Macro
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต(ระยะ 6 เดือนข้างหน้า)
เดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 79.6 เพิ่มขึ้นจาก 78.4 ในเดือนมิถุนายน 2551 นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการ “6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” ซึ่งช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพ
ที่สูงขึ้นได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเมือง และเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภคในระยะถัดไป
Business
ข้าว : ผลผลิตข้าวเวียดนามในปี 2551 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.7% จากปี 2550 เป็น 37.6 ล้านตันข้าวเปลือก สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี 2551 ที่ 37 ล้านตันข้าวเปลือก เนื่องจากราคาส่งออกข้าวช่วงต้นปี 2551 อยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรขยายการเพาะปลูก ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามปรับเป้าส่งออกข้าวในปี 2551 เพิ่มขึ้น 2% เป็น 4.6 ล้านตันข้าวสาร โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย คิวบา และประเทศในแถบแอฟริกา
International
ภาพรวมธุรกิจ : ปัจจุบันธุรกิจส่งออกของไทยเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง ที่สำคัญ ได้แก่
- ไก่แปรรูป : ปัจจุบันแม้มีคำสั่งซื้อเข้ามาจากทั่วโลก แต่เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะแรงงานชำแหละ
และตัดแต่งเนื้อไก่ ทำให้ผู้ส่งออกไม่กล้ารับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น เพราะเกรงว่าจะไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ทันตามกำหนด
- กุ้ง : ผู้ผลิตและส่งออกกุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร (ฐานการผลิตอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของไทย) ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานจำนวนมากเนื่องจากปัจจุบันทางจังหวัดยังไม่ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวใหม่เพิ่ม ทำให้ไม่สามารถขยายกำลังการผลิตและรับคำสั่งซื้อจำนวนมากได้
- ปลาทูน่ากระป๋อง : ผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่ากระป๋องประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะในส่วนแรงงานรูดเนื้อปลา ทำให้
บางบริษัทจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลง
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป : ธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยยังคงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแรงงานตัดเย็บ
ขาดแคลนสูงถึง 60,000-70,000 คนในปัจจุบัน ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ผู้ส่งออกไม่สามารถขยายการผลิตได้ทันกับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งไม่กล้า
รับคำสั่งซื้อในปริมาณมาก เนื่องจากเกรงว่าจะผลิตไม่ทัน
International
เศรษฐกิจยูโรโซนและญี่ปุ่นมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย
ยูโรโซน : เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 สำนักสถิติยุโรป (EuroStat)รายงานเศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซน (Euro Zone) ไตรมาส 2 ปี 2551 หดตัวลง 0.2% (q-o-q) จากที่ขยายตัว 0.7% ในไตรมาสแรกปี 2551 ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2538 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 ของกลุ่มฯ หดตัวลงถึง 0.5% ซึ่งเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบ 5 ปี เช่นเดียวกับเศรษฐกิจฝรั่งเศสและอิตาลี(มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และ 3 ของกลุ่มฯ) ที่หดตัวลงเท่ากันที่ 0.3% นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มยูโรโซนที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 ปี มาอยู่ที่ระดับ 4.0% ในเดือนกรกฎาคม 2551 ส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอลงมาก ประกอบกับภาคการส่งออกซบเซาลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ตลอดจนเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเป็นสำคัญ
ญี่ปุ่น : เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2551 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานเศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 2 ปี 2551 หดตัวลง 0.6% (q-o-q) จากที่ขยายตัว 0.8% ในไตรมาสแรกปี 2551 เนื่องจากการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหดตัว 2.3% นับเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปี ซ้ำเติมการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ซบเซาอยู่เดิม นอกจากนี้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 2 ปี 2551 ลดลง 0.7% นับเป็นการลดลงสองไตรมาสติดต่อกัน ทำให้นักวิเคราะห์เชื่อว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2551--
-พห-
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต(ระยะ 6 เดือนข้างหน้า)
เดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 79.6 เพิ่มขึ้นจาก 78.4 ในเดือนมิถุนายน 2551 นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการ “6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” ซึ่งช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพ
ที่สูงขึ้นได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเมือง และเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภคในระยะถัดไป
Business
ข้าว : ผลผลิตข้าวเวียดนามในปี 2551 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4.7% จากปี 2550 เป็น 37.6 ล้านตันข้าวเปลือก สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี 2551 ที่ 37 ล้านตันข้าวเปลือก เนื่องจากราคาส่งออกข้าวช่วงต้นปี 2551 อยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรขยายการเพาะปลูก ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามปรับเป้าส่งออกข้าวในปี 2551 เพิ่มขึ้น 2% เป็น 4.6 ล้านตันข้าวสาร โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย คิวบา และประเทศในแถบแอฟริกา
International
ภาพรวมธุรกิจ : ปัจจุบันธุรกิจส่งออกของไทยเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง ที่สำคัญ ได้แก่
- ไก่แปรรูป : ปัจจุบันแม้มีคำสั่งซื้อเข้ามาจากทั่วโลก แต่เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะแรงงานชำแหละ
และตัดแต่งเนื้อไก่ ทำให้ผู้ส่งออกไม่กล้ารับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น เพราะเกรงว่าจะไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ทันตามกำหนด
- กุ้ง : ผู้ผลิตและส่งออกกุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร (ฐานการผลิตอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของไทย) ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานจำนวนมากเนื่องจากปัจจุบันทางจังหวัดยังไม่ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวใหม่เพิ่ม ทำให้ไม่สามารถขยายกำลังการผลิตและรับคำสั่งซื้อจำนวนมากได้
- ปลาทูน่ากระป๋อง : ผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่ากระป๋องประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะในส่วนแรงงานรูดเนื้อปลา ทำให้
บางบริษัทจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลง
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป : ธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยยังคงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแรงงานตัดเย็บ
ขาดแคลนสูงถึง 60,000-70,000 คนในปัจจุบัน ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ผู้ส่งออกไม่สามารถขยายการผลิตได้ทันกับคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งไม่กล้า
รับคำสั่งซื้อในปริมาณมาก เนื่องจากเกรงว่าจะผลิตไม่ทัน
International
เศรษฐกิจยูโรโซนและญี่ปุ่นมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย
ยูโรโซน : เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 สำนักสถิติยุโรป (EuroStat)รายงานเศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซน (Euro Zone) ไตรมาส 2 ปี 2551 หดตัวลง 0.2% (q-o-q) จากที่ขยายตัว 0.7% ในไตรมาสแรกปี 2551 ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2538 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 ของกลุ่มฯ หดตัวลงถึง 0.5% ซึ่งเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบ 5 ปี เช่นเดียวกับเศรษฐกิจฝรั่งเศสและอิตาลี(มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และ 3 ของกลุ่มฯ) ที่หดตัวลงเท่ากันที่ 0.3% นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อของกลุ่มยูโรโซนที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 ปี มาอยู่ที่ระดับ 4.0% ในเดือนกรกฎาคม 2551 ส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอลงมาก ประกอบกับภาคการส่งออกซบเซาลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ตลอดจนเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเป็นสำคัญ
ญี่ปุ่น : เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2551 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานเศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 2 ปี 2551 หดตัวลง 0.6% (q-o-q) จากที่ขยายตัว 0.8% ในไตรมาสแรกปี 2551 เนื่องจากการส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหดตัว 2.3% นับเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปี ซ้ำเติมการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ซบเซาอยู่เดิม นอกจากนี้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 2 ปี 2551 ลดลง 0.7% นับเป็นการลดลงสองไตรมาสติดต่อกัน ทำให้นักวิเคราะห์เชื่อว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2551--
-พห-