Macro
ปี 2551 คาดการณ์ปี 2551
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2
อัตราขยายตัว (%) 6.1 5.3 5.2 - 5.7
อัตราเงินเฟ้อ (%) 5.0 7.6 6.5 - 7.0
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัว 5.3% ชะลอลงจากไตรมาสแรก ซึ่งอยู่ที่ระดับ 6.1% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนโดยรวมชะลอลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่ขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุงให้เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวในเกณฑ์น่าพอใจ พร้อมกันนี้ สศช. คาดว่าทั้งปี 2551 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวราว 5.2-5.7% (จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.5-5.5%) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อตลอดทั้งปีจะอยู่ที่ระดับ 6.5-7.0%
กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 3.75% เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2551 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (R/P 1 วัน) 0.25% จากระดับ 3.50% เป็น 3.75% เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน รวมถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Expectation) ยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกระยะข้างหน้ามีความไม่แน่นอน ประกอบกับ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน” ของรัฐบาลที่ออกมาก่อนหน้านี้เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง
Business
น้ำมันปาล์ม : ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก (Crude Palm Oil : CPO) เฉลี่ยในเดือนสิงหาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 2,726.6 ริงกิตต่อตัน ลดลง 26% เทียบกับเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับราคาสูงสุดในช่วงที่ผ่านมาของปี 2551 เนื่องจากสาเหตุสำคัญ ดังนี้ 1) ปาล์มน้ำมันเข้าสู่ฤดูกาลให้ผลผลิต ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ของทุกปี 2) สภาพภูมิอากาศเอื้อให้มีผลผลิตปาล์มน้ำมันสูงขึ้น 3) ผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก อาทิ จีน ชะลอคำสั่งซื้อน้ำมันปาล์ม เนื่องจากผลผลิตพืชน้ำมันในจีนเพิ่มขึ้น อาทิ ผลผลิตเรปซีดของจีนคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 27% เป็น 11 ล้านตัน ในปี 2551
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันปาล์มดิบที่ปรับลดลงมากทำให้ผู้นำเข้าบางราย อาทิ จีน อินเดีย เริ่มผิดนัดชำระค่าสินค้า อย่างไรก็ตาม คาดว่าการนำผลผลิตปาล์มน้ำมันบางส่วนมาใช้ผลิตไบโอดีเซลจะช่วยพยุงให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในช่วงครึ่งหลังปี 2551 อาจปรับสูงขึ้นได้ในระดับหนึ่ง
กุ้ง : สมาคมกุ้งไทยคาดว่า ปริมาณส่งออกกุ้งในช่วงครึ่งหลังปี 2551 มีแนวโน้มดีขึ้น โดยคาดว่าปริมาณส่งออกกุ้งทั้งปี 2551 จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2550 ที่ 3.4-3.5 แสนตัน สอดคล้องกับคาดการณ์ของบริษัท ยูเนี่ยนโฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด ผู้ส่งออกกุ้งและอาหารทะเลแช่แข็งรายใหญ่ของไทย ซึ่งคาดว่ามูลค่าส่งออกของบริษัทฯ จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากในช่วง 7 เดือนแรกปี 2551 ที่มีมูลค่าส่งออกสูงถึง 4,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 เนื่องจากได้รับปัจจัยเกื้อหนุน ดังนี้
- การบริโภคสินค้าอาหาร รวมถึงกุ้งของสหรัฐฯ ไม่ได้ลดลงจากปัญหาซับไพรม์
- WTO ตัดสินให้สหรัฐฯ ยกเลิกการคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดด้วยวิธี Zeroing ซึ่งทำให้ไทยเสียภาษี AD สูงกว่าปกติ ผลการตัดสินดังกล่าวทำให้คาดว่าอัตราภาษีทบทวน AD ขั้นสุดท้ายของบริษัทฯ ที่สหรัฐฯ เตรียมประกาศใช้ในต้นเดือนกันยายน 2551 จะลดลงจาก 6.09% เหลือประมาณ 4%
นอกจากนี้ ผลการตัดสินให้ไทยชนะกรณีที่สหรัฐฯ บังคับให้ผู้ส่งออกกุ้งวางเงินค้ำประกันการนำเข้า (C-Bond) ทำให้บริษัทฯ มีโอกาสได้รับเงินค้ำประกันที่วางไว้ก่อนหน้าคืนราว 400-500 ล้านบาท
- เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น
International
เศรษฐกิจเยอรมนีมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 สำนักงานสถิติเยอรมนีรายงานเศรษฐกิจเยอรมนีไตรมาส 2 ปี 2551 หดตัว 0.5% (q-o-q) นับเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบเกือบ 4 ปี เทียบกับที่ขยายตัว 1.3% ในไตรมาสแรกปี 2551 เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนและภาคการก่อสร้างหดตัวลงนอกจากนี้ ในวันเดียวกัน Ifo Institute for Economic Research ของเยอรมนี เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นนักธุรกิจในเยอรมนี 7,000 ราย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ German Ifo Index เดือนสิงหาคม 2551 ลดลงจาก 97.5 ในเดือนกรกฎาคม 2551 เหลือ 94.8 ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากนักธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนีคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะชะลอการขยายตัวลงจาก2.5% ในปี 2550 เหลือ 1.7% ในปี 2551 และ 1.2% ในปี 2552
อัตราเงินเฟ้อเวียดนามเดือนสิงหาคม 2551 พุ่งทะลุ 28% สำนักงานสถิติแห่งชาติ (General Statistics Office : GSO) ของเวียดนามรายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคม 2551 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 28.3% ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในช่วง 8 เดือนแรกปี 2551 อยู่ที่ระดับ 22.1% โดยมีปัจจัยผลักดันจากราคาเชื้อเพลิงที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าหลายชนิดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับตั้งแต่อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามปรับตัวขึ้นมาอยู่ในระดับสองหลักในเดือนพฤศจิกายน 2550 รัฐบาลเวียดนามดำเนินนโยบายการเงินและการคลังอย่างรัดกุมมาโดยตลอด โดยเฉพาะการควบคุมการปล่อยสินเชื่อและการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2551 ขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลเวียดนามคาดการณ์ไว้ที่ 7% ขณะเดียวกันยอดขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลซ้ำเติมเศรษฐกิจเวียดนาม โดย GSO คาดว่ายอดขาดดุลการค้าของเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกปี 2551 จะเพิ่มขึ้นเป็น 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าเวียดนามสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นก็ตาม
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2551--
-พห-
ปี 2551 คาดการณ์ปี 2551
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2
อัตราขยายตัว (%) 6.1 5.3 5.2 - 5.7
อัตราเงินเฟ้อ (%) 5.0 7.6 6.5 - 7.0
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัว 5.3% ชะลอลงจากไตรมาสแรก ซึ่งอยู่ที่ระดับ 6.1% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนโดยรวมชะลอลง อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่ขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุงให้เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวในเกณฑ์น่าพอใจ พร้อมกันนี้ สศช. คาดว่าทั้งปี 2551 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวราว 5.2-5.7% (จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.5-5.5%) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อตลอดทั้งปีจะอยู่ที่ระดับ 6.5-7.0%
กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 3.75% เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2551 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (R/P 1 วัน) 0.25% จากระดับ 3.50% เป็น 3.75% เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน รวมถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Expectation) ยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกระยะข้างหน้ามีความไม่แน่นอน ประกอบกับ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน” ของรัฐบาลที่ออกมาก่อนหน้านี้เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง
Business
น้ำมันปาล์ม : ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก (Crude Palm Oil : CPO) เฉลี่ยในเดือนสิงหาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 2,726.6 ริงกิตต่อตัน ลดลง 26% เทียบกับเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระดับราคาสูงสุดในช่วงที่ผ่านมาของปี 2551 เนื่องจากสาเหตุสำคัญ ดังนี้ 1) ปาล์มน้ำมันเข้าสู่ฤดูกาลให้ผลผลิต ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ของทุกปี 2) สภาพภูมิอากาศเอื้อให้มีผลผลิตปาล์มน้ำมันสูงขึ้น 3) ผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก อาทิ จีน ชะลอคำสั่งซื้อน้ำมันปาล์ม เนื่องจากผลผลิตพืชน้ำมันในจีนเพิ่มขึ้น อาทิ ผลผลิตเรปซีดของจีนคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 27% เป็น 11 ล้านตัน ในปี 2551
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันปาล์มดิบที่ปรับลดลงมากทำให้ผู้นำเข้าบางราย อาทิ จีน อินเดีย เริ่มผิดนัดชำระค่าสินค้า อย่างไรก็ตาม คาดว่าการนำผลผลิตปาล์มน้ำมันบางส่วนมาใช้ผลิตไบโอดีเซลจะช่วยพยุงให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในช่วงครึ่งหลังปี 2551 อาจปรับสูงขึ้นได้ในระดับหนึ่ง
กุ้ง : สมาคมกุ้งไทยคาดว่า ปริมาณส่งออกกุ้งในช่วงครึ่งหลังปี 2551 มีแนวโน้มดีขึ้น โดยคาดว่าปริมาณส่งออกกุ้งทั้งปี 2551 จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2550 ที่ 3.4-3.5 แสนตัน สอดคล้องกับคาดการณ์ของบริษัท ยูเนี่ยนโฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด ผู้ส่งออกกุ้งและอาหารทะเลแช่แข็งรายใหญ่ของไทย ซึ่งคาดว่ามูลค่าส่งออกของบริษัทฯ จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากในช่วง 7 เดือนแรกปี 2551 ที่มีมูลค่าส่งออกสูงถึง 4,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 เนื่องจากได้รับปัจจัยเกื้อหนุน ดังนี้
- การบริโภคสินค้าอาหาร รวมถึงกุ้งของสหรัฐฯ ไม่ได้ลดลงจากปัญหาซับไพรม์
- WTO ตัดสินให้สหรัฐฯ ยกเลิกการคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดด้วยวิธี Zeroing ซึ่งทำให้ไทยเสียภาษี AD สูงกว่าปกติ ผลการตัดสินดังกล่าวทำให้คาดว่าอัตราภาษีทบทวน AD ขั้นสุดท้ายของบริษัทฯ ที่สหรัฐฯ เตรียมประกาศใช้ในต้นเดือนกันยายน 2551 จะลดลงจาก 6.09% เหลือประมาณ 4%
นอกจากนี้ ผลการตัดสินให้ไทยชนะกรณีที่สหรัฐฯ บังคับให้ผู้ส่งออกกุ้งวางเงินค้ำประกันการนำเข้า (C-Bond) ทำให้บริษัทฯ มีโอกาสได้รับเงินค้ำประกันที่วางไว้ก่อนหน้าคืนราว 400-500 ล้านบาท
- เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น
International
เศรษฐกิจเยอรมนีมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 สำนักงานสถิติเยอรมนีรายงานเศรษฐกิจเยอรมนีไตรมาส 2 ปี 2551 หดตัว 0.5% (q-o-q) นับเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบเกือบ 4 ปี เทียบกับที่ขยายตัว 1.3% ในไตรมาสแรกปี 2551 เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนและภาคการก่อสร้างหดตัวลงนอกจากนี้ ในวันเดียวกัน Ifo Institute for Economic Research ของเยอรมนี เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นนักธุรกิจในเยอรมนี 7,000 ราย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ German Ifo Index เดือนสิงหาคม 2551 ลดลงจาก 97.5 ในเดือนกรกฎาคม 2551 เหลือ 94.8 ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากนักธุรกิจส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนีคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะชะลอการขยายตัวลงจาก2.5% ในปี 2550 เหลือ 1.7% ในปี 2551 และ 1.2% ในปี 2552
อัตราเงินเฟ้อเวียดนามเดือนสิงหาคม 2551 พุ่งทะลุ 28% สำนักงานสถิติแห่งชาติ (General Statistics Office : GSO) ของเวียดนามรายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคม 2551 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 28.3% ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในช่วง 8 เดือนแรกปี 2551 อยู่ที่ระดับ 22.1% โดยมีปัจจัยผลักดันจากราคาเชื้อเพลิงที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าหลายชนิดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับตั้งแต่อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามปรับตัวขึ้นมาอยู่ในระดับสองหลักในเดือนพฤศจิกายน 2550 รัฐบาลเวียดนามดำเนินนโยบายการเงินและการคลังอย่างรัดกุมมาโดยตลอด โดยเฉพาะการควบคุมการปล่อยสินเชื่อและการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2551 ขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลเวียดนามคาดการณ์ไว้ที่ 7% ขณะเดียวกันยอดขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลซ้ำเติมเศรษฐกิจเวียดนาม โดย GSO คาดว่ายอดขาดดุลการค้าของเวียดนามในช่วง 8 เดือนแรกปี 2551 จะเพิ่มขึ้นเป็น 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าเวียดนามสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นก็ตาม
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2551--
-พห-