของผู้ส่งออกไทยในครึ่งปีแรก ก็เริ่มมีเค้าลางที่จะกลับกลายเป็นปัจจัยบั่นทอนในระยะถัดไป ทั้งเงินบาทที่
อาจมีโอกาสกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดหนักลง และเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอีก รวมถึงราคาสินค้าเกษตรสำคัญทั้งข้าวและมัน
สำปะหลังในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการส่งออกของไทยในระยะถัดไปจะต้องเผชิญกับปัจจัยบั่นทอนหลายด้าน และอาจไม่มีโชคช่วยเข้ามาเสริมเหมือนปี
2551 แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยพยุงให้การส่งออกของไทยยังเดินหน้าต่อไปได้อย่างไม่สะดุดคือ ตัวผู้ส่งออกเอง ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีความแข็งแกร่ง
ในการฝ่าฟันอุปสรรคได้ตลอดมา ทำให้เชื่อว่าหากเราไม่ชะล่าใจเกินไปนักกับตัวเลขส่งออกที่สูงขึ้นเกินคาดในช่วงครึ่งแรกปี 2551 และยังคงเร่งพัฒนา
ทั้งด้านการผลิตให้ได้มาตรฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งการขยายตลาดใหม่ให้ได้อย่างต่อเนื่อง การส่งออกในปี 2552 ก็จะขยายตัวต่อไป
ได้ และจะยังคงทำหน้าที่เป็นตัวจักรสำคัญ (Engine of Growth) ในการนำพาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อไปได้อย่างน่าภาคภูมิใจ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2551--
-พห-
ตลอดนับตั้งแต่เปิดศักราชปี 2551 และมิได้ออกอาการแผ่วลงแม้แต่น้อย ทั้งที่ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าหลักที่ส่อเค้าซบเซาลง
รวมทั้งราคาน้ำมันและต้นทุนการผลิตที่ทะยานสูงขึ้นมากจนไม่เป็นใจต่อการขยายการส่งออกเท่าใดนัก แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น การส่งออกของ
ไทยสามารถฟันฝ่าคลื่นลมผ่านครึ่งปีแรกไปได้อย่างน่าภาคภูมิใจ ทั้งด้วยความเก่งของผู้ส่งออกจำนวนมาก ที่ปรับตัวได้ดีและมีการขยายตลาดส่งออก
ใหม่ๆ ยังไม่นับรวมการที่บริษัทข้ามชาติจำนวนมากที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย ยังใช้เราเป็นแขนขาในการส่งออกเพื่อกระจายสินค้าต่อไปยังตลาด
อื่นๆ ทั่วทุกมุมโลก ซึ่งจุดนี้เอง ทำให้ประเทศไทยยังคงรักษาความเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญในตลาดการค้าโลก (Global Supply Chain)
ไว้ได้ เมื่อประจวบเหมาะกับความเฮงที่คาดไม่ถึงจากปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าเกษตรที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะข้าวที่
ตลาดกลับกลายเป็นของผู้ขาย รวมทั้งการแข่งขันจากคู่แข่งสำคัญอย่างจีนเริ่มแผ่วลงในหลายสินค้าจากปัจจัยบั่นทอนหลายประการ ประกอบกับเงินบาทที่
แข็งค่ามานานเริ่มมีทิศทางอ่อนค่าลงตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ด้วยความเก่งบวกเฮงดังกล่าว ทำให้การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มี
มูลค่า 87,212.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวถึงร้อยละ 23.1 และมีแนวโน้มว่าตลอดทั้งปีจะขยายตัวได้เกินเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ที่ร้อย
ละ 12.5 อย่างไม่ยากเย็นนัก ยิ่งไปกว่านั้นมีความเป็นไปได้ที่การส่งออกอาจขยายตัวเกินร้อยละ 20 หากยังสามารถรักษาระดับความเร็วและความ
แรงของการส่งออกไม่ให้แผ่วลงไปกว่าครึ่งปีแรก
มูลค่าส่งออกครึ่งหลังปี 2551 เพื่อบรรลุเป้าหมาย ณ ระดับต่างๆ
มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราขยายตัว คาดการณ์มูลค่าส่งออก มูลค่าส่งออก คาดการณ์มูลค่าส่งออก
มูลค่าส่งออกปี 2551 ปี 2551 ครึ่งแรกปี 2551 ครึ่งหลังปี 2551
12.5% (เป้ากระทรวงพาณิชย์) 171,107.10 87,212.6 (23.1%) 83,894.5 (3.3%)
17.2% (เท่ากับปี 2550) 178,255.60 91,043.0 (12.1%)
23.1% (เท่ากับครึ่งแรกปี 2551) 187,229.20 100,016.6 (23.1%)
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บแสดงอัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออกเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าส่งออกครึ่งแรกปี 2550 = 70,851.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าส่งออกครึ่งหลังปี 2550 = 81,243.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าส่งออกทั้งปี 2550 = 152,095.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การปรับตัวของผู้ประกอบการ : ความเก่งของภาคส่งออกไทย
ตัวเลขส่งออกของไทยในปี 2551 ที่พุ่งขึ้นเหนือความคาดหมายดังกล่าว ส่วนที่ได้จากความเก่งของภาคส่งออกไทย คงต้องยกนิ้วให้กับ
ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้
- ผู้ส่งออกไทยขยายตลาดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง มูลค่าส่งออกไปตลาดใหม่เติบโตดีมาโดยตลอดและทวีความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ โดยสัดส่วน
การส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนใกล้เคียงตลาดหลักเข้าไปทุกขณะ จากร้อยละ 37 ของมูลค่าส่งออกรวมในปี 2546 เป็นร้อยละ 48 ใน
ช่วงครึ่งแรกปี 2551 นอกจากนี้ มูลค่าส่งออกไปตลาดใหม่ในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 31.1 โดยเฉพาะตลาดแอฟริกา (ขยายตัว
ร้อยละ 60.5) อินโดจีน (ร้อยละ 57.0) และยุโรปตะวันออก (ร้อยละ 31.8) ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกรวมครึ่งแรกปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 23.1 มี
ส่วน (Contributions to Growth) จากมูลค่าส่งออกไปตลาดใหม่ถึงร้อยละ 14.0 สำหรับสินค้าส่งออกของไทยที่มีสัดส่วนมูลค่าส่งออกไปตลาดใหม่
มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ ปูนซีเมนต์ หนังสือและสิ่งพิมพ์ กระดาษและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์
อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ข้าว สิ่งทอ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
สัดส่วนการส่งออกของไทย
2546 ตลาดหลัก 63% ----> 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) ตลาดหลัก 52%
ตลาดใหม่ 37% ตลาดใหม่ 48%
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
Contributions to Export Growth (จำแนกตามตลาดส่งออก)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
มูลค่าส่งออกปี 2550 (ม.ค.-มิ.ย.)| ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.)
| --------------------------------------------------------------------
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) | มูลค่าส่งออก อัตราขยายตัว Contributions to
| (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) (%) Growth (%)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตลาดหลัก 38,950 | 45,389 16.50 9.10
ตลาดใหม่ 31,902 | 41,824 31.10 14.00
รวม 70,852 | 87,213 23.10 23.10
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : ฝ่ายวิชาการ EXIM BANK คำนวณจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์
สินค้าส่งออกหลายรายการมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มขึ้น
สัดส่วน (%)
สินค้า 2546 2550
ปูนซีเมนต์ 70.5 87.8
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 40.8 78.7
กระดาษและผลิตภัณฑ์ 50.4 61.4
เคมีภัณฑ์ 49 60.8
อัญมณีและเครื่องประดับ 44 54.9
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 44.7 53.8
ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ 33.1 44.1
ผลิตภัณฑ์ข้าว 28 40.5
สิ่งทอ 33.9 39.9
เครื่องใช้ไฟฟ้า 30.2 39.5
ที่มา : ฝ่ายวิชาการ EXIM BANK คำนวณจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์
- ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับระเบียบการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
ส่งออกได้มากขึ้น ปัจจุบันผู้ส่งออกไทยจำนวนไม่น้อยมีการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ด้วยการยกระดับเทคโนโลยีการผลิตและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้
ได้มาตรฐานตามที่ประเทศคู่ค้ากำหนด ทั้งมาตรฐานสุขอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม แรงงาน และสังคม ขณะเดียวกันสินค้าไทยหลายรายการ
สามารถแทรกตัวเข้าสู่วงจรการค้าโลกได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากเดิมที่เน้นเป็น
เพียงผู้รับจ้างผลิตหรือประกอบสินค้า ไปสู่การวางตัวเป็นผู้ออกแบบ วิจัยและพัฒนา การจัดจำหน่าย ตลอดจนการทำการตลาดผ่านการสร้างตราสินค้า
เป็นต้น
- ไทยยังคงรักษาสถานะของการเป็นฐานการผลิตให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations :
MNCs) ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ด้วยจุดแข็งที่แรงงานมีความประณีตสูง ตลอดจนมีฐานการผลิตของอุตสาหกรรมเชื่อมโยง (Supporting
Industries) ที่เข้มแข็งในการป้อนชิ้นส่วนและวัตถุดิบให้แก่ MNCs จำนวนมาก ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงโครงสร้างการส่งออกของไทย คงปฏิเสธไม่ได้
ว่าเรายังคงต้องพึ่งพา MNCs เป็นเสาหลักในการผลักดันภาคการส่งออกโดยรวมเป็นสำคัญ เนื่องจาก MNCs เหล่านี้ถือเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ
ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การผลิต และการตลาด โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทค ซึ่งมีมูลค่าส่งออกคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าส่งออกรวม
ของประเทศในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551
มูลค่าส่งออกสินค้าไฮเทคยังขยายตัวสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้มูลค่าส่งออกรวมของไทยที่ขยายตัวร้อยละ 23.1 มีส่วนร่วม (Contributions to
Growth) จากกลุ่มสินค้าไฮเทคอยู่กว่าครึ่งถึงร้อยละ 12.1
Contributions to Export Growth (จำแนกตามสินค้าส่งออก)
สินค้า มูลค่าส่งออกปี 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) ----------------ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.)-------------------
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มูลค่าส่งออก อัตราขยายตัว Contributions to Growth
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) (%) (%)
เกษตรกรรม 5,352.6 8,300.4 55.1 4.2
ประมง 1,162.8 1,200.0 3.2 0.1
อุตสาหกรรม 62,352.3 76,378.3 22.5 19.8
- แรงงานเข้มข้น 5,619.0 7,726.9 37.5 3.0
- ไฮเทค 45,781.2 54,362.7 18.7 12.1
- ทรัพยากร 7,484.6 9,130.6 22.0 2.3
- อื่นๆ 3,467.5 5,158.1 48.8 2.4
อื่นๆ 1,984.3 1,334.3 -32.8 -0.9
รวม 70,852 87,213 23.1 23.1
ที่มา : ฝ่ายวิชาการ EXIM BANK คำนวณจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการส่งออกของไทยที่ต้องพึ่งพา MNCs เป็นหลักเช่นปัจจุบัน คงมิใช่แนวทางการพัฒนาภาคการส่งออกที่ยั่งยืนใน
ระยะยาว แนวทางแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างดังกล่าวควรเร่งพัฒนาธุรกิจส่งออกที่เป็นของคนไทยให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น เพื่อให้การส่งออก
สามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืนและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ความเฮง : ปัจจัยหนุนนำส่งออกขยายตัว
นอกจากการปรับตัวของผู้ส่งออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเพื่อรับมือกับปัจจัยผันผวนมากมายที่ส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกตลอดหลายปีที่
ผ่านมา ทั้งเงินบาทแข็งค่า เศรษฐกิจโลกชะลอตัว มาตรฐานสินค้าที่เข้มงวดขึ้น และการแข่งขันที่รุนแรง ได้บ่มเพาะให้ผู้ส่งออกไทยปรับตัวจนมีความ
แข็งแกร่งมากในปัจจุบันแล้ว ในปี 2551 ภาคส่งออกยังได้รับผลดีจากสภาวะแวดล้อมในตลาดการค้าโลกที่เป็นใจซึ่งช่วยผลักดันให้ปี 2551 เป็นปีทองอีก
ปีหนึ่งของภาคส่งออกไทย ความเฮงที่ว่านี้ ได้แก่
- ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นมาก ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้มูลค่าส่งออกในช่วงครึ่งแรกปี 2551 ขยายตัวสูงมาก ปรากฏการณ์ที่ว่านี้
ต่างจากช่วงหลายปีก่อน ซึ่งมูลค่าส่งออกที่ขยายตัวเป็นผลมาจากการขยายตัวของปริมาณส่งออกเป็นหลัก แต่มาในปีนี้ราคาส่งออกที่ทะยานขึ้น นับเป็น
ปัจจัยที่ช่วยหนุนนำมูลค่าส่งออกให้ขยายตัวอีกทางหนึ่งนอกเหนือไปจากปริมาณส่งออกที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมองลึกลงไปถึงรายละเอียด
ของราคาสินค้าส่งออกแต่ละประเภท พบว่า ราคาสินค้าเกษตรในช่วงครึ่งแรกสูงขึ้นมากตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก อันเป็นผลมาจากความวิตก
กังวลถึงภาวะขาดแคลนอาหารจากภูมิอากาศในหลายภูมิภาคของโลกที่แปรปรวน โดยพืชเกษตรหลักแทบทุกชนิดล้วนได้รับอานิสงส์ตามมา ไม่ว่าจะเป็น
ข้าว (ราคาส่งออกเฉลี่ยครึ่งแรกปี 2551 สูงขึ้นถึงร้อยละ 50) มันสำปะหลัง (ร้อยละ 61) และยางพารา (ร้อยละ 30) ขณะเดียวกัน ราคาส่งออก
สินค้าอุตสาหกรรมก็ปรับสูงขึ้น ซึ่งเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปตามภาวะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้พุ่งพรวดเหมือนกรณีราคาสินค้าเกษตร
มีประเด็นน่าสังเกตว่า แม้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นกว่าร้อยละ 50 เทียบกับสินค้าอุตสาหกรรมที่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 แต่
Contributions to Export Growth ของสินค้าเกษตรในช่วงครึ่งแรกปี 2551 กลับมีเพียงร้อยละ 4.2 เนื่องจากมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรมีสัด
ส่วนเพียงร้อยละ 10 ของมูลค่าส่งออกรวมทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม Contributions to Export Growth ของสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับร้อยละ
4.2 นี้ นับว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในระดับร้อยละ 1-2 หรือบางปีอาจติดลบจนบั่นทอนการส่งออกโดยรวม
- แรงกดดันจากเงินบาทแข็งค่าบรรเทาลงเป็นลำดับ ปัญหาเงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 10 ปีที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2551 เคยถูกมองว่า
อาจเป็นต้นตอสำคัญที่ทำให้การส่งออกในปี 2551 ไม่น่าสดใสนัก อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2551 เป็นต้นมา เงินบาทเริ่มมีทิศทางอ่อนค่า
อย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุสำคัญจากมูลค่านำเข้าที่สูงขึ้นมากจากราคาน้ำมันที่พุ่งไม่หยุด ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง ประกอบกับปัญหาการเมือง
ในประเทศ ทำให้มีเงินทุนไหลออกจำนวนมาก เงินบาทจึงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อการส่งออกตามมา
- การแข่งขันจากจีนแผ่วลงในบางสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้แรงงานมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากต้นทุนการผลิตของจีนเริ่มสูงขึ้น จากเดิมที่
อยู่ในระดับต่ำมากจนสินค้าจากประเทศอื่นต้องพ่ายทัพอย่างไม่เป็นกระบวน แต่มาในวันนี้ โครงสร้างการผลิตในจีนที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ต้นทุนการผลิต
ในจีนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับคุณภาพสินค้าซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้การผลิตสินค้าบางชนิด เช่น เฟอร์นิเจอร์ เริ่มย้ายฐานกลับ
ไปยังประเทศที่เป็นตลาดใหญ่ปลายทางมากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ต้นทุนการประกอบการ อาทิ ค่าที่ดินเริ่มลดลงจากผลของปัญหาซับไพร์ม มาถึงตอน
นี้ จึงเกิดคำถามตามมาว่า ทำไมต้นทุนในจีนจึงสูงขึ้น คำตอบมีด้วยกันหลายประเด็น แต่ที่เด่นชัดคือ ค่าจ้างแรงงานปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจ
บริเวณชายฝั่งที่พัฒนาแล้ว รวมถึงการประกาศใช้กฎหมายแรงงานฉบับใหม่ของจีนเมื่อต้นปี 2551 ซึ่งให้ความคุ้มครองและเพิ่มสวัสดิการแก่ลูกจ้างมาก
ขึ้น เมื่อประกอบกับเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้นมากราวร้อยละ 7 จากต้นปี 2551 ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในจีนมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อประกอบ
กับรัฐบาลจีนลดการอุดหนุนการส่งออก ทำให้จีนหันไปพึ่งพาตลาดในประเทศมากขึ้น การแข่งขันจากจีนจึงบรรเทาลง ซึ่งจะเป็นโอกาสที่สินค้าหลาย
รายการของไทยที่เคยพ่ายต่อสินค้าจีน เริ่มกลับตีตื้นขึ้นได้ โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้แรงงาน เช่น เครื่องนุ่งห่ม ของเด็กเล่น เครื่องกีฬาและเครื่องเล่น
เกม เป็นต้น
สินค้าส่งออกของไทยที่ได้อานิสงส์จากการแข่งขันของจีนแผ่วลง
หน่วย : %
------------------------------------------------------------------------------------------
สินค้า | อัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออก
---------------------------------------------------------
| ปี 2550 | ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.)
เครื่องนุ่งห่ม | -5.0 | 2.3
- เสื้อผ้าเด็ก | -3.9 | 7.2
ของเล่น | -2.9 | 19.2
เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม | 8.6 | 17.1
------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
แนวโน้มส่งออกปี 2552 : ยังเก่ง...แต่อาจไม่เฮงเหมือนเดิม
มูลค่าส่งออกครึ่งแรกปี 2551 ที่ขยายตัวเหนือความคาดหมาย กับตัวเลขส่งออกที่ทำลายสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิถุนายน คงไม่
ใช่สิ่งที่จะยืนยันได้ว่าภาคการส่งออกของไทยจะยังคงโตต่อไปได้เช่นเดิม เพราะเมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ พบว่าการส่งออกในระยะถัดไปมี
อุปสรรคให้ต้องฝ่าฟันอีกมาก ทั้งเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น ที่เผชิญปัญหา
เศรษฐกิจชะลอตัวพร้อมๆ กับเงินเฟ้อที่รุนแรง ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกอาจจะเริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในปี 2552
ขณะเดียวกัน ปัจจัยบวกซึ่งเคยเป็นความโชคดีของผู้ส่งออกไทยในครึ่งปีแรก ก็เริ่มมีเค้าลางที่จะกลับกลายเป็นปัจจัยบั่นทอนในระยะถัดไป ทั้งเงินบาทที่
อาจมีโอกาสกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดหนักลง และเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอีก รวมถึงราคาสินค้าเกษตรสำคัญทั้งข้าวและมัน
สำปะหลังในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการส่งออกของไทยในระยะถัดไปจะต้องเผชิญกับปัจจัยบั่นทอนหลายด้าน และอาจไม่มีโชคช่วยเข้ามาเสริมเหมือนปี
2551 แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยพยุงให้การส่งออกของไทยยังเดินหน้าต่อไปได้อย่างไม่สะดุดคือ ตัวผู้ส่งออกเอง ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีความแข็งแกร่ง
ในการฝ่าฟันอุปสรรคได้ตลอดมา ทำให้เชื่อว่าหากเราไม่ชะล่าใจเกินไปนักกับตัวเลขส่งออกที่สูงขึ้นเกินคาดในช่วงครึ่งแรกปี 2551 และยังคงเร่งพัฒนา
ทั้งด้านการผลิตให้ได้มาตรฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมทั้งการขยายตลาดใหม่ให้ได้อย่างต่อเนื่อง การส่งออกในปี 2552 ก็จะขยายตัวต่อไป
ได้ และจะยังคงทำหน้าที่เป็นตัวจักรสำคัญ (Engine of Growth) ในการนำพาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตต่อไปได้อย่างน่าภาคภูมิใจ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2551--
-พห-