Macro
มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2551
ก.ค. ม.ค.-ก.ค.
มูลค่าส่งออก 16,957.4 104,170.0
% 43.9 26.1
มูลค่านำเข้า 17,984.3 106,264.1
% 55.1 36.8
ดุลการค้า -1,026.9 -2,094.1
กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าส่งออกเดือนกรกฎาคม 2551 สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 16,957.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขยายตัว 43.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้มูลค่าส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 ขยายตัวที่ระดับ 26.1% อย่างไรก็ตาม
มูลค่านำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2551 ขยายตัวสูงถึง 55.1% ที่ระดับ 17,984.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดุลการค้าของไทยในเดือนกรกฎาคม
2551 ขาดดุลเป็นมูลค่า 1,026.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Business
ยางพารา : ราคายางพาราที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเป็นผลจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนจนส่งผลให้ปริมาณผล
ผลิตยางพาราบางช่วงลดลง ประกอบกับความต้องการใช้ยางพาราของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 700,000 ตันต่อปี เป็นเกือบ 3 ล้านตันต่อปี
ในปัจจุบัน อันเป็นผลจากเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวสูงถึงปีละ 10% สำหรับราคายางพาราในระยะข้างหน้าคาดว่าจะยังทรงตัวในระดับสูงและคงไม่ลดลงไป
แตะระดับกิโลกรัมละ 22 บาทเช่นเดิม เพราะพื้นที่ปลูกยางพาราในประเทศต่าง ๆ ขยายได้ไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการใช้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม
จำนวนประชากร อีกทั้งน้ำมันซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางสังเคราะห์มีจำกัดมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับราคายางพาราที่คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงอย่างต่อ
เนื่อง ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจน้ำยางข้น ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ มีแนวโน้มหันไปลงทุนปลูกสวนยางเองมากขึ้น เนื่องจากน้ำยางสดเป็นต้นทุน
สำคัญของการผลิตน้ำยางข้น ซึ่งการที่ผู้ประกอบการมีวัตถุดิบเองจำนวนหนึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้
สับปะรดกระป๋อง : ขณะนี้ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋องประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบอย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรลดการเพาะปลูกสับปะรดลง
และหันไปขยายการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า ทำให้ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋องหาวัตถุดิบได้ยากขึ้น ขณะที่ต่างประเทศมีคำ
สั่งซื้อเข้ามามากทั้งจากตลาดหลักเดิม และตลาดใหม่ อาทิ รัสเซีย และประเทศในยุโรปตะวันออก ส่งผลให้ผู้ส่งออกต้องเจรจาขอเลื่อนส่งมอบสินค้าจน
ถึงเดือนกันยายนซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาด นอกจากนี้ ผู้ส่งออกยังประสบปัญหาต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะราคากระป๋องซึ่งปรับขึ้น
แล้ว 2 ครั้งในช่วงครึ่งแรกปี 2551 คือ เดือนมกราคมปรับขึ้น 10% เดือนเมษายนปรับขึ้น 25% และล่าสุดในเดือนกันยายน โรงงานแจ้งขอปรับราคา
ขึ้นอีก 10%
International
อาเซียน-อินเดีย เตรียมลงนามข้อตกลง FTA ในเดือนธันวาคม 2551 กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความตกลงเขตการค้าเสรีอา
เซียน-อินเดีย (Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between ASEAN and India) จะสามารถลงนามกันได้ในราว
เดือนธันวาคม 2551 หลังจากมีการเจรจากันนานถึง 5 ปี ทั้งนี้ ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว กลุ่มอาเซียนและอินเดียจะเริ่มทยอยลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้า
จำนวน 80% ของรายการสินค้าที่ค้าขายระหว่างกันภายในปี 2553 และจะลดอัตราภาษีจนเหลือ 0% ภายในปี 2555 ส่วนการเปิดเสรีด้านการค้า
บริการและการลงทุนระหว่างอาเซียน-อินเดีย จะมีการเจรจาร่วมกันเป็นรายสาขาต่อไป
ไทย-ออสเตรเลีย เตรียมเจรจา FTA เพิ่มเติมในภาคบริการและการลงทุนเป็นที่คาดว่า ในเร็ว ๆ นี้ ไทยและออสเตรเลียจะมีการ
เจรจาเพิ่มเติมภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement : TAFTA) ในภาคบริการและ
การลงทุน เพื่อส่งเสริมการค้าบริการและการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภายใต้ TAFTA
ออสเตรเลียอนุญาตให้คนไทยเข้าไปลงทุนถือหุ้นได้ทั้งหมด 100% ในธุรกิจและบริการหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ธุรกิจร้านอาหารและ
ภัตตาคาร ที่ปรึกษากฎหมาย และสถาบันสอนภาษาไทย เป็นต้น แต่ในกรณีที่มูลค่าเงินลงทุนเกิน 10 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย จะต้องขออนุญาตจากคณะ
กรรมการพิจารณาการลงทุนต่างประเทศ (Foreign Investment Review Board : FIRB) ของออสเตรเลียก่อน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2551--
-พห-
มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2551
ก.ค. ม.ค.-ก.ค.
มูลค่าส่งออก 16,957.4 104,170.0
% 43.9 26.1
มูลค่านำเข้า 17,984.3 106,264.1
% 55.1 36.8
ดุลการค้า -1,026.9 -2,094.1
กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าส่งออกเดือนกรกฎาคม 2551 สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 16,957.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขยายตัว 43.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้มูลค่าส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 ขยายตัวที่ระดับ 26.1% อย่างไรก็ตาม
มูลค่านำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2551 ขยายตัวสูงถึง 55.1% ที่ระดับ 17,984.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ดุลการค้าของไทยในเดือนกรกฎาคม
2551 ขาดดุลเป็นมูลค่า 1,026.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Business
ยางพารา : ราคายางพาราที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเป็นผลจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนจนส่งผลให้ปริมาณผล
ผลิตยางพาราบางช่วงลดลง ประกอบกับความต้องการใช้ยางพาราของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 700,000 ตันต่อปี เป็นเกือบ 3 ล้านตันต่อปี
ในปัจจุบัน อันเป็นผลจากเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวสูงถึงปีละ 10% สำหรับราคายางพาราในระยะข้างหน้าคาดว่าจะยังทรงตัวในระดับสูงและคงไม่ลดลงไป
แตะระดับกิโลกรัมละ 22 บาทเช่นเดิม เพราะพื้นที่ปลูกยางพาราในประเทศต่าง ๆ ขยายได้ไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการใช้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม
จำนวนประชากร อีกทั้งน้ำมันซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางสังเคราะห์มีจำกัดมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับราคายางพาราที่คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงอย่างต่อ
เนื่อง ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจน้ำยางข้น ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ มีแนวโน้มหันไปลงทุนปลูกสวนยางเองมากขึ้น เนื่องจากน้ำยางสดเป็นต้นทุน
สำคัญของการผลิตน้ำยางข้น ซึ่งการที่ผู้ประกอบการมีวัตถุดิบเองจำนวนหนึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้
สับปะรดกระป๋อง : ขณะนี้ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋องประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบอย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรลดการเพาะปลูกสับปะรดลง
และหันไปขยายการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า ทำให้ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋องหาวัตถุดิบได้ยากขึ้น ขณะที่ต่างประเทศมีคำ
สั่งซื้อเข้ามามากทั้งจากตลาดหลักเดิม และตลาดใหม่ อาทิ รัสเซีย และประเทศในยุโรปตะวันออก ส่งผลให้ผู้ส่งออกต้องเจรจาขอเลื่อนส่งมอบสินค้าจน
ถึงเดือนกันยายนซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาด นอกจากนี้ ผู้ส่งออกยังประสบปัญหาต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะราคากระป๋องซึ่งปรับขึ้น
แล้ว 2 ครั้งในช่วงครึ่งแรกปี 2551 คือ เดือนมกราคมปรับขึ้น 10% เดือนเมษายนปรับขึ้น 25% และล่าสุดในเดือนกันยายน โรงงานแจ้งขอปรับราคา
ขึ้นอีก 10%
International
อาเซียน-อินเดีย เตรียมลงนามข้อตกลง FTA ในเดือนธันวาคม 2551 กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความตกลงเขตการค้าเสรีอา
เซียน-อินเดีย (Agreement on Comprehensive Economic Cooperation between ASEAN and India) จะสามารถลงนามกันได้ในราว
เดือนธันวาคม 2551 หลังจากมีการเจรจากันนานถึง 5 ปี ทั้งนี้ ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว กลุ่มอาเซียนและอินเดียจะเริ่มทยอยลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้า
จำนวน 80% ของรายการสินค้าที่ค้าขายระหว่างกันภายในปี 2553 และจะลดอัตราภาษีจนเหลือ 0% ภายในปี 2555 ส่วนการเปิดเสรีด้านการค้า
บริการและการลงทุนระหว่างอาเซียน-อินเดีย จะมีการเจรจาร่วมกันเป็นรายสาขาต่อไป
ไทย-ออสเตรเลีย เตรียมเจรจา FTA เพิ่มเติมในภาคบริการและการลงทุนเป็นที่คาดว่า ในเร็ว ๆ นี้ ไทยและออสเตรเลียจะมีการ
เจรจาเพิ่มเติมภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement : TAFTA) ในภาคบริการและ
การลงทุน เพื่อส่งเสริมการค้าบริการและการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภายใต้ TAFTA
ออสเตรเลียอนุญาตให้คนไทยเข้าไปลงทุนถือหุ้นได้ทั้งหมด 100% ในธุรกิจและบริการหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ธุรกิจร้านอาหารและ
ภัตตาคาร ที่ปรึกษากฎหมาย และสถาบันสอนภาษาไทย เป็นต้น แต่ในกรณีที่มูลค่าเงินลงทุนเกิน 10 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย จะต้องขออนุญาตจากคณะ
กรรมการพิจารณาการลงทุนต่างประเทศ (Foreign Investment Review Board : FIRB) ของออสเตรเลียก่อน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2551--
-พห-